บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เดอะการ์เดียนเลเจนต์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | Compile |
ผู้จัดจำหน่าย | |
กำกับ | Masamitsu Niitani |
โปรแกรมเมอร์ | Takayuki Hirono |
ศิลปิน | Koji Teramoto |
แต่งเพลง | Masatomo Miyamoto Takeshi Santo |
เครื่องเล่น | แฟมิคอม |
วางจำหน่าย |
|
แนว | Action-adventure, Scrolling shooter |
รูปแบบ | วิดีโอเกมผู้เล่นเดี่ยว |
เดอะการ์เดียนเลเจนต์ (อังกฤษ: The Guardian Legend หรือในชื่อ การ์ดิกไกเดน (ญี่ปุ่น: ガーディック外伝; โรมาจิ: Gādikku Gaiden; อังกฤษ: Guardic Gaiden) สำหรับการวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เป็นวิดีโอเกมแนวผสมผสานระหว่างเกมแอ็คชั่นผจญภัยกับเกมยิงทุกอย่าง (ชูตเอ็มอัป) พัฒนาโดยบริษัทคอมไพล์ (Compile) สำหรับเครื่องเล่นเกมแฟมิคอม เกมนี้เป็นภาคต่อของเกมการ์ดิก (Guardic) ซึ่งผลิตในปี พ.ศ. 2529 บนเครื่องเอ็มเอสเอ็กซ์ เกมนี้ได้วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทไอเร็ม (Irem) ในปี พ.ศ. 2531 ทวีปอเมริกาเหนือโดยบรอเดอร์บันด์ (Brøderbund) ในปี พ.ศ. 2532 และในทวีปยุโรปโดยนินเทนโดในปี พ.ศ. 2533
ในเกมนี้ ผู้เล่นควบคุมตัวเอกของเกมเพียงคนเดียวคือเดอะการ์เดียน (The Guardian)ซึ่งรับภารกิจในการทำลายโลกต่างดาวที่ชื่อว่านาจู (Naju) ก่อนที่นาจูจะเข้ารุกรานโลก ผู้เล่นจะต้องปิดอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยทั้ง 10 ตัวซึ่งกระจายอยู่ทั่วนาจูเพื่อเริ่มต้นขบวนการทำลายตัวเองของโลกนาจูดังกล่าว ผู้เล่นสามารถสำรวจส่วนต่าง ๆ ของนาจูได้โดยไม่เรียงลำดับ และสามารถสะสมอาวุธต่าง ๆ ได้ในระหว่างการเล่นเกม
เดอะการ์เดียนเลเจนต์ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งบวกและลบจากนิตยสารหลายฉบับเช่นนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงรายเดือน และนินเทนโดเพาเวอร์ โดยเสียงวิจารณ์ในแง่บวกจะชื่นชมภาพกราฟิกที่สวยงาม เพลงที่จดจำได้ง่าย และการตอบสนองการควบคุมที่ดี ส่วนเสียงวิจารณ์ในแง่ลบจะตำหนิรูปแบบการเล่นที่ซ้ำซาก และความซับซ้อนยุ่งยากของระบบพาสเวิร์ด
เกมนี้ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนักในช่วงที่วางจำหน่ายอยู่ แต่ต่อมาเป็นเกมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเกมที่ผสมผสานเกมหลายประเภทเข้าด้วยกัน จนเป็นต้นแบบสำหรับเกมอื่น ๆ เช่นเกมซิกมาสตาร์เซกา (Sigma Star Saga) รวมถึงการผสมผสานการเล่นที่หลากหลายจากเกมอื่น ๆ เช่น ตำนานแห่งเซลดา (The Legend of Zelda), เมทรอยด์ (Metroid) และ 1942
