เค239 ช็อนมู

เค239 ช็อนมู
ชนิดเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง
แหล่งกำเนิดเกาหลีใต้
บทบาท
ประจำการค.ศ. 2015–ปัจจุบัน
ผู้ใช้งานเกาหลีใต้ กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
เกาหลีใต้ เหล่านาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบค.ศ. 2009–2013
บริษัทผู้ผลิตฮันฮวากรุป
ช่วงการผลิตค.ศ. 2014–ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต218 ระบบ[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล25 ตัน (28 ช็อตตัน)
ความยาว9 ม. (30 ฟุต)
ความกว้าง2.5 ม. (8 ฟุต 2 นิ้ว)
ความสูง3 ม. (9.8 ฟุต)
ลูกเรือ3 นาย

ขนาดลำกล้องปืน130 มม.
227 มม.
239 มม.
ระยะหวังผล130 มม.: 36 กม. (22 ไมล์)
227 มม.: 45 กม. (28 ไมล์)
239 มม.: 80 กม. (50 ไมล์)

เครื่องยนต์เครื่องยนต์ดีเซล
400 แรงม้า
พิสัยปฏิบัติการ
800 กม. (500 ไมล์)
ความเร็วสูงสุด80 กม./ชม. (50 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ระบบนำวิถี
เฉื่อยบวกจีพีเอส

เค239 ช็อนมู (เกาหลี: K-239 천무 다연장 로켓; อังกฤษ: K239 Chunmoo) หรือที่เรียกว่า เค-เอ็มแอลอาร์เอส (ระบบจรวดยิงหลายลำกล้องของเกาหลี) (อังกฤษ: K-MLRS (Korean Multiple Launch Rocket System)) เป็นระบบจรวดหลายลำกล้องของประเทศเกาหลีใต้

การออกแบบและพัฒนา

[แก้]

เค239 เป็นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง (MRL) อัตตาจรที่สามารถยิงจรวดทั้งแบบนำวิถีและไม่นำวิถีได้หลายแบบ เครื่องยิงดังกล่าวมีฐานปล่อยจรวดสองพอดที่บรรจุจรวดได้สามประเภท ได้แก่ จรวดไม่นำวิถีขนาด 130 มม. จำนวน 20 ลูก ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้กับเค136 คูรยง ด้วยระยะ 36 กม. (22 ไมล์) (รวมทั้งหมด 40 ลูก), จรวดไม่นำวิถี 227 มม. หกลูก ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้กับยานพาหนะเอ็ม270 เอ็มแอลอาร์เอส ที่ปฏิบัติการโดยกองทัพบกเกาหลีใต้ โดยมีพิสัยทำการ 45 กม. (28 ไมล์) (ทั้งหมด 12 ลูก) และจรวดนำวิถีขนาด 239 มม. จำนวนหกลูกที่ออกแบบมาสำหรับระบบในระยะ 80 กม. (50 ไมล์) (บางแหล่งอ้างว่า 160 กม. (99 ไมล์) ทั้งหมด 12 ลูก) จรวดขนาด 239 มม. มีความยาว 3.96 ม. (13.0 ฟุต) และระบบนำทางจีพีเอส/ไอเอ็นเอส พร้อมโหมดปฏิบัติการสองโหมด โดยระเบิดปะทะเพื่อใช้ปะทะกับกำลังพล และชะลอการระเบิดเพื่อทำลายบังเกอร์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับจรวดนำวิถีจะต้องมีหัวรบเจาะทะลวงเพื่อใช้เป็นวิธีแก้ปัญหา "บังเกอร์บัสเตอร์" กับบังเกอร์จำนวนมากตามแนวเขตปลอดทหารเกาหลี โดยสามารถบรรจุจรวดได้สองประเภทพร้อมกัน และสามารถบรรจุที่ใส่แบบแยกส่วนได้อย่างรวดเร็ว ส่วนยานพาหนะที่ใช้ยิงนั้นใช้โครงรถบรรทุกบริษัทฮันฮวาขับเคลื่อน 8 ล้อ ที่มีห้องโดยสารหุ้มเกราะที่ปกป้องลูกเรือ 3 นาย จากการยิงอาวุธขนาดเล็กและสะเก็ดกระสุนปืนใหญ่ ตลอดจนการป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ และเคมี เครื่องยิงช็อนมูแต่ละระบบจะจับคู่กับยานสนับสนุนอมภัณฑ์ (ASV) โดยใช้โครงรถบรรทุกเดียวกันซึ่งมีพอดบรรจุสี่พอด ทั้งนี้ กองปืนใหญ่ช็อนมูหนึ่งกองประกอบด้วยยานพาหนะ 18 ระบบ และใช้เค200เอ1 เป็นยานเกราะบัญชาการ[2][3]

การพัฒนาเค239 ได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2009 และแล้วเสร็จในปลาย ค.ศ. 2013 สำนักงานกลาโหมเพื่อเทคโนโลยีและคุณภาพของประเทศเกาหลีใต้ได้ใช้เงิน 131.4 พันล้านวอน (112.4 ล้านดอลลาร์) ในโครงการดังกล่าวเพื่อสร้างทดแทนสำหรับเค136 และดำเนินการผลิตครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ครั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศจัดซื้อเค-เอ็มแอลอาร์เอส จำนวน 58 ระบบ กระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีได้เริ่มนำช็อนมูเข้าปฏิบัติหน้าที่[4][5]

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "K239 Chunmoo total production". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  2. "Military-Today". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  3. ADEX 2017: Chunmoo K-MLRS with 239mm Guided Rockets. Army Recognition. 21 October 2017.
  4. South Korea to purchase 58 Chun Moo K-MLRS multi-calibers MLRS Multiple Launch Rocket System เก็บถาวร 2021-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Army Recognition. 5 October 2014.
  5. South Korea starts deploying its next-generation Chunmoo multiple launch rocket system. Army Recognition. 5 August 2015.
  6. http://southkoreanmilitary.blogspot.com/2018/09/chunmoo-ii-multiple-rocket-launcher.html
  7. South-Korean Chunmoo K239 MLRS rockets/missile launcher to enter in service with UAE เก็บถาวร 2022-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Army Recognition. 8 April 2021.