บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เครื่องบินบริพัตร | |
---|---|
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 (บ.ท.2) | |
หน้าที่ | เครื่องบินทิ้งระเบิด |
ประเทศผู้ผลิต | ไทย |
ผู้ผลิต | กรมอากาศยานกองทัพอากาศทหารบกสยาม |
ผู้ออกแบบ | หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) |
เที่ยวบินแรก | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2470 |
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2470 |
ปลดระวาง | พ.ศ. 2483 |
ผู้ใช้หลัก | กรมอากาศยานกองทัพอากาศทหารบกสยาม |
จำนวนที่ถูกผลิต | <12 |
เครื่องบินบริพัตร หรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 (บ.ท.2) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ออกแบบโดย พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน เมื่อ พ.ศ. 2472 สร้างโดยกองโรงงาน กรมอากาศยาน เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด 2 ที่นั่ง ปีก 2 ชั้น โครงสร้างทำด้วยด้วยท่อภูราลูแมงและไม้ บุผ้า ใช้เครื่องยนต์จูปิเตอร์ขนาด 400-600 แรงม้า 1 เครื่อง
เครื่องบินแบบนี้ได้ชื่อว่า "บริพัตร" ตามพระนามของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม นับเป็นเครื่องบินรบแบบแรก ที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยคนไทย [1]
เครื่องบินแบบบริพัตร เคยประจำการอยู่ที่กองบินน้อยที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2470 - 2483 เคยเดินทางไปเยือนต่างประเทศ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2472 ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย และในปี พ.ศ. 2473 ไปฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และนำพวงมาลาไปวางที่อนุสาวรีย์ทหารฝรั่งเศส ที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1
ข้อมูลจาก A Siamese Experimental[2]
ลักษณะทั่วไป
สมรรถนะ