เซย์ยับ

เซย์ยับ
เซย์ยับ (สีชมพู) ในอาณาเขตของมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน (สีเทา)
ภาษาจีน四邑
ความหมายตามตัวอักษรสี่เทศมณฑล
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน五邑
ความหมายตามตัวอักษรห้าเทศมณฑง

เซย์ยับ หรือ เซยับ (จีน: 四邑; ยฺหวิดเพ็ง: sei3 jap1; แปลตรงตัว: "สี่เทศมณฑล, สี่แคว้น"; นิยมทับศัพท์เป็น Seiyap หรือ Sze Yup) หรือ ซื่ออี้ (ภาษาจีนกลาง, พินอิน: Sìyì) เป็นคำเรียกสี่อดีตเทศมณฑลในมณฑลกวางตุ้งตอนใต้บนฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำจู สี่เทศมณฑลนี้ประกอบด้วยซั้นหวุ่ย, ถ่อยซ้าน, ฮ้อยเผ่ง และ ยั้นผิ่ง[1][2] ทั้งสี่เทศมณฑลเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอดีตแคว้นเจียงเหมิน

อีกชื่อหนึ่งที่คล้ายกันคือ อึ๋งยับ (ภาษากวางตุ้ง) หรือ อู่อี้ (ภาษาจีนกลาง; ; Wǔyì; Ng5 Yap1; "ห้าเทศมณฑล, ห้าแคว้น") ซึ่งเรียกรวมอีกเทศมณฑลคือเหอชาน เป็นคำเรียกที่ใช้ในระดับทางการและนิยมใช้ในคนพื้นถิ่นในปัจจุบัน ในขณะที่ชื่อ เซย์ยับ เป็นที่นิยมมากกว่าในชาวจีนโพ้นทะเล

สำเนียง

[แก้]

เซย์ยับเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มสำเนียบเซย์ยับ ตัวอย่างสำคัญคือภาษาถ่อยซ้าน และแม้ว่าทั้งกลุ่มสำเนียงเซย์ยับกับภาษากวางตุ้งจะเป็นส่วนหนึ่งของภาษาจีนเยว่ แต่พูดพูดกวางตุ้งมักไม่สามารถเข้าใจสำเนียงเซย์ยับได้เป็นส่วนใหญ่[3][4][5]

การอพยพ

[แก้]
อาคารนัมโพนซูน (Num Pon Soon) ในไชนาทาวน์ เมลเบิร์น ที่ตั้งของสมาคมนัมโพนซูน ที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนคนจากเซย์ยับที่เดินทางไปเมลเบิร์นในสมัยตื่นทองวิกตอเรียน

ในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ชาวเซย์ยับจำนวนมากอพยพไปยังฮ่องกง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสตราเลเซีย และทวีปอเมริกา ประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายจีนในยุคนั้นจนถึงทศวรรษ 1950 เป็นชาวเซย์ยับมากที่สุด คิดเป็นมากถึง 80% ร่วมกับคนจากซัมยับและจุงชาน[6]

ในอเมริกา คนจากเซย์ยับมักอพยพไปประกอบอาชีพใช้แรงงาน ค้าขาย หรือทำการเกษตร[7] สงครามพูนตี-จีนแคะ เกิดขึ้นไม่นานก่อนกระแสการอพยพครั้งใหญ่นี้[8] ในปี 1851 มีการตั้งสมาคมบ้านเกิดหรือ หวุ่ยกุ๊น (Wui Gun; จีนตัวเต็ม: 會館; จีนตัวย่อ: 会馆; พินอิน: huìguǎn; ยฺหวิดเพ็ง: wui6gun2)[9] ขึ้นสองแห่งในแซนแฟรนซิสโก คือ เซย์ยับหวุ่ยกุ๊น กับ ซัมยับหวุ่ยกุ๊น[10]

ดินแดนเซย์ยับยังเป็นหม้อรวมวัฒนธรรมที่นำกลับมาโดยชาวเซย์ยับโพ้นทะเล เช่น ตงเลา หรือ เตียวโลว ที่สร้างในต้นศตวรรษที่ 20 นำเอาลักษณะทางสถาปัตยกรรมจากยุโรปมาผสมผสานกับจีน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chinese American Names: Tradition and Transition – Page 118 Emma Woo Louie – 2008 "These were the Sam Yup and Sze Yup dialects, which the author spelled as “Saam Yup” and “Sz Yip,” respectively. Sam Yup means “Three Districts dialect,” which is akin to standard Cantonese, and Sze Yup means “Four Districts dialect.”
  2. Shanghai Girls – Page 8 Lisa See – 2010 "My first language was Sze Yup, the dialect spoken in the Four Districts in Kwangtung province, where our ancestral home is located...”
  3. Szeto, Cecilia (2001), "Testing intelligibility among Sinitic dialects" (PDF), ใน Allan, Keith; Henderson, John (บ.ก.), Proceedings of ALS2k, the 2000 Conference of the Australian Linguistic Society, สืบค้นเมื่อ 5 Jan 2014
  4. Phonology of Cantonese – Page 192 Oi-kan Yue Hashimoto – 1972 "... affricates and aspirated stops into consonant clusters is for external comparative purposes, because the Cantonese aspirated stops correspond to /h/ and some of the Cantonese affricates correspond to stops in many Si-yi (Seiyap) dialects."
  5. Language in the USA – Page 217 Charles A. Ferguson, Shirley Brice Heath, David Hwang – 1981 "Even the kind of Cantonese which the Chinese Americans speak causes difficulties, because most of them have come from the rural Seiyap districts southwest of Canton and speak dialects of that region rather than the Standard Cantonese of the city"
  6. Pan, Lynn (1999). The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Cambridge, MA: Harvard University Press. p. 36. ISBN 0674252101.
  7. Hsia, Lisa (2007). "Asians and Asian Americans in the West". ใน Mancall, Peter; Johnson, Benjamin Heber (บ.ก.). Making of the American West: People and Perspectives. ABC-CLIO. pp. 161–187.
  8. Punti-Hakka Clan Wars and Taishan County เก็บถาวร 2007-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "Huiguan". สืบค้นเมื่อ 2 February 2018.
  10. Chi, Tsung (2005). East Asian Americans and Political Participation: A Reference Handbook. ABC-CLIO. p. 65. ISBN 9781576072905.
  11. Pan, Lynn (1999). The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Cambridge, MA: Harvard University Press. pp. 28–29. ISBN 0674252101.