เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์: แอดเวนเชอส์

เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์: แอดเวนเชอส์
ภาพหน้าปกแสดงตัวละครหลักของเกม
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
กำกับชู ทาคุมิ
อำนวยการผลิตชินทาโร โคจิมะ
ออกแบบ
  • ชู ทาคุมิ
  • โยอิชิโระ อิเคดะ
  • จุนชิ โจได
โปรแกรมเมอร์จุนอิชิ ชิบะ
ศิลปินคาซึยะ นูริ
เขียนบทชู ทาคุมิ
แต่งเพลง
  • ยาสุมาสะ คิตะงะวะ
  • ฮิโระมิตสึ มาเอบะ
ชุดเอซอะเทอร์นีย์
เอนจินMT Framework
เครื่องเล่น
วางจำหน่ายนินเท็นโด 3ดีเอส
  • JP: July 9, 2015
แอนดรอยด์
  • JP: August 30, 2017
ไอโอเอส
  • JP: August 31, 2017
แนวผจญภัย, วิชวลโนเวล
รูปแบบวิดีโอเกมผู้เล่นเดี่ยว

เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์: แอดเวนเชอส์ (อังกฤษ: The Great Ace Attorney: Adventures)[a] เป็นเกมผจญภัย และภาคที่แปดของซีรีส์ เอซอะเทอร์นีย์ พัฒนาและจัดจำหน่ายโดย แคปคอม กำกับโดย ชู ทาคุมิ และอำนวยการผลิตโดย ชินทาโร โคจิมะ เกมเปิดตัวบน นินเทนโด 3ดีเอส ในญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 และต่อมาได้เปิดตัวเวอร์ชัน แอนดรอยด์ และ ไอโอเอส ในเดือนสิงหาคม 2560 ภาคต่อของเกมคือ เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ 2: รีซอลฟ์ ซึ่งวางจำหน่ายในญี่ปุ่นปี 2560 ทั้งสองภาคได้รับการรวมชุดและเปิดตัวทั่วโลกในเดือนกรกฎาคม 2564 ภายใต้ชื่อ เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์โครนิเคิลส์ สำหรับแพลตฟอร์ม นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4 และ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

เกมนี้ยังคงรูปแบบการเล่นแบบห้องพิจารณาคดีจากภาคก่อน ๆ ในซีรีย์ เอซอะเทอร์นีย์ พร้อมด้วยสภาพแวดล้อมแบบ 3 มิติเต็มรูปแบบ และโมเดลตัวละครที่เคยใช้ใน ฟีนิกซ์ ไรต์: เอซอะเทอร์นีย์ – ดูอัลเดสตินีส์ เช่นเดียวกับภาคก่อน ๆ รูปแบบการเล่นแบ่งออกเป็นการสืบสวนซึ่งผู้เล่นจะต้องสำรวจพื้นที่เพื่อรวบรวมหลักฐานและคำให้การ และการพิจารณาคดีในศาลซึ่งผู้เล่นต้องใช้หลักฐานเพื่อโต้แย้งและจับผิดคำให้การของพยานเพื่อนำไปสู่การเปิดเผยความจริงเบื้องหลังคดี คล้ายกับเกมก่อนหน้าของทาคุมิอย่างโพรเฟสเซอร์เลย์ตัน vs. ฟีนิกซ์ ไรต์: เอซอะเทอร์นีย์ ผู้เล่นจะต้องซักถามพยานหลายคนพร้อมกันในบางกรณี ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาของพยานคนอื่น ๆ ระหว่างการให้การ เพื่อค้นหาข้อมูลใหม่และเปิดเผยความจริงของคดี[1]

เกมเดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ นำเสนอกลไกการเล่นเกมใหม่ 2 แบบ ได้แก่ การเต้นรำแห่งการอนุมาน (Dance of Deduction) และการสอบสรุปผล (Summation Examinations) ในระหว่างการสืบสวนบางอย่าง เฮอร์ล็อก โชล์มส์จะทำการแสดง "ตรรกะและการใช้เหตุผล" โดยเขาจะเสนอทฤษฎีที่มีข้อบกพร่องขึ้นมาโดยอิงจากการสังเกตสถานการณ์และพฤติกรรมของพยาน จากนั้นผู้เล่นจะต้องตรวจสอบฉากและพยานอย่างรอบคอบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของเฮอร์ล็อกและไปถึงข้อสรุปที่สมเหตุสมผลมากขึ้น การสอบสรุปผลจะเกิดขึ้นระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งคณะลูกขุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดีในอังกฤษ จะตัดสินว่ามีความผิดโดยเอกฉันท์ ณ จุดนี้ ผู้เล่นจะต้องโน้มน้าวใจคณะลูกขุนส่วนใหญ่ให้เปลี่ยนคำตัดสิน เพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินต่อไปได้ ผู้เล่นจะทำสิ่งนี้ได้โดยการเปรียบเทียบคำพูดของคณะลูกขุนสองคนที่ขัดแย้งกันหรือพิสูจน์ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก บางครั้งสิ่งนี้อาจจำเป็นต้องให้ผู้เล่นกดดันลูกขุนแต่ละคนและนำเสนอหลักฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนคำกล่าวของพวกเขา[2][3]

โครงเรื่อง

[แก้]

