![]() | |
ประเภท | เครือข่ายโทรทัศน์ |
---|---|
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
เจ้าของ | |
บุคคลการหลัก | มาซาโอะ คิมิวาดะ[1]: 161–163 |
วันที่เปิดตัว | 1 มกราคม พ.ศ. 2513[1]: 161–163 |
Webcast | ช่องยูทูปอย่างเป็นทางการ JapaNews24 |
เว็บไซต์ทางการ | tv-asahi.co.jp/ann |
เครือข่ายข่าวออลนิปปอน หรือ เอเอ็นเอ็น (อังกฤษ: All-Nippon News Network , ANN; ญี่ปุ่น: オールニッポンニュース・ネットワーク, อักษรโรมัน: Ōrunippon Nyūsu Nettowāku) เป็นสถานีเครือข่ายโทรทัศน์เชิงพาณิชย์สัญชาติญี่ปุ่น ดำเนินการโดยทีวีอาซาฮิคอร์เปอร์เรชันในกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของอาซาฮิชิมบุน โดยเครือข่ายนี้จะเผยแพร่ข่าวระดับประเทศไปยังสถานีในเครือภูมิภาค และแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสถานีต่าง ๆ นอกจากนี้ สถานีในเครือยังออกอากาศรายการที่ไม่ใช่ข่าวซึ่งผลิตโดยทีวีอาซาฮิอีกด้วย เอเอ็นเอ็นก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2513 และจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยมีสถานีเครือข่ายทั้งหมด 26 แห่ง ซึ่งรวมถึง 2 สถานีที่มีการสังกัดร่วมกับเครือข่ายคู่แข่งอื่น ๆ ด้วย
ระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึง 2556 เอเอ็นเอ็นยังได้ดำเนินกิจการช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและช่องโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลตลอด 24 ชั่วโมงในชื่อ อาซาฮินิวสตาร์ อีกด้วย
สถานีต่างส่วนใหญ่จะถูกจัดเรียงตามลำดับจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นตามปกติ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 3166-2:JP แต่มีข้อยกเว้นในบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคันโต, จังหวัดไอจิ-จังหวัดกิฟุ-จังหวัดมิเอะ, ภูมิภาคคันไซ (ยกเว้นจังหวัดมิเอะ) และ จังหวัดโอกายามะ-จังหวัดคางาวะ ซึ่งถูกจัดให้เป็นตลาดการออกอากาศขนาดใหญ่ที่กว้างตามลำดับ
พื้นที่การออกอากาศ | สถานี | หมายเลขช่อง | วันที่เริ่มออกอากาศ | วันที่เข้าสังกัด | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | ภูมิภาค | แบรนด์ที่ใช้ในการออกอากาศ | อักษรย่อ | สัญญาณเรียกขาน | ||||
ฮกไกโด | ฮกไกโด ทีวี | HTB | JOHH-DTV | 6 | 3 พฤศจิกายน 2511 | 1 มกราคม 2513 | สถานีหลัก | |
อาโอโมริ | โทโฮกุ | อาโอโมริ อาซาฮิ โฮโซ | ABA | JOAH-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2534 | 1 ตุลาคม 2534 | |
อิวาเตะ | โทโฮกุ | อิวาเตะ อาซาฮิ ทีวี | IAT | JOIY-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2539 | 1 ตุลาคม 2539 | |
มิยางิ | โทโฮกุ | ฮิกาชินิปปง โฮโซ | KHB | JOEM-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2518 | 1 ตุลาคม 2518 | สถานีหลัก |
อากิตะ | โทโฮกุ | อากิตะ อาซาฮิ โฮโซ | AAB | JOXX-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2535 | 1 ตุลาคม 2535 | |
ยามางาตะ | โทโฮกุ | ยามางาตะ ทีวี | YTS | JOYI-DTV | 5 | 1 เมษายน 2513 | 1 เมษายน 2536 | เคยเป็นสถานีเครือข่ายของเอเอ็นเอ็นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2518 จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 โดยมีการสังกัดแบบสองเครือข่าย และได้สังกัดกับ FNN/FNS ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2518 จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2536 |