ใน The Guardian Legend, ผู้เล่นจะควบคุมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ผู้หญิงจากโลกซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปร่างเป็นหุ่นยนต์รบที่บินได้.[note 1] ภารกิจของผู้เล่นคือเข้าทำลาย Naju ซึ่งเป็นยานคล้ายดาวเคราะห์ที่ถูกส่งมาโดยสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวเพื่อมาทำลายโลก[note 2] เมื่อเข้าไปภายใน Naju ผู้เล่นต้องปิดอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยของ Naju จำนวน 10 ตัว เพื่อเริ่มกลไกการทำลายตัวเองของ Naju และทำลายมนุษย์ต่างดาวก่อนที่ Naju จะเดินทางมาถึงโลก ภายใน Naju แบ่งเป็น 5 เขตซึ่งควบคุมโดยแต่ละเผ่าพันธุ์ต่างดาวที่เป็นศัตรูกัน [6] ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับเผ่าพันธุ์ต่างดาวเหล่านั้นเพื่อที่สามารถปิดสวิทช์อุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยทั้งหมดและหนีออกจาก Naju ได้โดยปลอดภัย[7]
เนื้อเรื่องดำเนินไปโดยผ่านทางข้อความซึ่งถูกทิ้งไว้โดยผู้บุกเข้า Naju คนก่อนๆ ที่ไม่สามารถเริ่มขบวนการทำลายตัวเองของ Naju ได้สำเร็จ ก่อนที่ The Guardian จะบุกเข้ามาใน Naju [8] ข้อความแรกที่ผู้เล่นได้รับเป็นข้อความที่ส่งจากผู้บุกรุกคนเดียวที่ยังคงรอดชีวิตจากการโจมตีของ Naju เป็นข้อความแนะนำเบื้องต้น ส่วนขัอความต่อๆมาจะเป็นข้อความบอกใบ้ที่ช่วยผู้เล่นในการเปิดเส้นทางเดินภายใน Naju[3]
วิธีการเล่นจะเปลี่ยนตามตำแหน่งภายใน Naju ของผู้เล่น ผู้เล่นควบคุม The Guardian ในร่างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ในขณะสำรวจพื้นผิวเขาวงกตของ Naju (the Labyrinth) และร่างยานอวกาศเมื่อเข้าสำรวจภายใน Naju (the Dungeon).[9] The Guardian มีมาตรวัดพลังชีวิตซึ่งจะลดลงเมื่อได้รับความเสียหายจากศัตรู ซึ่งผู้เล่นสามารถเติมมาตรวัดพลังชีวิตได้โดยการเก็บไอเทม หากพลังชีวิตหมดลง The Guardian จะระเบิดและจบเกม[10] ผู้เล่นสามารถใช้อาวุธหลักซึ่งไม่จำกัดกระสุนและอาวุธสนับสนุนซึ่งมีอานุภาพสูงแต่จะใช้ "เพาวเวอร์ชิป (Power chip)" ในการยิงแต่ละครั้ง[11] เพาวเวอร์ชิปสามารถใช้แทนเงินในการอัพเกรด The Guardian ที่ร้านค้าทั่วไปใน Naju การอัพเกรดของ The Guardian อาจพบได้ที่พื้นผิวเขาวงกตของ Naju หรือได้รับหลังจากที่สามารถเอาชนะ บอส ซึ่งการอัพเกรดเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของอาวุธหลัก อาวุธสนับสนุนใหม่ๆ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพของอาวุธสนันสนุน และ แลนเดอร์ (Lander) สิ่งมีชีวิตสีสดใส