ฉากและตัวละคร

[แก้]

เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 (ในญี่ปุ่นเรียกว่า ยุคเมจิ และในอังกฤษเรียกว่า ยุควิกตอเรีย ) เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ เน้นไปที่ริวโนะสุเกะ นะรุโฮโดะ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลยูเม และบรรพบุรุษของฟีนิกซ์ ไรต์ ตัวเอกของซีรีส์ เอซอะเทอร์นีย์ ริวโนะสุเกะได้รับการอธิบายว่าเป็นคนยึดมั่นในความยุติธรรม แต่ก็มักตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายได้ง่าย[4] เขาร่วมทีมกับคาสึมะ อะโซงิ เพื่อนนักศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน แนวคิดเรื่องทนายความฝ่ายจำเลยในระบบตุลาการในญี่ปุ่นในอดีตยังเป็นสิ่งใหม่ ดังนั้น อะโซงิจึงเป็นหนึ่งในผู้ที่มีคุณสมบัติว่าความในศาลได้ เขามีเป้าหมายที่จะปฏิรูประบบกฎหมายผ่านการศึกษาในสหราชอาณาจักร[1] ริวโนะสุเกะและอะโซงิได้รับความช่วยเหลือจาก ซูซาโตะ มิโคโตบะ ผู้ช่วยฝ่ายตุลาการ เธอถูกอธิบายว่าเป็น "ผู้หญิงญี่ปุ่นในอุดมคติ" มีความคิดก้าวหน้า และหลงใหลในนิยายลึกลับต่างประเทศ[5][6]

เมื่อเดินทางไปอังกฤษเพื่อศึกษาต่อ ริวโนะสึเกะได้พบและกลายเป็นเพื่อนกับนักสืบชื่อดังระดับโลก เฮอร์ล็อค โชมส์ (ซึ่งในฉบับภาษาญี่ปุ่นเดิมใช้ชื่อว่า "เชอร์ล็อค โฮมส์")[7] เฮอร์ล็อคเป็นบุคคลที่มีนิสัยแปลกประหลาดและมีจิตวิญญาณอิสระ แม้ว่าเขาจะฉลาดอย่างแท้จริง แต่ด้วยแต่ลักษณะการให้เหตุผลแบบอุปมาน ที่เร่งรีบและไม่ใส่ใจของเขามักทำให้เขามักสรุปผลไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ผู้ที่ร่วมเดินทางกับโชล์มส์คือผู้ช่วยของเขา ไอริส วิลสัน (ในฉบับภาษาญี่ปุ่นฉบับเดิมชื่อ "ไอริส วัตสัน") เด็กอัจฉริยะวัย 10 ขวบ และเป็นลูกบุญธรรมของโชล์มส์ ไอริสเป็นนักประดิษฐ์อัจฉริยะ และเป็นผู้เขียน "เฮอร์ล็อก โชมส์ ชุด การผจญภัย"[7]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น ริวโนะสุเกะ นะรูโฮโดะถูกพิจารณาคดีในข้อหาฆาตกรรม ดร. จอห์น เอช. วิลสัน อาจารย์มหาวิทยาลัยรับเชิญ โดยมีคาสึมะ อะโซงิ เพื่อนสนิทของเขาทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายจำเลย ในขณะที่อัยการคือ ทะเค็ตสึจิ อะอุจิ (บรรพบุรุษในยุคเมจิของตัวละครวินสตัน เพย์น ที่ปรากฏซ้ำในซีรีส์) ด้วยความช่วยเหลือจากซูซาโตะ มิโกโตบะ ผู้ช่วยด้านกฎหมาย ริวโนะสุเกะและอะโซงิพิสูจน์ได้ว่าฆาตกรตัวจริงคือเจเซล เบรตต์ นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวอังกฤษที่เคยเรียนกับวิลสันที่มหาวิทยาลัย แรงจูงใจของเธอยังคงเป็นปริศนา เธอถูกส่งตัวไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลกงสุล

หลังจากการพิจารณาคดี อะโซงิออกเดินทางจากญี่ปุ่นไปศึกษาต่อที่อังกฤษ แต่เขาได้แอบซ่อน ริวโนะสุเกะ ไว้ในกระเป๋าเดินทางของตนเพื่อให้ริวโนะสุเกะสามารถเดินทางไปด้วยและได้เห็นการเปิดตัวของอะโซงิในศาลอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ขณะ ริวโนะสุเกะ กำลังหลับอยู่ อะโซงิ ถูกพบว่าเสียชีวิตภายในห้องโดยสารของเขาและเมื่อการลักลอบขึ้นเรือของริวโนะสุเกะถูกเปิดเผย เขากลับถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรอีกครั้ง ด้วยความร่วมมือจากซูซาโตะ และนักสืบสุดประหลาด เฮอร์ล็อก โชมส์ ริวโนะสุเกะสามารถเปิดโปงความจริงและค้นพบว่าฆาตกรตัวจริงคือ นิโคลิน่า พาฟโลวา นักบัลเลต์ชื่อดังระดับโลกที่แอบหลบหนีออกจากรัสเซีย เธอฆ่า อะโซงิ โดยไม่ได้ตั้งใจ โดยผลักเขาล้ม และชนกับลูกบิดไม้บนเตียงจนคอหักหลังจากที่ตื่นตระหนกและหวาดกลัวว่าเขาอาจจะส่งตัวเธอให้กับกัปตันเรือ แต่ความจริงแล้ว เขาเพียงต้องการแนะนำเธอให้รู้จักกับริวโนะสุเกะ ซึ่งแอบขึ้นเรือมาด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไว้ใจเธอ หลังจากเหตุการณ์ยุติลง ริวโนะสุเกะสามารถโน้มน้าวให้ซูซาโตะยอมให้เขาเข้ารับตำแหน่งทนายความตัวแทนในอังกฤษแทนอะโซงิ เธอเห็นด้วยและเริ่มสอนกฎหมายอังกฤษให้เข้าอย่างเข้มข้นตลอดช่วงเวลาที่เหลือของการเดินทาง

