เมือง (หน่วยการปกครอง)

อำเภอศูนย์กลางการปกครองของแต่ละจังหวัดของประเทศไทย เรียกว่า อำเภอเมือง ในภาพนี้คือที่ว่าการอำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดอ่างทอง
เมืองหมางชื่อในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีชื่อภาษาไทเหนือพื้ยถิ่นว่า เมืองข้อน

เมือง (ลาว: ເມືອງ, ไทใหญ่: မိူင်း mə́ŋ, จีน: 猛 หรือ 勐; พินอิน: měng, เวียดนาม: Mường), เวียง หรือ เชียง เป็นนครรัฐกึ่งอิสระหรือชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าปกครองก่อนยุคสมัยใหม่ ที่อยู่กระจายในคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ติดกับพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและตอนใต้ของประเทศจีน เป็นพื้นที่ซึ่งปัจจุบันนี้คือประเทศไทย ประเทศลาว ตอนเหนือของประเทศพม่า บางส่วนของประเทศกัมพูชา บางส่วนของประเทศเวียดนาม ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน พื้นที่ตะวันตกของมณฑลกวางสี และแคว้นอัสสัม

เมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย[1][2][3] รูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่น ๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพมหานคร) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีน

ต่อมา ฮ่องเต้ กุบไล ข่าน เอาชนะราชอาณาจักรไบ แห่งต้าหลี่ ปี ค.ศ. 1253 เมืองใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างมากมายทั่วรัฐฉาน และพื้นที่ที่อยู่ติดกัน แม้มีการโต้แย้งโดยใช้คำอธิบายทั่วไปของเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการอพยพโยกย้าย[4]จึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อทางการจีนที่ตามมา ในการจัดเรียงลำดับชนชั้นปกครองที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น ผู้นำชนเผ่าหลักในมณฑลยูนนานได้รับการยอมรับโดยราชวงศ์หยวนให้เป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าหลวง) ของฮ่องเต้ ต่อมา ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ได้เปลี่ยนจากระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น มาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง ต่อมาในคริตศตวรรษที่ ๑๙ ราชวงศ์จักรีของไทยและผู้นำทางทหารของพม่าสำหรับเมืองขึ้นของพม่าก็ทำตามแบบนั้นบ้างในเมืองน้อย ๆ ของพวกเขา ในขณะที่อาณาจักรเล็ก ๆ หายไป แต่ชื่อสถานที่ยังคงอยู่

คำว่า "เมือง" ในแต่ละประเทศ

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]

ประเทศไทย ในภาษาไทยเรียกขานกันโดยรู้กันทั่วไปว่า เมืองไทย ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแบบเทศาภิบาล หรือเทศบาลนั้น สยามยังจัดการบริหารแบบ มณฑล อยู่ ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในปี 1916 คำว่าเมืองยังปรากฏอยู่ที่ เขตตัวเมือง ของจังหวัด คือ อำเภอเมือง ซึ่งสถานะเทศบาลเมืองก็เทียบเท่ากับ เมือง เมืองยังกล่าวถึงเขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ในสมัยอดีตคำว่าเมืองกล่าวถึง เขตภายในกำแพงเมือง[5] ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดทั้งหมด เพื่อป้องกันการสับสนการใช้คำทั้งคำว่า เมือง และ จังหวัด ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2459 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย[6] คำว่า "เมือง" ยังหมายถึงเขตแดนในระดับต่างกันได้ เช่น เมืองไทย (ประเทศ) เมืองเชียงใหม่ (จังหวัด) เมืองไชยา (อำเภอ) [5]

เมืองในชื่อดั้งเดิม

[แก้]

คำว่า เมือง ยังคงรวมเป็นอันหนึ่งกับชื่อของสถานที่ไม่กี่แห่ง ที่เด่น ๆ คือ เขต ดอนเมือง สนามบิน ดอนเมือง และในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน เช่น พัทยา เป็น เมืองพัทยา ซึ่งเป็นเขตเทศบาลปกครองพิเศษ

นคร

[แก้]

นคร หมายถึง เมืองหลวง ของราชอาณาจักร ได้รับการปรับปรุงเป็น เทศบาลนคร มักแปลว่า เป็นเทศบาลเมือง คำว่า นคร ก็เลยเป็นชื่อของสถานที่นั้นไปด้วย

บุรี

[แก้]

อำเภอสูงเนินเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสองแห่งคือเมือง สีมา และ โครักขปุระ เรียกแบบภาษาสันสกฤตคือบุรี ทั้ง ปุระ และ บุรี ในภาษาไทยหมายถึงเมืองเหมือนกัน เป็นเมืองที่มีกำแพงปัองกัน โคราฆะปุระ มีชื่อสั้น ๆ ว่า นครราช ซึ่งพวงด้วยคำว่า สีมา จึงกลายเป็น นครราชสีมา

ธานี

[แก้]

ประเทศจีน

[แก้]

ประเทศลาว

[แก้]