แลนเดอร์สีฟ้าและสีแดงเป็นตัวละครที่ปรากฏในหลายๆเกมของบริษัท Compile ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังชีวิตสูงสุดและความจุของเพาเวอร์ชิป ตามลำดับ[12][note 3] แลนเดอร์สีฟ้ามีหลายบทบาทในเกม The Guardian Legend บางตัวไม่ได้เป็นไอเท็มแต่เป็นตัวละครตัวหนึ่งที่แนะนำผู้เล่นหรือแลกอัพเกรดเป็นเพาเวอร์ชิป บางตัวอาจจะให้ พาสเวิร์ด ซึ่งช่วยให้ผู้เล่นสามารถเริ่มเกมใหม่ต่อจากครั้งก่อนได้ แลนเดอร์สีฟ้าเหล่านี้เป็นเสมือน checkpoints ซึ่งผู้เล่นสามารถเริ่มเล่นเกมใหม่ที่ห้องนี้ ภายหลังจากที่พ่ายแพ้ในเกม หากยังไม่ปิดเครื่องเล่นเกม[10]
ในส่วนวิธีการเล่นแบบแอ็คชั่นผจญภัยของเกมคือส่วน "Labyrinth" ผู้เล่นจะสำรวจพื้นผิวเขาวงกตของ Naju ในร่างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ โดยเป็นมุมมองจากด้านบน (top-down perspective).[9] ผู้เล่นต้องค้นหาเส้นทางใน Labyrinth ผ่านประตูต่างๆ ไปยังอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยทั้ง 10 ตัว The Labyrinth ประกอบด้วยทางเดินยาวและห้องต่างๆ ซึ่งระบุพิกัดแบบ X–Y coordinates.[16] แผนที่ซึ่งแสดงรายละเอียดสามารถแสดงได้ในหน้าจอหยุด (pause subscreen)[17] ผู้เล่นสามารถเดินจากหน้าจอหนึ่งไปยังหน้าจอถัดไปได้ แต่ในบางจออาจถูกแยกออกโดย ประตู ที่เรียกว่า "วาร์ปพาเนล".[18] บนวาร์ปพาเนลจะมีสัญลักษณ์ซึ่งผู้เล่นจะสามารถวาร์ปพาเนลนี้ได้หากมีกุญแจสัญลักษณ์ที่ตรงกันกับบนวาร์ปพาเนล วาร์ปพาเนลบางอันจะพาไปยังห้องซึ่งให้เงื่อนงำหรือเรื่องราวของเกม ส่วนอันอื่นๆอาจจะเป็นประตูไปสู่ร้านค้า ห้องพาสเวิร์ด และทางเดินยาว กุญแจสัญลักษณ์จะอนุญาตให้ผู้เล่นผ่านไปยังส่วนต่างๆของthe Labyrinthได้โดยไม่เรียงลำดับ[10]
ในส่วนวิธีการเล่นแบบเกมยิง ชูตเอ็มอัป ของเกมคือส่วน "Dungeon" ผู้เล่นจะต้องต่อสู้ภายใน Naju ในรูปยานอวกาศ Dungeon เป็นเส้นทางต่อเนื่องภายใน Naju ที่เต็มไปด้วยศัตรู Dungeon พบได้ในจากเส้นทางบน Labyrinth.[19] ผู้เล่นต้องบุกเข้าใน Dungeon เพื่อเอาชนะ boss หากสามารถเอาชนะ boss ได้ ผู้เล่นจะสามารถทำลายเส้นทางและกลับสู่ Labyrinth โดยได้รับเพาเวอร์อัพ (ในบางครั้งอาจจะเป็นกุญแจวาร์ปพาเนล)เป็นรางวัล[10] ในขณะที่บางเส้นทางสามารถเข้าได้โดยอิสระ บางเส้นทางจะต้องทำแอ๊คชั่นบางอย่างในห้องคอร์ริดอร์ก่อนจึงจะสามารถเข้าได้ บางห้องใน Labyrinth จะให้เงื่อนงำในการปลดล็อกเส้นทางเหล่านี้ เส้นทางทั้ง 10 เส้นของเกมเป็นเส้นทางไปสู่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ผู้เล่นจำต้องปิดการทำงานทั้งหมดเพื่อเอาชนะเกม[11]
The Guardian Legend ถูกสร้างขึ้นสำหรับ Nintendo Famicom โดย Compile ซึ่งเป็นเกมภาคต่อของเกม Guardic ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 1986 สำหรับเครื่อง MSX, และเริ่มวางจำหน่ายในชื่อ Guardic Gaiden ในประเทศญี่ปุ่น โดย Irem เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 .[20] ผู้อำนวยการสร้าง Masamitsu "Moo" Niitani, ประธานบริษัท Compile และผู้สร้างเกม Puyo Puyo ซีรีส์.[21] ทีมผู้สร้างส่วนมากมาจากทีมสร้าง Guardic รวมทั้งจาก Zanac และ Blazing Lazers.[20][22] ภาพหน้าปกของ Guardic Gaiden ออกแบบโดยนักวาดภาพประกอบหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Naoyuki Kato และภาพตัวละคร the Guardian ในร่างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์หญิง.[23] The Guardian Legend ได้วางจำหน่ายสำหรับเครื่อง NES ในทวีปอเมริกาเหนือ โดย Brøderbund ในเดือนเมษายน 1989 และวางจำหน่ายในทวีปยุโรปโดย Nintendo ในปี 1990.[20] นิตยสาร Nintendo Power ได้พรีวิว The Guardian Legend ในเดือนมกราคม 1989 โดยได้วิจารณ์เรื่องรูปแบบเกม ภาพกราฟิก และฉากเกมยิง ชูตเอ็มอัป นิตยสาร Nintendo Power ได้สัญญาว่าจะลงบทความรีวิวทั้งหมดในนิตยสารฉบับถัดมา แต่จำเป็นต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากความล่าช้าในการเปิดตัวเกม[24][25] The Guardian Legend ถูกนำออกแสดงที่งาน Winter Consumer Electronics Show ที่ Las Vegas, Nevada ในปี 1989 ก่อนการวางจำหน่าย ในการแสดงครั้งนั้น The Guardian เป็นหนึ่งในแรงดึงดูดหลักของบูธ Brøderbund ร่วมกับ U-Force controller.[26] ในปี 1990 สินค้าคงคลังของThe Guardian Legend ถูกขายพร้อมกับสินทรัพย์อื่นๆของ Brøderbund ให้แก่ THQ[27]
การตอบรับ | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เกมได้รับทั้งคำชมและคำตำหนิสำหรับการเป็นเกมหลายประเภท นักวิจารณ์ 4 คนได้เขียนบทความวิจารณ์ในปี 1989 ลงนิตยสาร Electronic Gaming Monthly หลังจากการเปิดตัวของเกมในปี 1989 ไม่นานนัก. Steve Harris กล่าวว่าเป็นมากกว่าเกมยิงและเป็นเกมภาคต่อที่ดีเยี่ยมของผู้ที่ชื่นชอบเกม Zanac. เขาได้กล่าวว่าการเป็นเกมหลายประเภทเป็นการยกระดับของเกมให้สูงขึ้นมาก[28] Ed Semrad ให้ความเห็นว่า เป็นโคลนนิ่งของ Blaster Master ที่ดีที่สุดเกมนึง เขายังได้ย้ำความเห็นของ Harris ว่าผู้ที่ชื่นชอบ Zanac จะต้องชื่นชอบ The Guardian Legend อย่างแน่นอน Donn Nauert ให้ความเห็น่าเกมซ้ำซากและให้ความท้าทายเพียงเล็กน้อยและจะดีกว่านี้ถ้าเกมเป็นเกมยิงแต่เพียงอย่างเดียว เขายังกล่าวถึงพาสเวิร์ดพิเศษ "TGL" ซึ่งผู้เล่นสามารถป้อนเข้าไปเพื่อข้ามส่วน Labyrinth ทั้งหมด[28][34] Jim Allee ได้เปรียบเทียบกับเกม Zanac แต่ได้ย้ำถึงสิ่งที่ Nauert กล่าวเกี่ยวกับการขาดความท้าทายในเกม ยกเว้นการต่อสู้กับบอส อย่างไรก็ตามเขาชื่นชมในภาพรวมของเกมที่สามารถรวมประเภทเกมทั้งสองเข้ากันได้เป็นอย่างดี[28]
The Guardian Legend ได้รับรางวัลจากบรรณาธิการของ Nintendo Power. เกมได้ลงนิตยสารฉบับเดือนกันยายน 1989 โดยติดชาร์ตท๊อป 30 ครั้งแรกในอันดับที่ 9 บรรณาธิการได้ยกย่องตัวเกมและตัวละครเอกว่าเป็นวีรบุรุษที่สามารถแปลงร่างได้[35] เกมยังสามารถติดอันดับในชาร์ตได้เป็นเวลาเกือบปี[36] เกมได้รับการยอมรับถึงความสำเร็จอย่างมาก เกมได้รับหลายรางวัลจากบรรณาธิการและพนักงานของนิตยสารเกมได้แก่ Nintendo Power Awards for 1989, "กราฟิกและเสียงที่ดีที่สุด", "การควบคุมการเล่นที่ดีที่สุด", และ "เกมที่ดีที่สุด"[37] แต่เกมนี้ก็ไม่สามารถชนะอันดับที่ 1 ของแต่ละรางวัลที่ได้รับ[38] Nintendo Power ได้ลงบทความแนะนำการเล่น (walkthrough) บางส่วนของเกมในฉบับเดือนพฤศจิกายน 1989[39]
หลังจากวางจำหน่ายในทวีปยุโรป เกมได้รับคำชมเชยในระดับกลางจากนิตยสารเกมของเยอรมัน นอกจากนี้นิตยสาร Video Games ได้ให้คำชมเชยว่าเป็นเกมแอ็คชั่นผจญภัยในรูปแบบเดียวกันกับ The Legend of Zelda ที่ดี ในเกมผู้เล่นจะต้องคนหาไอเท็มและพื้นที่ลับ นอกจากนี้มุมมองจากด้านบนก็คล้ายกับเกมส่วนมากของนินเทนโด นอกจากนี้เขายังชื่นชมในความหลากหลายและความพิเศษของเกม กลวิธีที่ใช้ในการสู้กับบอสที่หลากหลาย ความยากของตัวเกม และความสมบรูณ์ของภาพกราฟิก[32] นักวิจารณ์จาก Power Play ได้เปรียบเทียบ The Guardian Legend กับ The Legend of Zelda และ Life Force เขาชื่นชมความหลากหลายของวิธีการเล่น อาวุธ ความยาก และการผสมผสานระหว่างรูปแบบเกมแอ็คชั่นผจญภัยและเกมยิง แต่เกมขาดระบบ battery-backed RAM สำหรับบันทึกความคืบหน้าในการเล่น รวมทั้งขาดปริศนาที่ท้าทายในเกมแอ็คชั่นผจญภัยและในบางส่วนของเกมยิงที่ยากมากเกินไป[33]
เกมยังคงได้รับการชมเชยอย่างต่อเนื่องมากกว่าทศวรรษหลังจากการวางจำหน่าย Lucas Thomas จาก Evansville Courier & Press มักจะเปรียบเทียบเกม The Guardian Legend กับเกม The Legend of Zelda สำหรับเครื่อง NES และเกม Sigma Star Saga สำหรับเครื่อง Game Boy Advance เขาเน้นยำความสำเร็จของบริษัท Compile ในการรวมเกมประเภทแอ็คชั่นผจญภัย เกมยิง และแอ็คชั่นอาร์พีจีเข้าด้วยกัน[40] ในปี 2008 Thomas ได้ลงบทความใน IGN ยกย่องว่าเกมนี้เป็นอันดับสองของ "Top 10 Unreleased NES Hits" และยืนยันว่า The Guardian Legend ได้นำแนวคิดการผสมผสานเกมหลากหลายประเภทไปใช้ในเกมมากกว่าเกม Blaster Master.[22] ในเดือนตุลาคมปี 2009, IGN ได้จัดลำดับให้The Guardian Legend อยู่ในอันดับที่ 87 ของ "Top 100 NES Games of All Time" และได้ยกย่องอย่างเป็นทางการว่า เกมนี้เป็นหนึ่งในเกมที่มีอิทธิพลในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมเกม[41] ในเดือนมีนาคมปี 2008 บรรณาธิการของ Game Informer ได้กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็นการรวมกันของเกมหลากหลายประเภทที่ดีเยี่ยม และได้เปรียบเทียบเกมนี้ว่าเป็นการรวมกันของเกม The Legend of Zelda, Metroid, และ 1942. ในขณะที่เขาชื่นชมเกมในเรื่องความตื่นเต้นและท้าทายในส่วนของเกมยิง แต่เขาได้ตำหนิถึงความซับซ้อนของแผนที่และความยุ่งยากของระบบพาสเวิร์ด[30] ในการให้สัมภาษณ์กับ Gamasutra Mike Engler กล่าวว่า The Guardian Legend เป็นเกมที่ดีที่สุดเกมหนึ่งที่ได้เคยออกวางจำหน่าย[42]
