เสียงทุ้มแหลมผสม หรือ เสียงทุ้มแหลมรวม (อังกฤษ: combination tone, resultant tone, subjective tone[2]) เป็นปรากฏการณ์ทางเสียง-จิต ที่ได้ยินเสียงทุ้มแหลมเพิ่มขึ้นที่ไม่มีจริง พร้อมกับได้ยินเสียงทุ้มแหลมสองเสียงที่มีจริง ๆ นักไวโอลิน จูเซปเป ตาร์ตีนี (Giuseppe Tartini) ได้เครดิตว่าค้นพบปรากฏการณ์นี้ถึงจะไม่ใช่คนแรก ดังนั้น เสียงที่ไม่มีจริงนี้จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษ/ภาษาตะวันตกอีกอย่างหนึ่งว่า Tartini tones (เสียงทุ้มแหลมตาร์ตีนี)
มีเสียงทุ้มแหลมรวมสองแบบ คือ เสียงทุ้มแหลมเป็นผลบวก (sum tone) ที่สามารถหาความถี่โดยรวมความถี่ของเสียงที่มีจริง ๆ และเสียงทุ้มแหลมเป็นผลลบ (difference tone) โดยเป็นความต่างระหว่างเสียงที่มีจริง ๆ "เสียงทุ้มแหลมรวมจะได้ยินก็เมื่อเล่นเสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์ (คือเสียงทุ้มแหลมที่เกิดจากคลื่นเสียงฮาร์มอนิกธรรมดาที่ไม่มีเสียงแบบ overtones) สองระดับที่ต่างกันโดยความถี่ประมาณ 50 คาบ/นาที (เฮิรตซ์) หรือยิ่งกว่านั้น และเล่นด้วยกันให้ดังพอ"[3] เสียงทุ้มแหลมรวมยังสามารถสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมสัญญาณเสียงในวงจรที่มีความเพี้ยนแบบไม่ใช่เชิงเส้น (นอนลินเนียร์) เช่น เครื่องขยายเสียงที่ขริบยอดสัญญาณหรือกล้ำสัญญาณแบบ Ring modulation
สภาพหนึ่งที่สามารถได้ยินเสียงทุ้มแหลมแบบผลลบก็คือ เมื่อมีเสียงทุ้มแหลมสองเสียงที่มีฮาร์มอนิกค่อนข้างเต็มเซตในอัตราความถี่ใกล้ ๆ 3:2 (เป็น Perfect fifth) ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นตัวอย่างหนึ่งของปรากฏการณ์ความถี่เสียงมูลฐานที่ไม่มี (missing fundamental)[4] คือ ถ้า เป็นความถี่มูลฐาน (fundamental frequency) ที่ไม่มี ก็จะเป็นความถี่ของเสียงจริง ๆ ที่ทุ้มสุด และฮาร์มอนิกของมันก็จะเป็น เป็นต้น เพื่อให้มีอัตราความถี่ 2:3 เสียงที่แหลมกว่าก็จะมีฮาร์มอนิกที่ เป็นต้น เมื่อเล่นเสียงฮาร์มอนิกทั้งสองพร้อม ๆ กัน ก็จะได้ยินเสียงจริง ๆ ที่ความถี่ เป็นต้น แต่เราก็จะได้ยินเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีคือ ด้วย เพราะเสียงที่ความถี่อื่น ๆ ชี้ว่ามันมี
ปรากฏการณ์ที่ตาร์ตีนีได้ค้นพบนี้เป็นเรื่องทางกายภาพ คือ เสียงที่เป็นผลบวกและผลลบเชื่อว่า มีเหตุบางครั้งจากภาวะไม่ใช่เชิงเส้น (non-linearity) ของหูชั้นใน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเพี้ยนแบบ intermodulation distortion ต่อเสียงความถี่ต่าง ๆ ที่เข้าไปในหู และเกิดการรวมเสียงแบบเชิงเส้น โดยสร้างเสียงค่อนข้างเบาซึ่งมีความถี่เท่ากับผลบวกกับผลลบของเสียงเดิมที่เข้าไปในหู เสียงที่มักได้ยินจะเป็นแบบทุ้มกว่า โดยความถี่ที่ได้ยินอย่างสามัญก็คือเสียงรวมเป็นผลลบ คือ อย่างไรก็ดี นี่ก็อาจเป็นผลของปรากฏการณ์อื่น ๆ ได้เช่นกัน อนึ่ง แม้จะสามัญน้อยกว่า เสียงความถี่เหล่านี้ก็อาจได้ยินเหมือนกัน คือ
เป็นระยะเวลาหนึ่งที่เชื่อว่า หูชั้นในเท่านั้นเป็นเหตุให้เกิดเสียงเป็นผลบวกหรือลบ แต่งานทดลองได้แสดงหลักฐานว่า แม้เมื่อใช้หูฟังที่ส่งเสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์เสียงเดียวต่อหูแต่ละข้างโดยแยกจากกัน ผู้ฟังก็อาจจะอาจได้ยินเสียงเป็นผลลบ[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากลักษณะทางกายภาพแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่แปลกของหูไม่มีบทบาทในกรณีนี้ ก็เลยเชื่อว่านี่ต้องเป็นปรากฏการณ์ทางประสาทต่างหากอีกอย่างหนึ่ง
ไฮนซ์ โบห์เล็น (Heinz Bohlen) ได้พัฒนาสเกลเสียงดนตรีที่เรียกว่า Bohlen-Pierce scale[5] และ 833 cents scale โดยอาศัยเสียงทุ้มแหลมรวม
คำภาษาอังกฤษว่า resultant tone (เสียงทุ้มแหลมที่เป็นผล) ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้แล้ว[6] "จะเกิดเมื่อได้ยินเสียงดนตรีที่ดังและต่อเนื่องสองเสียงพร้อม ๆ กัน"[7]
ในเครื่องออร์แกนแบบใช้ท่อ[8] สามารถสร้างเสียงเช่นนี้ได้โดยมีท่อสองท่อ ท่อหนึ่งเล่นโน้ตดนตรีเสียงหนึ่ง และอีกท่อเล่นเสียงที่สัมพันธ์กันทางฮาร์มอนิก โดยปกติที่ 3:2 (perfect fifth) และเล่นพร้อม ๆ กัน ผลก็คือเสียงทุ้มเป็นซับฮาร์มอนิกที่มีร่วมกันระหว่างเสียงสองเสียง (ที่ 1 อ็อกเทฟต่ำกว่าเสียงแรกเมื่อเสียงที่สองมีความถี่ที่ 3:2 และที่ 2 อ็อกเทฟต่ำกว่าเมื่อเสียงที่สองมีความถี่ที่ 5:4 [major third]) ปรากฏการณ์เช่นนี้มีประโยชน์มากสำหรับสร้างเสียงโน้ตต่ำสุด ที่ค่าใช้จ่ายหรือว่าพื้นที่ที่ใช้ อาจทำให้สร้างออร์แกนแบบมีเสียงจริงในระดับนั้นไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ท่อยาว 64 ฟุตจะมีค่าใช้จ่ายมากและต้องใช้พื้นที่อย่างน้อยยาว 32 ฟุต (ทำแบบ capped) สำหรับท่อแต่ละท่อ แต่การใช้เสียงทุ้มแหลมรวมสำหรับเสียงต่ำเช่นนี้ จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพื้นที่ แม้จะฟังไม่ดีเท่ากับท่อยาว 64 ฟุตจริง ๆ
ปรากฏการณ์เช่นนี้ใช้บ่อยที่สุดสำหรับอ็อกเทฟต่ำสุดของออร์แกนเท่านั้น โดยมีผลตั้งแต่มีประสิทธิภาพดีมากจนถึงน่าผิดหวังเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยหลักก็คือความชำนาญของผู้ปรับเสียงออร์แกนและสภาพเสียงของห้องที่ติดตั้งออร์แกน
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help)