ไม่นานหลังจากเดินทางมาถึงบริเตนใหญ่ ริวโนะสุเกะและซูซาโตะ ได้พบกับลอร์ดเมล สตรองฮาร์ต ประธานศาลฎีกา ซึ่งมอบหมายให้พวกเขารับหน้าที่ปกป้องแม็กนัส แม็กกิลดิด นักการกุศลที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าเมสัน มิลเวอร์ตัน ช่างก่ออิฐภายในรถโดยสารประจำทาง พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับ บาร็อก ฟาน ซีกส์ อัยการในตำนานของอังกฤษ ผู้ได้รับฉายา “ยมทูตแห่งศาลเก่า” (Reaper of the Old Bailey) และได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งใช้ คณะลูกขุน 6 คน ในการพิจารณาคดีและตัดสินความผิดหรือบริสุทธิ์ของจำเลย ระหว่างการพิจารณาคดี เกิดระเบิดควัน ส่งผลให้ต้องอพยพผู้ต้องหาออกจากห้องพิจารณาคดี เมื่อกลับมาดำเนินการต่อ ริวโนะสุเกะและซูซาโตะได้สอบสวนพยานคนใหม่ที่เพิ่งถูกพบคือ จีน่า เลสตราด และสามารถค้นพบหลักฐานที่พิสูจน์ว่า เมสันถูกฆ่าบนหลังคารถม้า แม้ว่าฟาน ซีกส์ จะอ้างว่า หลักฐานถูกปลอมแปลงหลังระเบิดควัน แต่เขาไม่สามารถพิสูจน์ข้อกล่าวหานี้ได้ ส่งผลให้แม็กกิลดิดถูกตัดสินพ้นผิดในเวลาต่อมา แม้ว่าริวโนะสุเกะจะยังสงสัยในความบริสุทธิ์ของแม็กกิลดิดก็ตาม แต่ไม่นานหลังจากการพิจารณาคดี แม็กกิลดิดถูกฆาตกรรม ภายในรถโดยสารประจำทางคันเดิม และรถก็ถูกจุดไฟเผาทำลายหลักฐานทั้งหมด

วันรุ่งขึ้น ริวโนะสุเกะและซูซาโตะต้องรับหน้าที่ปกป้อง โซเซกิ นัตสึเมะ นักเขียนนวนิยายชาวญี่ปุ่นที่กำลังจะมีชื่อเสียง ซึ่งเดินทางมาลอนดอนเพื่อศึกษาภาษาอังกฤษในฐานะ นักเรียนแลกเปลี่ยน ด้วยบุคลิกที่ขี้กังวลและหวาดระแวง โซเซกิ กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีทำร้ายร่างกายรุนแรง หลังจากเกิดเหตุแทงกันบนถนน เขาต้องขึ้นศาลเพื่อต่อสู้คดีและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ในระหว่างการพิจารณาคดี ริวโนะสึเกะสามารถพิสูจน์ได้ว่าเหตุแทงนั้น ไม่ได้เกิดจากโซเซกิ แต่เป็นผลมาจากการทะเลาะวิวาทในครอบครัว ระหว่างจอห์น การ์ริเดบ เจ้าของบ้าน และโจน ภรรยาของเขา ในขณะที่ทะเลาะกัน โจนได้ขว้างมีดใส่สามีของเธอ แต่มีดกลับพลาดเป้าหลุดออกไปทางหน้าต่างและบังเอิญไปโดนเหยื่อโดยไม่ได้ตั้งใจ โซเซกิถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดและตัดสินใจเดินทางกลับญี่ปุ่น หลังจากพ้นข้อกล่าวหา ในขณะเดียวกัน เฮอร์ล็อกได้เชิญริวโนะสุเกะและซูซาโตะให้มาอยู่กับเขาและไอริสที่ 221B ถนนเบเกอร์ พวกเขาจึงใช้ห้องใต้หลังคาเป็นที่ตั้งของสำนักงานกฎหมายแห่งใหม่ของริวโนะสุเกะ

