เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เฉลิมชัยเมื่อปี 2564
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (69 ปี)
หมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
การศึกษาจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลงานเด่นภาพจิตรกรรมวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน, ภาพชุดพระมหาชนก, ผลงานศิลปะวัดร่องขุ่น
รางวัลรางวัลศิลปาธร ปี พ.ศ. 2547
วัดร่องขุ่น ผลงานสร้างและออกแบบโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554

ประวัติ

[แก้]

อาจารย์เฉลิมชัยเป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับคนหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว ​(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข​ ทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็ก ๆ ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาศิลปไทยรุ่นแรก 2521 เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน เฉลิมชัยสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของเขา ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ชีวิตด้านครอบครัว อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้สมรสกับ กนกวัลย์ โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน ณภัส โฆษิตพิพัฒน์

ผลงาน

[แก้]

เฉลิมชัยจัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (กลาง) ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 36 (พ.ศ. 2562) "น้ำกกเกมส์"

ทุนที่ได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
  • พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
  • พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
  • พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]