เตาอี้ | |
---|---|
杜預 | |
ภาพวาดเตาอี้ในสมัยราชวงศ์ชิง | |
ซือลี่เซี่ยวเว่ย์ (司隸校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 285 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
มหาขุนพลพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南大將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 278 – ค.ศ. 285 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ก่อนหน้า | เอียวเก๋า |
General of Light Chariots (輕車將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 270 – ค.ศ. 278 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ตงเชียงเซี่ยวเว่ย์ (東羌校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 270 – ค.ศ. 278 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ข้าหลวงมณฑลฉินโจว (秦州刺史) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 270 – ค.ศ. 278 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
Military Judge under the General Who Stabilises the West (安西將軍軍司) | |
ดำรงตำแหน่ง 270 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ผู้ตรวจราชการเหอหนาน (河南尹) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 265 หรือหลังจากนั้น – ค.ศ. 274 หรือก่อนหน้านั้น | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
Chief Clerk under the General Who Guards the West (鎮西將軍長史) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ที่ปรึกษาการทหาร (參軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 259 – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | โจมอ / โจฮวน |
ขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 259 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 222 ซีอาน มณฑลส่านซี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 285 (63 ปี) เติ้งโจว มณฑลเหอหนาน |
คู่สมรส | เจ้าหญิง Gaolu |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | นักคลาสสิก, ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | หยวนไข (元凱) |
ชื่อหลังเสียชีวิต | เฉิงโหว (成侯) |
ตำแหน่ง | ตังหยางโหว (當陽侯) |
เตาอี้ (ค.ศ. 223[1]– มกราคม หรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 285[2]) ชื่อรอง หยวนไข[3] เป็นนักคลาสสิก ขุนพล และขุนนางชาวจีนแห่งรัฐวุยก๊กในสมัยสามก๊กตอนปลายถึงต้นราชวงศ์จิ้น
เตาอี้มาจากตำบลตู้หลิง (杜陵縣) เมืองเกงเตียว (京兆郡) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีอาน มณฑลส่านซี เขาแต่งงานกับเจ้าหญิง Gaolu ผู้เป็นพี่/น้องสาวของสุมาเจียว[4] ผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊กใน ค.ศ. 255 ถึง 263 และเป็นพะรราชบิดาในสุมาเอี๋ยนที่ภายหลังกลายเป็นจักรพรรดิองค์แรกในราชวงศ์จิ้น
เมื่อ จงโฮย ขุนศึกคนสำคัญที่มีบทบาทในการพิชิต จ๊กก๊ก ได้ก่อกบฏขึ้นใน ค.ศ. 264 เตาอี้ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยแต่กลับรอดโทษประหาร
ใน ค.ศ. 280 ตรงกับปีที่ 15 ในรัชสมัย พระเจ้าสุมาเอี๋ยน ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกพระองค์ได้แต่งตั้งให้เตาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ในการพิชิตง่อก๊กตามคำสั่งเสียของ เอียวเก๋า ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เนื่องจากเตาอี้มีความสามารถทางการทหารและรอบรู้ตำราพิชัยสงครามซึ่งเตาอี้ก็สามารถพิชิตง่อก๊กได้สำเร็จ
เตาอี้ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 285 ตรงกับปีที่ 20 ในรัชสมัยพระเจ้าสุมาเอี๋ยนขณะมีอายุได้ 65 ปี
เตาอี้ก็เป็นบรรพบุรุษของตู้ ฝู่ กวีสมัยราชวงศ์ถัง และเป็นปู่ของตู้ เฉิ่นเหยียน[5]