เทศบาลเมืองเบตง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Betong |
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: ทิวทัศน์เมืองเบตง, หอนาฬิกาเมืองเบตง, ด่านศุลกากรเบตง, วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมเบตง, วัดพุทธาธิวาส | |
สมญา: เมืองในหมอกและดอกไม้งาม | |
คำขวัญ: เบตงใต้สุดแดนสยาม เมืองงามน่าอยู่ คู่การลงทุน หนุนการท่องเที่ยว ประชาชนกลมเกลียว ยึดเหนี่ยววัฒนธรรม ค้ำจุนประเพณี ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า | |
พิกัด: 5°46′23″N 101°04′21″E / 5.7731°N 101.0725°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยะลา |
อำเภอ | เบตง |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ขนบ ชาวนา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 78 ตร.กม. (30 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 26,668 คน |
• ความหนาแน่น | 341.89 คน/ตร.กม. (885.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04950201 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 335 ถนนสุขยางค์ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 95110 |
เว็บไซต์ | betongcity |
เบตง (จีน: 勿洞) เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ภาคใต้ของประเทศไทย ติดกับเขตแดนประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 78 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลเบตงทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 24,688 คน เบตงเป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย[2]
เมืองเบตงมีระยะทางห่างจากนครยะลา 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 1,590 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียทางด้านรัฐเประและรัฐเกอดะฮ์ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวมาเลเซียนิยมแห่งหนึ่ง[3]
แต่เดิมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482 ตำบลเบตงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเบตง[4] โดยมีสงวน จิรจินดาเป็นนายกเทศมนตรีคนแรก[5] และต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลเบตงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองเบตง[6]
ส่วนชื่อ เบตง ในปัจจุบันนั้น เป็นคำมลายู หมายถึง "ไม้ไผ่ขนาดใหญ่" คือไม้ไผ่ตง[7]
เมืองเบตงตั้งอยู่ในหุบเขา มีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะที่ล้อมรอบด้วยภูเขา โดยมีลำคลองสำคัญไหลผ่านใจกลางเมืองเบตง คือ คลองเบตง ไหลมาจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกแล้วไปบรรจบกับแม่น้ำปัตตานี ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาจึงเทำให้พื้นที่รอบ ๆ เมืองเบตงเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดยะลาและภาคใต้ คือ แม่น้ำปัตตานี อันเป็นที่ตั้งของเขื่อนบางลาง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และยังแก้ปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองยะลา สภาพทางธรรมชาติทำให้เมืองเบตงมีหมอกตลอดปี จึงได้รับสมญานามว่า "เมืองในหมอกและดอกไม้งาม"[8]
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2547 | 24,385 | — |
2550 | 25,241 | +3.5% |
2551 | 25,480 | +0.9% |
2552 | 25,636 | +0.6% |
2561 | 26,668 | +4.0% |
อ้างอิง[1][9][10] |
ประชากรส่วนใหญ่ในเทศบาลเมืองเบตงมีหลายเชื้อชาติ ใน พ.ศ. 2551 มีประชากรทั้งหมด 25,534 คน เป็นเพศชาย 12,412 คน และเพศหญิง 13,113 คน[11] ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยพุทธ[12]
สถิติการนับถือศาสนาของประชากรในเทศบาลเมืองเบตงเมื่อ พ.ศ. 2550[14] พบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 50.8 รองลงมาคือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 47.8, ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.9 และอื่น ๆ อีก 0.5 มีศาสนสถานทั้งหมด 10 แห่ง แบ่งเป็นมัสยิดทั้งหมด 8 แห่ง วัด 1 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง[14] และการสำรวจใน พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 51.92 รองลงมาคือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 47.75, ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.32 และศาสนาซิกข์ ร้อยละ 0.02[13]
จำนวนผู้นับถือศาสนาในเทศบาลเมืองเบตง[14] | ||
---|---|---|
แบ่งตามศาสนา | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2550 |
อิสลาม | 12,701 | 12,072 |
พุทธ | 11,704 | 12,827 |
คริสต์ | 499 | 252 |
เทศบาลเมืองเบตง มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมชุมชน 27 ชุมชน[12][15]
เทศบาลเมืองเบตงมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง[16] และมีโรงเรียนในสังกัดเทศบาล 5 แห่ง[17] ได้แก่
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]