ไม่กี่เดือนต่อมา จีน่าถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมป๊อป วินดิแบงก์ เจ้าของร้านจำนำ ระหว่างการพิจารณาคดี ไอริสได้ช่วยนารูโฮโดะ เปิดเผยความจริงว่า แม็กกิลดิดคือฆาตกรตัวจริงที่ฆ่าเมสัน มิลเวอร์ตัน และไฟที่เผาแม็กกิลดิดจนเสียชีวิต แท้จริงแล้วเกิดจากนักฆ่าที่ลูกชายของมิลเวอร์ตันจ้างมา นักฆ่าคนนั้นคือ แอชลีย์ เกรย์ดอน ช่างเทคนิคสถานีโทรเลข ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแผนล้างแค้นของตระกูลมิลเวอร์ตัน เกรย์ดอนและมิลเวอร์ตันได้ขายรหัสลับของรัฐบาลให้กับแมกกิลดิด โดยที่มิลเวอร์ตันไม่รู้ตัว ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง ในท้ายที่สุด ความขัดแย้งนี้บานปลายกลายเป็น การต่อสู้ และจบลงด้วยการที่ แม็กกิลดิดฆ่าเมสัน มิลเวอร์ตัน เพื่อแก้แค้น เกรย์ดอนจึงฆ่าแมคกิลดิง และพยายามขโมยรหัสลับที่เข้ารหัสไว้ กลับคืนมาจากร้านจำนำของวินดิแบงก์ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเผชิญหน้ากับวินดิแบงก์ เขาเผลอฆ่าวินดิแบงก์โดยไม่ได้ตั้งใจ หลังจากคดีได้รับการคลี่คลาย ริวโนะสึเกะถูกพักงานจากการเป็นทนายความ เนื่องจากเขาเปิดเผยความลับของรัฐบาลระหว่างการพิจารณาคดี ขณะเดียวกัน ซูซาโตะเดินทางกลับญี่ปุ่นหลังได้รับข่าวว่า ยูจิน พ่อของเธอป่วยหนัก

การพัฒนา

[แก้]
เช่นเดียวกับเกมอื่น ๆ ในซีรีส์นี้ เกมนี้กำกับโดย ชู ทาคุมิ

เกม เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ พัฒนาโดย แคปคอม สำหรับนินเทนโด 3ดีเอส กำกับโดย ชู ทาคุมิ และอำนวยการผลิตโดยชินทาโร โคจิมะ[8] คาซึยะ นูริ ออกแบบตัวละครและกำกับศิลป์[9][10] ขณะที่ยาสุมาสะ คิตาคาวะ และฮิโรมิตสึ มาเอะบะ ทำหน้าที่ประพันธ์ดนตรีประกอบเกม[11]

การพัฒนาเริ่มขึ้นในปี 2013 เพียงไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวเกมโพรเฟสเซอร์เลย์ตัน vs. ฟีนิกซ์ ไรต์: เอซอะเทอร์นีย์ ในญี่ปุ่น ชู ทาคุมิ ได้รับการขอให้พัฒนาเกมเอซอะเทอร์นีย์ ใหม่[12] ในช่วงหนึ่งของการพัฒนา เขาเคยพิจารณาให้เกมเน้นไปที่การพิจารณาคดีแพ่ง[13] แต่ต่อมาเขาได้นึกถึงแนวคิดที่เคยคิดไว้[14] เมื่อราวปี 2000 เขามีแนวคิดเกี่ยวกับเกมลึกลับที่มีนักสืบผู้มักสรุปคดีอย่างไม่ถูกต้อง และหน้าที่ของผู้เล่นคือ แก้ไขข้อผิดพลาดของนักสืบ และนำเขาไปสู่ ความจริงของคดี[15] เขาคิดว่าการนำแนวคิดนี้มาผสมผสานกับ เอซอะเทอร์นีย์ คงจะเป็นเรื่องที่สนุก แต่ไม่คาดหวังว่าแคปคอมจะยอมรับไอเดียนี้[14][16]

ทาคุมิใฝ่ฝันที่จะสร้างเกมเกี่ยวกับเชอร์ล็อก โฮมส์ มานานแล้ว ด้วยเหตุนี้ โฮมส์จึงเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตั้งแต่เริ่มต้น ตามที่ทาคุมิกล่าว เขามีหลายเหตุผลที่ต้องการให้โฮล์มส์เป็นส่วนหนึ่งของเกมนี้ ทั้งในแง่ของรูปแบบการเล่น และเพื่อทำให้เกมแตกต่างจากซีรีส์ เอซอะเทอร์นีย์ หลัก เนื่องจากโฮล์มส์มาจากช่วงเวลาที่แตกต่างจากภาคหลัก สิ่งนี้ทำให้ทาคุมิหวนคิดถึงญี่ปุ่นในยุคนั้น และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับความลึกลับของเกม[15] เดิมที ทาคุมิตั้งใจให้เกมเริ่มต้นในลอนดอน เพราะมองว่าการสร้างศาลญี่ปุ่นสำหรับฉากเปิดเพียงอย่างเดียวจะมากเกินไป แต่แผนนี้เปลี่ยนไปเมื่อนูริบอกว่าเกมควรเริ่มต้นในญี่ปุ่น[9] ผลงานก่อนหน้านี้ในโพรเฟสเซอร์เลย์ตัน vs. ฟีนิกซ์ ไรต์: เอซอะเทอร์นีย์ ช่วยให้ทาคุมิสามารถสร้างรายละเอียดของฉากนี้ได้[17]

