เกาะลันตาใหญ่ | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | ทะเลอันดามัน |
พิกัด | 7°33′29″N 99°03′34″E / 7.5581493°N 99.0594936°E |
ประเภท | เกาะริมทวีป |
กลุ่มเกาะ | กลุ่มเกาะลันตา |
พื้นที่ | 78.27 ตารางกิโลเมตร (30.22 ตารางไมล์) |
ความยาว | 30 กม. (19 ไมล์) |
ความกว้าง | 6 กม. (3.7 ไมล์) |
การปกครอง | |
ปกครองภายใต้อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา | |
จังหวัด | กระบี่ |
อำเภอ | เกาะลันตา |
ตำบล | เกาะลันตาใหญ่ ศาลาด่าน |
เทศบาลใหญ่สุด | ศาลาด่าน (ประชากร 6,988 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
เดมะนิม | ชาวเกาะลันตาใหญ่ |
ประชากร | 27,478 คน (2565) |
ภาษา | อูรักลาโวยจ, หมิ่นใต้, มลายูปัตตานี, ไทยถิ่นใต้, ไทย |
กลุ่มชาติพันธุ์ | อูรักลาโวยจ, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยเชื้อสายมลายู |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา | |
รหัสไปรษณีย์ | 81150 |
ทะเบียนรถ | กระบี่ |
เกาะลันตาใหญ่ เป็นเกาะในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ในตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอและที่ทำการอุทยาน มีสภาพเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าที่สมบูรณ์ ชื่อ "ลันตา" สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ลันตาส" ซึ่งเป็นภาษาชวา แปลว่า ที่ย่างปลา เพราะในอดีตเป็นที่ที่ชาวเรือชวามักมาหยุดพักและย่างปลาเป็นอาหาร[1]
เกาะลันตาใหญ่มียาวประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 6 กิโลเมตร มีชายหาดยาวเรียงรายต่อเนื่องกันถึง 13 หาดทางฝั่งตะวันตก ทั้งหาดหินและหาดทราย ส่วนทางฝั่งตะวันออกคือ ชุมชนโบราณ ชื่อ บ้านศรีรายา ซึ่งตั้งมากว่าร้อยปี สร้างบ้านเรือนแถวไม้หน้าแคบที่ยื่นยาวลึกออกไปในทะเล ชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะ ชาวบ้านส่วนใหญ่บนเกาะลันตานับถือศาสนาอิสลาม และที่บ้านสังกะอู้ยังคงความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมไว้อยู่ คือประเพณีลอยเรือ เพื่อสะเดาะเคราะห์และความเป็นสิริมงคล ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 และ เดือน 11[2] ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม