เพียร เวชบุล | |
---|---|
เกิด | เพียร ฮุนตระกูล 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 |
เสียชีวิต | 20 เมษายน พ.ศ. 2527 (85 ปี) |
แพทย์หญิง คุณหญิง เพียร เวชบุล (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 20 เมษายน พ.ศ. 2527) ถือเป็นหนึ่งในแพทย์หญิงคนแรก ๆ ของประเทศไทย[1] เป็นผู้บุกเบิกทางด้านสุขภาพสตรีในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็น "แม่พระ" เนื่องจากอุทิศตนเพื่อเด็กกำพร้า โสเภณีและรักษากามโรค เพียรก่อตั้งมูลนิธิพีระยานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือสตรี เด็ก และสตรีนอกสมรส
เพียร เวชบุล มีนามสกุลเดิมว่า ฮุนตระกูล เกิดที่ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายตรงกิจ และนางพันธ์ ฮุนตระกูล คหบดีเมืองลำปาง มีพี่ชาย 1 คน แต่เสียชีวิตแต่ยังเด็ก มารดาได้ฝากให้คุณยายเลี้ยง จนอายุ 7 ปี เข้ากรุงเทพเพื่อศึกษาต่อะดับประถมที่โรงเรียนเสาวภา และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ จากนั้นเข้าสมัครเรียนที่โรงเรียนแพทย์ยาลัย ณ ศิริราชพยาบาล แต่ไม่รับเข้าศึกษาเพราะยังไม่ปรากฏว่ามีผู้หญิงเรียนแพทย์[2] จึงเดินทางไปศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ในกรุงไซ่ง่อน เวียดนาม เป็นเวลา 1 ปี แล้วได้มาเป็นครูที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นเวลาประมาณ 2 ปี จากนั้นได้ไปศึกษาที่โรงเรียนลีเชบูมาเฟมองต์ ประเทศฝรั่งเศสโดยตามเสด็จพระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล พระชายาเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จนได้เรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงเรียนแพทย์ ได้รับปริญญาทางการแพทย์มหาวิทยาลัยปารีส M.B. University of Paris, Faculty of Medicine, M.D. Faculty of Medicine, University of Paris ใช้เวลาศึกษาที่ฝรั่งเศสนาน 15 ปี จบในปี พ.ศ. 2476
เพียรเดินทางกลับประเทศไทยปี พ.ศ. 2480 ได้รับการบรรจุเป็นแพทย์โท กรมสาธารณสุข ทำงานราชการได้เพียง 1 ปี ต่อมา พ.ศ. 2481 ก่อตั้งมูลนิธิพีระยานุเคราะห์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อช่วยเหลือสตรี เด็ก และสตรีนอกสมรส จากนั้นเป็นประธานผู้ก่อตั้งบ้านเกร็ดตระการ ดูแลให้การสงเคราะห์โสเภณี และปี พ.ศ. 2484 เป็นนายแพทย์โท แผนกกามโรค กองแพทย์สังคม กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2485–2492 เป็นหัวหน้าแผนกโรคติดต่อเรื้อรัง กองโรคติดต่อ พ.ศ. 2493–2495 เป็นหัวหน้าแพทย์โทประจำกรม (บางรัก) พ.ศ. 2496–2497 เป็นนายแพทย์โท แผนกป้องกันและบำบัดกามโรค กองกามโรค พ.ศ. 2499–2500 เป็นนายแพทย์โท รักษาการแทนผู้อำนวยการ กองควบคุมกามโรคและคุดทะราด พ.ศ. 2501–2505 เป็นนายแพทย์เอก ประจำกองควบคุมกามโรคและคุดทะราด
เพียรได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Commandeur Legion d’ Honour จากรัฐบาลฝรั่งเศส ในฐานะที่ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์สตรีและเด็กกำพร้ามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อปี พ.ศ. 2501 ได้รับรางวัล Spirit of Achievement ประจำปี 2506 จากมหาวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ แห่งเยชิวาในนครนิวยอร์ก ในฐานะที่ได้รับการเลือกให้เป็นสตรีนานาชาติที่ได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อมนุษยชาติ เพียรรับพระราชทานเหรียญตติยจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้า ฮอลลีวูดยังได้สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเธอในภาพยนตร์เรื่อง ผู้หญิงมหัศจรรย์[3]
หมอเพียรได้รับนามสกุลพระราชทานใหม่ว่า เวชบุล จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[4]
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date=
(help)