ทาคุมิพบว่าการเขียนบทสนทนาและเลือกใช้สำนวนให้เหมาะสมกับภาษาญี่ปุ่นในยุคเมจิเป็นเรื่องท้าทาย เพราะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาษาดูเก่าเกินไปหรือทันสมัยเกินไป เนื่องจากยุคเมจิเป็นช่วงที่อาชีพทนายความยังใหม่ในญี่ปุ่น และมีการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเข้มข้น ทาคุมิจึงมั่นใจว่าเกมจะสะท้อนบรรยากาศและแนวคิดนี้[18] เนื่องจากทาคุมิต้องสร้างโลกใหม่สำหรับเรื่องราว การเขียนบทของเกมจึงใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้[9] ตัวละครเอก ริวโนะสุเกะ ได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะการพูดและการกระทำของ ฟีนิกซ์ ไรต์ หากเขามีชีวิตอยู่ในยุคเมจิ เมื่อทีมพัฒนาเขียนรายชื่อไอเดียสำหรับชื่อตัวละครเอก "ริวโนะสุเกะ" เป็นคนแรกที่ถูกเสนอ และพวกเขาตัดสินใจเลือกทันทีภายในไม่กี่วินาที[19] ซูซาโตะถูกออกแบบตามแนวคิดเดียวกับนางเอกใน เอซอะเทอร์นีย์ ภาคก่อน ๆ โดยเป็น "คู่หูที่สมบูรณ์แบบ" และเป็นตัวละครที่สนุกสนานในการใช้เวลาอยู่ด้วย เช่นเดียวกับนางเอกของซีรีส์ที่มักอยู่เคียงข้างตัวละครหลักเสมอ[15] ชื่อของเธอถูกเลือกจากตัวอักษร คันจิ ที่ทาคุมิเห็นว่าสวยงาม[20] ทีมพัฒนาตัดสินใจเปลี่ยนแปลง "วัตสันของเชอร์ล็อก" จากต้นฉบับ เพราะเชื่อว่าจะน่าสนใจกว่าหากวัตสันไม่ใช่สุภาพบุรุษชาวอังกฤษอีกคน[15]

ภาพและเสียงดนตรี

[แก้]

ต่างจากเกม เอซอะเทอร์นีย์ ภาคก่อน ๆ ตัวละครและสภาพแวดล้อมในเกมนี้ถูกสร้างขึ้นเป็น 3 มิติทั้งหมด[21] เช่นเดียวกับเกม โกสต์ทริก: แฟนทอมดีเท็กทีฟ ของทาคุมิ แสงสปอตไลต์ส่องไปที่ตัวละครขณะที่พวกเขาเต้นรำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนใน เอซอะเทอร์นีย์ ภาคก่อน ๆ[15] การจับภาพเคลื่อนไหว ของชิโอสึกิ ชู อดีตนักแสดงคณะ ทาคาระซึกะรีวิว ถูกนำมาใช้ในแอนิเมชั่นบางฉาก เนื่องจากซีรีส์ เอซอะเทอร์นีย์ ขึ้นชื่อเรื่องท่าทางและแอนิเมชั่น จึงเลือกใช้วิธีนี้เพื่อให้แอนิเมชั่นดูมีไดนามิกมากขึ้น[22] นูริออกแบบตัวละครให้ดูเรียบง่ายแต่ยังสามารถถ่ายทอดข้อมูลมากมายด้วย เขาตั้งใจให้กราฟิกดูเหมือนภาพประกอบ และต้องการถ่ายทอดความรู้สึกของวัสดุที่ใช้ทำเสื้อผ้าและสิ่งของต่าง ๆ ในยุคเมจิ ตัวละครได้รับการออกแบบให้มีความสมจริงเพียงบางส่วน เพื่อรองรับแอนิเมชันและการแสดงออกทางสีหน้าที่สมจริง อย่างไรก็ตาม พยานและสมาชิกคณะลูกขุนถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น เพื่อให้ผู้เล่นจำพวกเขาได้ทันทีเมื่อเห็นนั่งอยู่ข้างกัน[10]

ริวโนะสุเกะได้รับการออกแบบให้มี "รูปลักษณ์ที่เฉียบคมของนักศึกษา" ซึ่งไม่มีปัญหาในการพัฒนา อย่างไรก็ตาม การออกแบบทรงผมของเขาใช้เวลานาน เพราะทาคุมิต้องการให้ทรงผมมีเอกลักษณ์จนสามารถจำได้จากเงาของตัวละคร แต่ในยุคเมจิ คนส่วนใหญ่กลับมี ทรงผมที่เรียบง่าย[19] นูริได้ลองออกแบบทรงผมหลากหลายแบบที่สอดคล้องกับยุคนั้นไว้ประมาณ 50 แบบ[10] ซูซาโตะถูกออกแบบให้เป็นหญิงสาวญี่ปุ่นที่มีความสง่างาม และเนื่องจากบริบทของยุคนั้น จึงตัดสินใจให้เธอสวมกิโมโน ทาคุมิมีความคิดหลายอย่างสำหรับสิ่งของที่ซูซาโตะสามารถถือได้ แต่สุดท้ายตัดสินใจให้การออกแบบของเธอเรียบง่าย[20] เพื่อให้ตัดกันกับตัวละครชาวอังกฤษ การออกแบบของโฮมส์มีหลายรูปแบบ เช่น "หดหู่" "น่ารัก" "ชอบผจญภัย" "มืดมน" และ "นอนหลับ" ในท้ายที่สุด ทีมพัฒนาเลือกใช้รูปแบบที่แตกต่างจากภาพลักษณ์ดั้งเดิมของโฮมส์โดยทั่วไป เพื่อสร้างความขัดแย้งกับบุคลิกที่แท้จริงของเขา นอกจากนี้เขายังได้รับปืนซึ่งตัดกับดาบของริวโนะสุเกะ การออกแบบของ ไอริส ผสมผสาน องค์ประกอบแบบโกธิก และนักวิทยาศาสตร์สติไม่ดี โดยถูกสร้างให้ เข้ากันได้ดีกับโฮล์มส์ เมื่อปรากฏตัวร่วมกัน เสื้อผ้าของอะโซงิได้รับการออกแบบโดยผสมผสาน อิทธิพลจากทั้งวัฒนธรรมญี่ปุ่นและตะวันตก ที่คาดผมของอะโซงิที่พลิ้วไหวตามสายลมเป็นสิ่งที่นูริต้องการให้มีในเกม และสามารถทำได้จริง ด้วยกราฟิก 3 มิติเท่านั้น[10] ฟาน ซีกส์ถูกออกแบบให้มี "ออร่าแห่งความมืด"[23] โดยผสมองค์ประกอบของแวมไพร์ หมาป่า และทูตสวรรค์ที่ตกสวรรค์[10] เกมมีฉากคัตซีนแบบ 2 มิติ ที่ผลิตโดยสตูดิโอแอนิเมชัน เจซีสตาฟ[ต้องการอ้างอิง][ จำเป็นต้องมีการอ้างอิง ]

ในการแต่งเพลงประกอบเกม คิตะงะวะใช้แนวคิดเดียวกับการแต่งเพลงสำหรับเกมเก่า ๆ โดยพยายามทำงานภายใต้ข้อจำกัดเพื่อสร้างดนตรีที่ทรงพลัง เขาเน้นสร้างทำนองที่ติดหูและปรับแต่งผ่านการลองผิดลองถูกหลายครั้ง ทาคุมิต้องการให้ดนตรีมีบรรยากาศแบบ "เทศกาล" มากกว่าดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเกม เอซอะเทอร์นีย์ ภาคก่อน ๆ เขาจึงขอให้คิตะงะวะใช้วงออร์เคสตราสด แต่ลดจำนวนเครื่องดนตรีเมื่อเทียบกับเกมก่อนหน้า เขาต้องการให้ดนตรีมีกลิ่นอายแบบอังกฤษด้วย ดังนั้นคิตะงะวะจึงเลือกใช้เสียงที่คล้ายกับ ดนตรีเชมเบอร์ พวกเขาคิดว่าเปียโนไม่เหมาะกับเกม ซึ่งทำให้แยกแยะเครื่องดนตรีได้ยาก เนื่องจากมีเพียงเครื่องสายและเครื่องเป่า ดังนั้น พวกเขาจึงเพิ่มองค์ประกอบของดนตรีภาษาสเปนเข้าไปเพื่อสร้างความแตกต่าง เพื่ออ้างอิงถึงนิสัยการเล่นไวโอลินของโฮมส์ พวกเขาจึงลองนำไวโอลินมาใช้ในดนตรีของเกมด้วย[9]

การวางจำหน่าย

[แก้]

เกมดังกล่าวเผยแพร่โดยแคปคอม สำหรับ นินเทนโด 3ดีเอส ในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2015 [24] มีให้เลือกใช้หลายรุ่นด้วยกัน รุ่นจำกัด ซึ่งจำหน่ายเฉพาะผ่านร้านค้า "อีแคปคอม" (e-Capcom) ของแคปคอม ประกอบด้วยตัวเกม กล่องที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกระเป๋าเอกสารของโฮมส์ ตุ๊กตาโฮมส์และไอริส เข็มกลัดตามแบบของริวโนะสุเกะ โปสการ์ด และสติกเกอร์ลายโฮมส์ อีกรุ่นหนึ่งซึ่งวางจำหน่ายเฉพาะที่อีแคปคอมเท่านั้น ประกอบด้วยเกม ซีดีเพลงประกอบ และชุดภาพประกอบ นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งรุ่นที่รวมตัวเกมและไอเทมโบนัสทั้งหมดจากรุ่นอื่น ๆ ด้วย การสั่งซื้อล่วงหน้าของเกมมาพร้อมกับธีม เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ สำหรับหน้าจอหลักของ นินเทนโด 3ดีเอส ด้วย[25] เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ รุ่นจำกัดที่รวมภาคต่อและซีดีเพลงประกอบจากทั้งสองเกมวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2017[26] แคปคอมเผยแพร่เพลงประกอบต้นฉบับในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2015[27] เกมเวอร์ชัน แอนดรอยด์ และ ไอโอเอส เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมและ 31 สิงหาคม 2017 ตามลำดับ[28][29]