ฟูกูชิมะ | โทโฮกุ | ฟูกูชิมะ โฮโซ | KFB | JOJI-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2524 | 1 ตุลาคม 2524 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
คันโต | ทีวี อาซาฮิ | EX | JOEX-DTV | 5 | 1 กุมภาพันธ์ 2502 | 1 มกราคม 2513 | สถานีแม่ข่ายฝั่งตะวันออก; สถานีหลัก | |
นีงาตะ | ชูบุ | นีงาตะ ทีวี 21 | UX | JOUX-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2526 | 1 ตุลาคม 2526 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
อิชิกาวะ | ชูบุ | โฮคุริกุ อาซาฮิ โฮโซ | HAB | JOWY-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2534 | 1 ตุลาคม 2534 | |
ฟูกูอิ | ชูบุ | ฟูกูอิ โฮโซ | FBC | JOPR-DTV | 7 | 1 มิถุนายน 2503 | 1 เมษายน 2532 | สถานีเครือข่ายรอง; สังกัดกับ NNN/NNS ด้วย |
นางาโนะ | ชูบุ | นางาโนะ อาซาฮิ โฮโซ | abn | JOGH-DTV | 5 | 1 เมษายน 2534 | 1 เมษายน 2534 | |
ชิซูโอกะ | ชูบุ | ชิซูโอกะ อาซาฮิ โฮโซ | SATV | JOSI-DTV | 5 | 1 กรกฎาคม 2521 | 1 กรกฎาคม 2521 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
ไอจิ และ กิฟุ | ชูบุ | เอ็นบีเอ็น / เมเทเล | NBN | JOLX-DTV | 6 | 1 เมษายน 2505 | 1 มกราคม 2513 | สถานีหลัก |
มิเอะ | คันไซ | |||||||
คันไซ (ยกเว้น จังหวัดมิเอะ) | เอบีซี ทีวี | ABC | JOAY-DTV | 6 | 1 ธันวาคม 2500 | 31 มีนาคม 2518 | สถานีแม่ข่ายฝั่งตะวันตก; สถานีหลัก | |
ฮิโรชิมะ | ชูโงกุ | ฮิโรชิมะ โฮม ทีวี | HOME | JOGM-DTV | 5 | 1 ธันวาคม 2513 | 1 ธันวาคม 2513 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
ยามางูจิ | ชูโงกุ | ยามางูจิ อาซาฮิ โฮโซ | yab | JOYX-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2536 | 1 ตุลาคม 2536 | |
โอกายามะ | ชูโงกุ | เซโตะไนไค โฮโซ | KSB | JOVH-DTV | 5 | 1 เมษายน 2512 | 1 มกราคม 2513 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
คางาวะ | เกาะชิโกกุ | |||||||
เอฮิเมะ | เกาะชิโกกุ | เอฮิเมะ อาซาฮิ ทีวี | eat | JOEY-DTV | 5 | 1 เมษายน 2538 | 1 เมษายน 2538 | |
ฟูกูโอกะ | เกาะคีวชู | คีวชู อาซาฮิ โฮโซ | KBC | JOIF-DTV | 1 | 1 มีนาคม 2502 | 1 มกราคม 2513 | สถานีหลัก |
นางาซากิ | เกาะคีวชู | นางาซากิ บุนกะ โฮโซ | NCC | JOXI-DTV | 5 | 1 เมษายน 2533 | 1 เมษายน 2533 | |
คูมาโมโตะ | เกาะคีวชู | คูมาโมโตะ อาซาฮิ โฮโซ | KAB | JOZI-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2532 | 1 ตุลาคม 2532 | |
โออิตะ | เกาะคีวชู | โออิตะ อาซาฮิ โฮโซ | OAB | JOBX-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2536 | 1 ตุลาคม 2536 | |
มิยาซากิ | เกาะคีวชู | ทีวี มิยาซากิ | UMK | JODI-DTV | 3 | 1 เมษายน 2513 | 1 เมษายน 2519 | สถานีเครือข่ายรอง; สังกัดกับ FNN/FNS และ NNN ด้วย |
คาโงชิมะ | เกาะคีวชู | คาโงชิมะ โฮโซ | KKB | JOTI-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2525 | 1 ตุลาคม 2525 | สถานีหลักโดยพฤตินัย |
โอกินาวะ | เกาะคีวชู | รีวกีว อาซาฮิ โฮโซ | QAB | JORY-DTV | 5 | 1 ตุลาคม 2538 | 1 ตุลาคม 2538 |