อิทธิพลของภาพกราฟิกและเสียงของเกม The Guardian Legend . Robert Dewar และ Matthew Smosna จากนิตยสาร Open Systems Today อ้างว่าเกมนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ graphics co-processors สำหรับเครื่อง NES เพื่อชดเชยข้อจำกัดของ CPU ที่มีความเร็วต่ำในแอปพลิเคชันที่ต้องการการประมวลผลภาพกราฟิกอย่างสูง[43] เขากล่าวว่าความเร็วในการก้าวเดินภายในเกมไม่สามารถทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคนั้น (ปี 1992) โดยปราศจากการใช้กราฟิกบอร์ดราคาแพงและ CPU ที่มีความเร็วสูง.[43] ดนตรีในเกมแต่งโดย Masatomo Miyamoto และ Takeshi Santo ซึ่งยังคงโด่งดังอีกหลายปีหลังจากการวางจำหน่ายเกม Samantha Amjadali จากหนังสือพิมพ์ในเมือง Melbourne ชื่อว่า The Herald Sun ได้รายงานว่าดนตรีจากเกมซึ่งได้รับการรีมิกซ์ได้ขึ้นอันดับสองของเว็บไซต์ OverClocked ReMix ในเดือนมีนาคมปี 2002.[44] วงดนตรีที่นำเพลงจากวิดีโอเกมมาเรียบเรียงใหม่อย่าง The Advantage ได้ออกาอัลบั๊มในปี 2006 ชื่อว่า Elf Titled ซึ่งได้นำเพลงหนึ่งจากเกมมาเรียบเรียงใหม่[45]
Dialog box: This star "NAJU" was our home, but we were invaded by evil life-forms. Everyone except me was killed.
Dialog box: I am going to try to activate the self-destruct device. If I fail, I would like you to do this task so this cannot happen to any other race. [...] I hope this message will not be read by anyone...it will mean that I have failed.
Dialog screen: I'M RANDAR! PLEASE GIVE ME 15 POWERS THEN I GIVE YOU SOMETHING.
Collect six Number 6 chips and use the option when there are a lot of characters on the screen. They'll all turn to Blue Renders which you can collect for 1-Ups.
Dialog box: All the rooms leading to the corridors are locked, so use the "warp panel" to get into the room. To use the "warp panel", blast through the cover. You will also need the key for the panel.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date=
(help)
ファミ通のクロスレビュー平均点 7.50点 [Famitsū cross review average score 7.50 points]
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ |journal=
(help) (see Famitsu#Scoring)
Die elende Fummelei mit dem Paßwort hätte dann ein Ende. [The wretched fumbling with the password have long ended.]