ตามรายงานของแคปคอมฝรั่งเศส ไม่มีแผนเปิดตัวเกมในฝั่งตะวันตก ณ เดือนกันยายน 2015[30] ตามที่โปรดิวเซอร์ ยาสุยูกิ มากิโนะ กล่าว พวกเขาต้องการเปิดตัวเกมในภูมิภาคตะวันตก แต่ตระหนักดีว่าการแปลและดัดแปลงเหมาะสมเป็นความท้าทายหลัก[17] ในเดือนมิถุนายน 2016 เอชิโระกล่าวว่าพวกเขาต้องการเปิดตัวเกมในตะวันตก และทราบดีว่าแฟน ๆ เรียกร้องให้แคปคอมนำเกมมาวางจำหน่าย แต่มี "บางสถานการณ์" ที่ขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นได้[31] การแปลโดยแฟน ๆ ในรูปแบบวิดีโอพร้อมคำบรรยายถูกสร้างขึ้นในช่วงแปดเดือนและอัปโหลดไปยังยูทูบ แต่ถูก แคปคอมลบออกในเดือนมิถุนายน 2017[32] อย่างไรก็ตาม ยูทูบได้นำวิดีโอกลับมาในเดือนกรกฎาคม 2017 หลังจากได้รับการแจ้งโต้แย้งจากนักแปล[33] อย่างไรก็ตาม วิดีโอเหล่านั้นถูกลบออก และช่องก็ถูกปิดเช่นกัน แพตช์แปลภาษาอังกฤษของแฟน ๆ ฉบับสมบูรณ์ สำหรับเกมเวอร์ชันนินเทนโด 3ดีเอส และแอนดรอยด์ ได้เปิดตัวในปี 2019 ภายใต้ชื่อ เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์: ดิแอดเวนเชอส์ออฟริวโนะสุเกะ นารุโฮะโด[34][35]

การตอบรับ

[แก้]

เกมนี้ได้รับรางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยมแห่งปี 2015 ของ VGMO ในประเภท "เพลงพื้นบ้าน/อะคูสติก" โดยเพลงประกอบนั้นได้รับคำชื่นชมว่า "เกินความคาดหวังที่สูงอยู่แล้ว" สำหรับซีรีส์นี้ อีกทั้งยังมีการปรับปรุงที่ลงตัวและหลากหลายด้วย "เครื่องดนตรีคุณภาพสูงและทำนองที่ไพเราะ"[36]

ภาคต่อและการรวบรวม

[แก้]
  1. ชื่อญี่ปุ่นคือ ญี่ปุ่น: ได เงียคุเท็น ไซบัง: นารุโฮโดะ ริวโนะสุเกะ โนะ โบเก็น, อักษรโรมัน: 大逆転裁判 ‐成歩堂龍ノ介の冒険‐

ในปี 2014 ทาคุมิกล่าวว่าเกมนี้ถูกวางแผนให้เป็นภาคแรกในซีรีส์ใหม่ [18] ประกาศภาคต่อ เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์ 2: รีซอลฟ์ ในเดือนกันยายน 2016[37] และวางจำหน่ายในญี่ปุ่นสำหรับนินเทนโด 3ดีเอส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2017[38] และสำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์ในวันที่ 24 เมษายน 2018[39]