จังหวัด | ภูมิภาค | สถานีจากจังหวัดใกล้เคียง | การรวบรวมข่าวสาร |
---|---|---|---|
โทยามะ | ชูบุ | เฮชเอบี (อิชิกาวะ) | ทีวี อาซาฮิ สำนักงานโทยามะ |
ยามานาชิ | ชูบุ | ทีวี อาซาฮิ (คันโต) | ทีวี อาซาฮิ สำนักงานโคฟุ |
ทตโตริ | ชูโงกุ | เคเอสบี (โอกายามะ และ คางาวะ) | ทีวี อาซาฮิ สำนักงานทตโตริ (ทตโตริตะวันออก) และ สำนักงานโยนาโกะ (ทตโตริตะวันตก) |
ชิมาเนะ | ชูโงกุ | วายเอบี (ยามางูจิ) และ โฮม (ฮิโรชิมะ) | ทีวีอาซาฮิ สำนักงาน มัตสึเอะ (ดูแลชิมาเนะตะวันออกและหมู่เกาะโอกิ), โฮม (ดูแลชิมาเนะตะวันตก ยกเว้นเมืองมาซูดะและเขตคาโนะอาชิ) และ วายเอบี (ดูแลเมืองมาซูดะและเขตคาโนะอาชิ) |
โทกูชิมะ | เกาะชิโกกุ | เอบีซี ทีวี (คันไซ) | เอบีซี ทีวี สำนักงานโทกูชิมะ |
โคจิ | เกาะชิโกกุ | อีเอที (เอฮิเมะ) และ เคเอสบี (โอกายามะ และ คางาวะ) | เอบีซี ทีวี สำนักงานโคจิและ อีเอที |
ซางะ | เกาะคีวชู | เคบีซี (ฟูกูโอกะ) | เคบีซี สำนักงานซางะ |
เครื่องหมายดอกจันตัวเดียว (*) หมายถึงอดีตบริษัทในเครือหลัก
พื้นที่การออกอากาศ | สถานี | หมายเลขช่อง | ปีที่สังกัด | สังกัดปัจจุบัน | สังกัดเอเอ็นเอ็นปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | ภูมิภาค | แบรนด์ที่ใช้ในการออกอากาศ | อักษรย่อ | สัญญาณเรียกขาน | ||||
อาโอโมริ | โทโฮกุ | อาโอโมริ ทีวี | ATV | JOAI-TV | 38 | 2513–2518 (สถานีเครือข่ายรอง) | JNN | ABA |
อาโอโมริ | โทโฮกุ | อาโอโมริ บรอดแคสติง | RAB | JOGR-TV | 1 | 2518–2534 | NNN/NNS | ABA |
อิวาเตะ | โทโฮกุ | ทีวี อิวาเตะ | TVI | JOII-TV | 35 | 2513–2523 | NNN/NNS | IAT |
มิยางิ | โทโฮกุ | มิยางิ ทีวี | mm34 | JOMM-TV | 34 | 2513–2518 | NNN/NNS | KHB |
อากิตะ | โทโฮกุ | อากิตะ ทีวี | AKT | JOBI-TV | 37 | 2524–2530 (สถานีเครือข่ายรอง) | FNN/FNS | AAB |
นีงาตะ | ชูบุ | นีงาตะ โซโก้ ทีวี | NST | JONH-TV | 35 | 2513–2526 | FNN/FNS | UX |
นางาโนะ | ชูบุ | ทีวี ชินชู | TSB | JONI-TV | 30 | 2524–2534 (สถานีเครือข่ายรอง) | NNN/NNS | abn |
ไอจิ และ กิฟุ | ชูบุ | ชูเคียว ทีวี * | CTV | JOCH-TV | 35 | 2513–2516 | NNN/NNS | NBN |
มิเอะ | คันไซ | |||||||
คันไซ (ยกเว้น มิเอะ) | ไมนิจิ บรอดแคสติง* | MBS | JOOR-TV | 4 | 2513–2518 | JNN | ABC | |
ทตโตริ และ ชิมาเนะ | ชูโงกุ | นิฮงไก ทีวี | NKT | JOJX-TV | 1 | 2502–2532 (สถานีเครือข่ายรอง) | NNN/NNS | ไม่มี |
โอกายามะ | ชูโงกุ | โอกายามะ บรอดแคสติง | OHK | JOOH-TV | 35 | 1 มกราคม–1 เมษายน 2513; 1 ตุลาคม 2513 – 31 มีนาคม 2522 |
FNN/FNS | KSB |
ยามางูจิ | ชูโงกุ | ทีวี ยามางูจิ | tys | JOLI-TV | 38 | 2513–2521 (สถานีเครือข่ายรอง) | JNN | yab |
ยามางูจิ | ชูโงกุ | ยามางูจิ บรอดแคสติง | KRY | JOPF-TV | 11 | 2521–2536 | NNN/NNS | yab |
คูมาโมโตะ | เกาะคีวชู | ทีวี คูมาโมโตะ | TKU | JOZH-TV | 34 | 2513–2532 (สถานีเครือข่ายรอง) | FNN/FNS | KAB |
โออิตะ | เกาะคีวชู | ทีวี โออิตะ | TOS | JOOI-TV | 36 | 2513–2536 (สถานีเครือข่ายรอง) | NNN/NNS และFNN/FNS | OAB |
คาโงชิมะ | เกาะคีวชู | คาโงชิมะ ทีวี | KTS | JOKH-TV | 38 | 2513–2525 (สถานีเครือข่ายรอง) | FNN/FNS | KKB |
