เต่าร้างยักษ์น่าน | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Arecales |
วงศ์: | Arecaceae |
สกุล: | Caryota |
สปีชีส์: | C. obtusa |
ชื่อทวินาม | |
Caryota obtusa Griff. |
เต่าร้างยักษ์น่าน (อังกฤษ: Giant fishtail palm; ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota obtusa) เป็นปาล์มชนิดที่ค้นพบเป็นแห่งแรกที่จังหวัดน่าน เป็นไม้หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ชึ้นกระจัดกระจาย บนเทือกเขาหลวงพระบางระดับสูง บริเวณดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นปาล์มตระกูลเต่าร้าง ใบมีลักษณะรูปรูปขนนกสองชั้น สีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบย่อยคล้ายครีบหรือหางปลา เวลาลมพัดใบโบกสะบัดดูงดงามยิ่ง มีกาบหุ้มคอยอดมาก เมื่อโตเต็มที่จะออกลูกจากด้านยอดลงมาหาโคนและลำต้นแม่ก็จะตาย ลำต้นสูงใหญ่สูงได้ถึง 30 ฟุต เป็นเต่าร้างลำต้นเดี่ยว ไม่แตกกอเหมือนเต่าร้างทั่วไป เป็นไม้ต้องการแสงมาก แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยาศภายในร่มที่มีแสงน้อยได้ จัดเป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นพืชที่หายากและใกล้สูญพันธุ์มากชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบเพียงแห่งเดียวคือ ที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน ในป่าดิบเขาที่มีความสูง 1,500-1,700 เมตร ที่มีเมฆหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี และยังพบเป็นปริมาณมาก ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย[1] และเชื่อว่ายังมีเหลืออยู่บ้างในป่าดิบเขาของเทือกเขาหลวงพระบางในประเทศลาว[2]
จัดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีกำเนิดมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ร่วมสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน[2]