แคปคอมประกาศเปิดตัว เดอะเกรตเอซอะเทอร์นีย์โครนิเคิลส์ [a] ซึ่งเป็นชุดรวม แอดเวนเชอส์และ รีซอลฟ์ ในเดือนเมษายน 2021 เกมวางจำหน่ายในตะวันตกวันที่ 27 กรกฎาคม และในญี่ปุ่นและเอเชียวันที่ 29 กรกฎาคมสำหรับ นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4 และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ผ่านทางสตีม[40] เวอร์ชันนี้มีแทร็กเสียงทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น โหมดเนื้อเรื่องแบบเดินเรื่องอัตโนมัติ ตอนเสริมจากแอดเวนเชอส์ เครื่องแต่งกายจาก รีซอลฟ์ และแกลเลอรีในเกมสำหรับดูงานศิลปะและดนตรี ผู้เล่นที่ซื้อชุดรวมเกมล่วงหน้าจะได้รับ เนื้อหาดาวน์โหลด "ฟรอมเดอะวอลส์" ซึ่งเพิ่มงานศิลปะและดนตรีพิเศษเข้าไปในแกลเลอรี[41]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อญี่ปุ่น ญี่ปุ่น: ได เงียคุเท็น ไซบัง 1 & 2: นารุโฮโดะ ริวโนะสุเกะ โนะ โบเก็น โตะ คาคุโกะโรมาจิ大逆転裁判1&2 -成歩堂龍ノ介の冒險と覺悟-แปลว่า การพิจารณาคดีพลิกผันครั้งใหญ่ 1 & 2: การผจญภัยและความมุ่งมั่นของริวโนะสุเกะ นารุโฮโดะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sato (December 18, 2014). "The Great Ace Attorney Lets You Cross-Examine Two Witnesses At Once". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  2. Sato (September 10, 2014). "The Great Ace Attorney Takes Place In Japan And England". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2015. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  3. Kai, Cheng (September 18, 2014). "Learn All About The Great Ace Attorney's Collaborative Deduction System". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2015. สืบค้นเมื่อ February 24, 2016.
  4. "New Ace Attorney title coming, set in Meiji period with Phoenix Wright's ancestor". Polygon. 2014-04-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
  5. "『大逆転裁判 -成歩堂龍ノ介の冒險-』のヒロイン、御琴羽寿沙都のキャラクター紹介動画が公開。". Famitsu. 2015-06-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  6. "character persona of Susato in the Game". Capcom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2016. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  7. 7.0 7.1 "First Look at Sherlock Holmes in the New Ace Attorney". Kotaku. 10 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2014. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  8. Romano, Sal (April 22, 2014). "New Ace Attorney for 3DS set in Meiji era Japan". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "大逆転裁判". Nintendo Dream (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi (256).
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "第三十五回 大逆転裁判 デザインの冒險!". Capcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  11. 『大逆転裁判 -成歩堂龍ノ介の冒險-』サウンドトラックが7月15日に発売決定. Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). April 24, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  12. Takumi, Shu (April 24, 2014). "巧 舟 on Twitter" (ภาษาญี่ปุ่น). Twitter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  13. "New Ace Attorney Project Unveiled by Original Developer Takumi". Anime News Network. February 13, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2020. สืบค้นเมื่อ February 13, 2020.
  14. 14.0 14.1 Takumi, Shu (April 24, 2014). "巧 舟 on Twitter" (ภาษาญี่ปุ่น). Twitter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 巧 舟 スペシャルインタビュー! (ภาษาญี่ปุ่น). Capcom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2015. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.
  16. Takumi, Shu (April 24, 2014). "巧 舟 on Twitter" (ภาษาญี่ปุ่น). Twitter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  17. 17.0 17.1 Lum, Patrick (July 9, 2021). "How the Great Ace Attorney Finally Went Abroad". Vice. สืบค้นเมื่อ July 9, 2021.
  18. 18.0 18.1 Sato (April 24, 2014). "The Great Ace Attorney Is The Start Of A New Series". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2015. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  19. 19.0 19.1 Sato (June 3, 2015). "The Great Ace Attorney Makers Explain How They Created Phoenix Wright's Ancestor". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  20. 20.0 20.1 Sato (June 10, 2015). "The Great Ace Attorney Creator Talks About How They Came Up With The Heroine". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  21. Romano, Sal (September 9, 2014). "Sherlock Holmes joins The Great Ace Attorney". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  22. Sato (June 19, 2015). "A Look At How The Great Ace Attorney's Animations Were Created". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.
  23. Sato (June 12, 2015). "The Great Ace Attorney's Rival Prosecutor Was Made To Be A "Death God"". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2015. สืบค้นเมื่อ July 23, 2015.
  24. Romano, Sal (March 31, 2015). "The Great Ace Attorney Japanese release date set". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2015. สืบค้นเมื่อ March 31, 2015.
  25. "Meiji-Era Ace Attorney Game to Bundle Sherlock Briefcase". Anime News Network. April 6, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ February 24, 2016.
  26. Romano, Sal (April 17, 2017). "The Great Ace Attorney 2 latest trailer and gameplay, web demo now available". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2017. สืบค้นเมื่อ April 17, 2017.
  27. "『大逆転裁判 -成歩堂龍ノ介の冒險-』サウンドトラックが7月15日に発売決定". Famitsu. April 24, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
  28. "大逆転裁判". iTunes Store (ภาษาญี่ปุ่น). Apple Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2017. สืบค้นเมื่อ August 31, 2017.
  29. "大逆転裁判". Google Play (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2017. สืบค้นเมื่อ August 31, 2017.
  30. "Capcom France on Twitter" (ภาษาฝรั่งเศส). Capcom. September 1, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2015. สืบค้นเมื่อ September 2, 2015 – โดยทาง Twitter.
  31. Ray Corriea, Alexa (June 16, 2016). "Ace Attorney's Creators Talk the New Title and Localization". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2016. สืบค้นเมื่อ June 17, 2016.
  32. Jackson, Gina (July 6, 2017). "Fans Spend 8 Months Subtitling Ace Attorney Game, Capcom Slaps Them Down". Kotaku. Gizmodo Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2017. สืบค้นเมื่อ July 10, 2017.
  33. Biery, Thomas (July 12, 2017). "Ace Attorney fans declare victory as fansub videos return to YouTube". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2017. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
  34. Craddock, Ryan (2019-04-01). "The Great Ace Attorney Receives Full 3DS Translation Thanks To Fans". Nintendo Life. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.
  35. Wong, Alistar (2019-04-08). "The Great Ace Attorney And Great Ace Attorney 2 Demo Fan Translation Completed". Siliconera. Curse, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  36. "Annual Game Music Awards 2015 – Scores of the Year". VGMO. February 13, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2016. สืบค้นเมื่อ February 24, 2016.
  37. "Dai Gyakuten Saiban Meiji-era Ace Attorney Game Gets Sequel". Anime News Network. September 17, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2016. สืบค้นเมื่อ September 17, 2016.
  38. "『大逆転裁判2 -成歩堂龍ノ介の覺悟-』発売日が8月3日に決定【Nintendo Direct】". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Enterbrain. April 13, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2017. สืบค้นเมื่อ April 13, 2017.
  39. Romano, Sal (April 24, 2018). "The Great Ace Attorney 2 now available for smartphones in Japan". Gematsu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2018. สืบค้นเมื่อ April 24, 2018.
  40. Mateo, Alex (April 21, 2021). "Capcom Announces The Great Ace Attorney Chronicles Game for Switch, PS4, PC on July 27 in West". Anime News Network.
  41. McWhertor, Michael (April 21, 2021). "Capcom's Great Ace Attorney series is coming West this summer". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2021. สืบค้นเมื่อ April 21, 2021.