ประเทศลาวมีคำพูดที่ที่ใช้เรียกกันว่า เมืองลาว แต่สำหรับประชาชนคนลาว คำนี้มีความหมายกว้างมากกว่าเพียงแค่เขตการปกครอง (อำเภอ) ประโยชน์คือความน่าสนใจทางประวัติศาสตร์เป็นพิเศษสำหรับชาวลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคม การเมือง และองค์กรการบริหารที่เป็นแบบดั้งเดิมของชาวลาว และการก่อร่างสร้างรัฐเริ่มต้นของชาวลาว[7] นักว่าวิชาการเรียกว่า เป็น มัณฑะละ หรือ มณฑล มีความหมายว่า แขวง หรือ แคว้น ส่วนจังหวัดของประเทศลาวทุกวันนี้แบ่งออกตามที่แปลกันทั่วไปคือ เขตหรืออำเภอของประเทศลาว โดยเอาคำว่าเมืองขึ้นต้นและต่อด้วยชื่อของเมือง

ประเทศพม่า

[แก้]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

[แก้]
  • Mong dun shun kham mong (ปัจจุบันคือรัฐอัสสัมในอินเดียตะวันออก) ซึ่งก่อตั้งโดย เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า sukaphaa ในปี ค.ศ. 1228 เป็นอาณาจักรฮินดูได้เป็นอาณาจักรขึ้นได้ โดยศตวรรษที่ 17 ซึ่งสามารถต้านทานอำนาจของจักรวรรดิโมกุลได้

เหมือง ฝาย เป็นคำพูดที่เพิ่งเกิดใหม่ของภาษาไทยร่วมสมัย เป็นสำเนียงทั่วไปของภาษาไทยทั้งหมด ในมณฑลกวางสี เมืองกุยโจว ทางภาคใต้ของจีน คำที่ใช้อธิบายลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของวิศวกรรมชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปัง เหมือง หมายถึงคลองชลประทาน และฝาย หมายถึง เขื่อน เรียกรวมกันคือ ระบบชลประทานแรงโน้มถ่วง ที่ผันน้ำจากลำธารหรือแม่น้ำ ภาษาไทยร่วมสมัย

ความหมายดังเดิม

[แก้]

คำเมือง

[แก้]

คำเมือง คือคำพูดร่วมสมัย ของภาษาไทยภาคเหนือสมัยก่อน ซึ่งเป็นภาษาของอาณาจักรล้านนา คนไทยภาคกลางเรียกคนภาคเหนือและภาษาของภาษาเหนือว่า ไทยยวน คนภาคเหนือเรียกภาษาของตนว่า คำเมือง คำว่าคำเมืองมีความหมายว่า ภาษาของชาวเมือง ของดินแดนภาคเหนือซึ่งมีความแตกต่างของประชาชนชาวเขาหลายเผ่าตามภูมิประเทศที่เป็นภูเขาต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Terwiel, Barend Jan (1983). "Ahom and the Study of Early Thai Society" (PDF). Journal of the Siam Society. Siamese Heritage Trust. JSS Vol. 71.0 (digital): image 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ March 7, 2013. khun : ruler of a fortified town and its surrounding villages, together called a mu'ang. In older sources the prefix ph'o ("father") is sometimes used as well.
  2. Vickery, Michael (1995). "Piltdown3: Further Discussion of The Ram Khamhaeng Inscription" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 83.0j (digital): image 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ August 3, 2013. Examples of the first are söaṅ, the name of Ram Khamhaeng's mother, and möaṅ. Khun Phasit said that these terms should in fact be read as /söŋ/ and /möŋ/....
  3. Wyatt, D.K. (1991). "Chapter 11: Contextual arguments for the authenticity of the Ram Khamhaeng inscription" (PDF). ใน Chamberlain, J.R. (บ.ก.). The Ram Khamhaeng Controversy. Bangkok: The Siam Society. Quoted text is found in image 7. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13. ...Lord Sam Chon, the ruler of Müang Chot, came to attack Müang Tak....
  4. Du Yuting; Chen Lufan (1989). "Did Kublai Khan's Conquest of the Dali Kingdom Give Rise to the Mass Migration of the Thai People to the South?" (free PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 77.1c (digital). สืบค้นเมื่อ March 17, 2013.
  5. 5.0 5.1 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน คำว่าเมืองเป็นจังหวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  7. Raendchen, Jana (October 10, 2005). "The socio-political and administrative organisation of müang in the light of Lao historical manuscripts" (PDF 316 KB). ใน paper 31 (บ.ก.). The Literary Heritage of Laos: Preservation, Dissemination and Research Perspectives, Vientiane: National Library of Laos. The Literary Heritage of Laos Conference, 2005. Website content written by Harald Hundius and David Wharton, Lao translation by Oudomphone Bounyavong, edited by Harald Hundius. Staatsbibliothek zu Berlin Preußischer Kulturbesitz: Digital Library of Lao Manuscripts. pp. 401–420. สืบค้นเมื่อ September 12, 2013. The use of the word müang is of special historic interest for the Lao; in particular for their traditional socio-political and administrative organisation, and the formation of their early (power) states.