เส้นทางคมนาคมทางทะเล

เส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญของจีน ในปี พ.ศ. 2547 การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนมากกว่าร้อยละ 80 ผ่านทางช่องแคบมะละกา โดยมีไม่ถึงร้อยละ 2 ที่ผ่านทางช่องแคบลมบก คลิกเพื่อดูภาพใหญ่

เส้นทางคมนาคมทางทะเล[1] (อังกฤษ: Sea line of communication: SLOC) เป็นคำอธิบายเส้นทางเดินเรือหลักระหว่างท่าเรือ ที่ใช้เพื่อการค้า โลจิสติกส์ และกองกำลังทางเรือ[2] โดยปกติจะใช้อ้างอิงถึงการปฏิบัติการทางเรือเพื่อทำให้แน่ใจว่าเส้นทางคมนาคมทางทะเลนั้นเปิดอยู่ หรือถูกปิดกั้นอยู่ในเวลาสงคราม

ความสำคัญของเส้นทางคมนาคมทางทะเลในภูมิรัฐศาสตร์ถูกอธิบายไว้ใน ยุทธศาสตร์ของอเมริกาในการเมืองโลก (America's Strategy in World Politics) โดย นิโคลาส เจ. สปิคแมน ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2485

ในสงครามปฏิวัติอเมริกาและสงครามนโปเลียน เส้นทางคมนาคมทางทะเลส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร เมื่อสหราชอาณาจักรสูญเสียการควบคุมระหว่างการปฏิวัติ ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของยอร์กทาวและกองทัพที่ใหญ่ที่สุด กระทั่งสุดท้ายก็เกิดเป็นสงคราม ในยุคของนโบเลียนซึ่งมีการสู้รบอยู่ตลอด สหราชอาณาจักรได้คว่ำบาตรและการปิดล้อมประเทศที่เกี่ยวข้องกับนโปเลียน สร้างความลำบากในทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และเนื่องจากการถูกตัดขาดทำให้ชาวฝรั่งเศสนอกแผ่นดินแม่หมดศรัทธากับนโบเลียน

ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและเยอรมันได้ประกาศร่วมกันปิดล้อมปิดล้อม ครีคส์มารีเนอ ที่พยายามจะปิดเส้นทางคมนาคมทางทะเลจากอเมริกาเหนือไปยังหมู่เกาะบริเตนโดยใช้เรือดำน้ำ ในกรณีนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จในการเปิดช่องทางคมนาคมทางทะเลได้สำเร็จ ขณะที่ฝ่ายเยอรมันล้มเหลวในการเอาชนะการปิดกั้นเยอรมนีในยุทธนาวีของสหราชอาณาจักร กองทัพเรือสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐประสบความสำเร็จในการปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางทะเลไปสู่ญี่ปุ่น บีบให้ประเทศที่เป็นเกาะอย่างญี่ปุ่นขาดแขนทรัพยากรที่จำเป็น

ในกรณีที่สงครามเย็นปะทุความรุนแรงขึ้น ยุโรปจำเป็นจะต้องใช้กำลังเสริมจากอเมริกาเหนือ กองทัพเรือโซเวียตสามารถคุกคามและสกัดเส้นทางคมนาคมทางทะเลสายแอตแลนติกเพื่อตัดกำลังสนับสนุนจากอเมริกาเหนือและช่วยสนับสนุนการรุกรานของโซเวียตในภาคพื้นยุโรปได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2558 - 2564) (PDF). สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. p. 7.
  2. "Global commerce and sea lines of communication in the Indian Ocean: A Sri Lankan perspective". Daily FT. April 10, 2019. สืบค้นเมื่อ September 23, 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]