พื้นที่การออกอากาศ | สถานี | หมายเลขช่อง | สังกัดปัจจุบัน | สถานีในเครือเอเอ็นเอ็นปัจจุบัน | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | ภูมิภาค | แบรนด์ที่ใช้ในการออกอากาศ | อักษรย่อ | สัญญาณเรียกขาน | ||||
อิวาเตะ | โทโฮกุ | mit | mit | JOYH-TV | 33 | FNN/FNS | IAT | เป็นเพราะความตั้งใจของอิจิโร โอซาวะ นักการเมืองจากจังหวัดอิวาเตะ และเนื่องจากสถานีโทรทัศน์อิวาเตะอาซาฮีมีกำหนดจะเปิดทำการ |
โทยามะ | ชูบุ | TUT | TUT | JOJH-TV | 32 | JNN | ไม่มี | ในช่วงการจัดสรรความถี่ของสถานีโทรทัศน์ช่องที่ 3 ในจังหวัดโทยามะเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีแนวโน้มว่าจะเข้าร่วมเครือข่ายของ ทีวี อาซาฮิ อย่างมีความหวัง แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจเปิดเป็นสถานีในเครือของ TBS แทน |
ฟูกูอิ | ชูบุ | FTB | FTB | JOFI-TV | 39 | FNN/FNS | FBC | ในช่วงระยะเวลาเตรียมการก่อนเปิดสถานี ได้มีการลงนามในข้อตกลงกับสถานี NET TV แต่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเปิดสถานีไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นสถานีในเครือของ Fuji TV (FNN/FNS) แทน |
กิฟุ | ชูบุ | GBS | GBS | JOZF-TV | 37 | JAITS | (NBN) | เนื่องจากการคัดค้านจากสถานีโทรทัศน์นาโงยะและสถานีโทรทัศน์ชูเกียว สุดท้ายสถานีโทรทัศน์นาโงยะก็กลายเป็นสถานีในเครือเอเอ็นเอ็นประจำเขตมหานครชูเกียวในปี พ.ศ. 2516 |
คันไซ (ยกเว้น จังหวัดมิเอะ) | KTV | KTV | JODX-TV | 8 | FNN/FNS | ABC | สำนักงานใหญ่โตเกียวของหนังสือพิมพ์ซังเคย์ ชิมบุน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ NET TV ซึ่งอยู่ในช่วงเตรียมการเปิดสถานี โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในฐานะผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ NET TV เคยลงทุนในบริษัทเคียวโดทีวีในช่วงแรก แต่ก็ถอนทุนออกมาก่อนที่สถานีจะเปิดทำการ (ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการก่อตั้งเครือข่ายเอเอ็นเอ็น) | |
เอฮิเมะ | เกาะชิโกกุ | ITV | itv | JOEH-TV | 29 | JNN | eat | เนื่องจากขัดแย้งกับข้อตกลงของเครือข่าย JNN และในเวลานั้นได้มีการตัดสินใจเปิดสถานี เอฮิเมะอาซาฮิทีวี แล้ว |
คูมาโมโตะ | เกาะคีวชู | KKT | KKT | JOQI-TV | 22 | NNN/NNS | KAB | ผลจากการปรับสมดุลและการอภิปรายโดยสถานีหลักสามแห่งในกรุงโตเกียว (นิปปงทีวี, ฟูจิทีวี, และ ทีวี อาซาฮิ) แทนที่จะทำให้สถานีที่สามในจังหวัดคุมาโมโตะเป็นพันธมิตรของ ทีวี อาซาฮิ เนื่องจาก คาโงชิมะ บรอดแคสติง ได้ยื่นคำร้องขอเป็นพันธมิตรกับ ทีวี อาซาฮิ สถานีดังกล่าวจึงกลายเป็นพันธมิตรของ นิปปง ทีวี แทน |
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เอเอ็นเอ็นได้ดำเนินการ JapaNews24 (ญี่ปุ่น: 日本のニュースを24時間配信, อักษรโรมัน: Nihon no nyūsu o 24-jikan haishin) ซึ่งเป็นบริการออนไลน์ที่ให้บริการข่าวตลอด 24 ชั่วโมง โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ชมชาวญี่ปุ่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถรับชมได้ทางช่องทางยูทูบอย่างเป็นทางการของเอเอ็นเอ็น[2][3] JapaNews24 จะออกอากาศข่าวจากการถ่ายทอดสดของเอเอ็นเอ็นและโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Hōdō Station รวมถึงเนื้อหาจากบริการพี่น้อง AbemaNews โดยจะออกอากาศในรูปแบบบันทึกเทปล่าช้าโดยไม่มีตารางเวลาที่แน่นอน[3][4]