เรือลาดตระเวนเบาลาม็อต-ปีเก


เรือลาม็อต-ปีเกที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน พ.ศ. 2482
ประวัติเรือ กองทัพเรือฝรั่งเศส
ต่อที่: อู่อาร์เซนัล เดอ ลอเรียงท์ (Arsenal de Lorient) ประเทศฝรั่งเศส
วางกระดูกงูเรือ: 17 มกราคม พ.ศ. 2466
ปล่อยเรือลงน้ำ: 21 มีนาคม พ.ศ. 2467
ขึ้นระวางประจำการ: 5 มีนาคม พ.ศ. 2480
สถานภาพ: • ปลดอาวุธในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ที่ไซ่ง่อน
• ถูกจมเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2488 ที่ไซ่ง่อน
ข้อมูลจำเพาะ
ชื่อเรือ: ฝรั่งเศส: ลาม็อต-ปีเก (Lamotte Picquet)
ตั้งชื่อตาม: Toussaint-Guillaume Picquet de la Motte
ประเภท: เรือลาดตระเวนเบา
ระวางขับน้ำ: 7,249 ตัน, เต็มที่ 9,350 ตัน
ความยาว: รวม 181.3 เมตร
ความกว้าง: 17.50 เมตร
กินน้ำลึก: 6.14 เมตร, เต็มที่ 6.30 เมตร
เครื่องจักร: 4-shaft Parsons single-reduction geared turbines; 8 Guyot boilers; 102,000 shp
ความเร็วสูงสุด: 33 นอต
รัศมีทำการสูงสุด: 3,000 ไมล์ทะเล ที่ความเร็ว 15 นอต
กำลังพลประจำการ: นายทหาร 27 นาย ลูกเรือ 551 นาย
อาวุธ: • ปืนใหญ่ 155 มม. (6.1 นิ้ว) 8 กระบอก (4 × 2)
• ปืนต่อสู้อากาศยาน 75 มม. 1 กระบอก (4 × 1)
• ท่อตอร์ปิโดขนาด 550 มม. 12 ท่อ (4 × 3)
เกราะป้องกัน:: • สะพานเดินเรือ 20 มม.
• ห้องเก็บกระสุนปืน 30 มม. (4 × 1)
• ป้อมปืนและหอบังคับการเรือ 30 มม.
อากาศยานประจำการ: เครื่องบินรุ่นกูร์ดู-เลอเซอร์ (Gourdou-Leseurre) GL-812 (ภายหลังเปลี่ยนเป็นรุ่น GL-832) พร้อมแท่นปล่อย 1 แท่น

เรือลาดตระเวนเบาลาม็อต-ปีเก (ฝรั่งเศส: La Motte-Picquet) เป็นเรือลาดตระเวนเบาชั้นดูว์กวาย-ทรูแอ็ง (Duguay-Trouin class) ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พลเรือเอกเคานต์ตูแซ็ง-กีโยม ปีเก เดอ ลา ม็อต (Toussaint-Guillaume Picquet de la Motte) นายทหารเรือฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในปี พ.ศ. 2467

เรือลาม็อต-ปีเกได้จัดเป็นเรือธงในสังกัดหมวดเรือเบาที่ 3 (3rd Light Division) ประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือเมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส จนถึง พ.ศ. 2476 ต่อมาจึงได้ถูกส่งมาประจำการที่อินโดจีนฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2478 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในซีกยุโรปขึ้นใน พ.ศ. 2482 เรือลำนี้ก็ได้ใช้ออกลาดตระเวนตามชายฝั่งอินโดจีนฝรั่งเศส และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (Dutch East Indies)

ภายหลังฝรั่งเศสยอมแพ้แก่เยอรมนีแล้ว ความขัดแย้งตามแนวชายแดนสยาม-ฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงจนปะทุเป็นกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2483 เมื่อถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 เรือลาม็อต-ปีเกจึงได้ถูกจัดให้เป็นเรือธงของกองเรือเฉพาะกิจที่ 7 ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ที่อ่าวคามแรงห์ ใกล้เมืองไซ่ง่อน ภายใต้การบังคับบัญชาของนาวาเอกเรอฌี เบร็องเฌ กองเรือดังกล่าวนี้ยังประกอบด้วยเรือสลุปอีก 4 ลำ คือ เรืออามีราลชาร์เน เรือดูว์มงดูร์วีล เรือมาร์น และเรือตาอูร์ และได้ทำการรบในยุทธนาวีเกาะช้าง จนทำลายกองเรือของไทยได้ 3 ลำ แต่เรือลาม็อต-ปีเกก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน เรือลาม็อต-ปีเกเดินทางไปซ่อมบำรุงที่ไซ่ง่อน

8 เดือนให้หลังยุทธนาวีที่เกาะช้าง กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดอินโดจีนจากฝรั่งเศส ญี่ปุ่นนำเรือลาม็อต-ปีเกเดินทางไปยังโอซะกะเพื่อซ่อมบำรุงเรือ เรือลาม็อต-ปีเกก็ถูกจำกัดบทบาทลงและถูกปลดอาวุธเป็นเรือฝึกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (อยู่กับที่) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ต่อมาจึงถูกจมในไซง่อนโดยกองกำลังเฉพาะกิจที่58 ในการโจมตีทะเลจีนใต้ ของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 12 มกราคม ค.ศ.1945

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]