เหตุการณ์ 12-3 ส่วนหนึ่งของ การให้เอกราชในเอเชีย และสงครามอาณานิคมโปรตุเกส วันที่ พฤศจิกายน ค.ศ. 1966 – มกราคม ค.ศ. 1967 สถานที่ มาเก๊า วิธีการ การเดินขบวน , การนัดหยุดงาน , การคว่ำบาตร ผล รัฐบาลอาณานิคมโปรตุเกสยอมรับข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง โดยจัดให้อาณานิคมอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพฤตินัย คู่ขัดแย้ง
คณะกรรมการต่อต้านการกดขี่ข่มเหงของโปรตุเกส
หอการค้าจีนมาเก๊า
สมาพันธ์สหภาพแรงงานมาเก๊า
สมาคมสตรีมาเก๊า
คณะกรรมการประชาชนกวางตุ้ง
สนับสนุนโดย: จีน
ยุวชนแดง
ผู้นำ จำนวน
ไม่ทราบ
ทหาร 15,000 นาย เรือรบ 5 ลำ
ยุวชนแดง 15,000 นาย
ความสูญเสีย
ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต, บาดเจ็บบางส่วน
ผู้ประท้วงถูกฆ่า 8 คน, บาดเจ็บ 212 คน
ยุวชนแดง 25 นาย [ 3] [ 4]
เหตุการณ์ 12-3 (จีน : 一二·三事件 ) หรือในโปรตุเกสเรียก การจลาจล 1-2-3 (โปรตุเกส : Motim 1-2-3 ) เป็นการจลาจล ในมาเก๊า เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1966 โดยได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในประเทศจีน ชื่อเหตุการณ์ดังกล่าวมาจากวันที่เกิดเหตุ[ 5]
ในปี ค.ศ. 1966 ชาวเมืองบนเกาะไทปา พยายามขออนุญาตเปิดโรงเรียนเอกชนที่สนับสนุนโดยองค์กรฝ่ายซ้าย[ 6] ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรที่ดินจากเจ้าหน้าที่ แต่กระบวนการจัดตั้งโรงเรียนที่ล่าช้าและไม่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ชาวเมืองตั้งโรงเรียนขึ้นเองโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาต[ 7] ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน เจ้าหน้าที่สั่งระงับการก่อสร้างโรงเรียน นำไปสู่การปะทะกันระหว่างชาวเมืองกับตำรวจมาเก๊า [ 6] มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 คน[ 8]
ต่อมามีกลุ่มนักศึกษาและคนงานเดินขบวนที่ทำเนียบรัฐบาลมาเก๊า จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม ปีเดียวกัน กลุ่มยุวชนแดง เริ่มก่อการจลาจล ด้านรัฐบาลประกาศจับกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้สถานการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้น มีการทำลายสถานที่ต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์วีเซ็งตือ นีกูเลา ดือ มึชกีตา ที่จัตุรัสซือนาดู , ทำลายภาพเหมือนของอดีตผู้ว่าการที่ศาลากลางและเผาหนังสือและบันทึกของทางการ[ 9] ภายหลังมีการประกาศกฎอัยการศึก [ 10] จากเหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 212 คน[ 5]
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวจีนในมาเก๊าประกาศ "3 ไม่" เพื่อต่อต้านรัฐบาล ได้แก่ ไม่จ่ายภาษี, ไม่ให้บริการ และไม่ขายสินค้าให้ชาวโปรตุเกส[ 11] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1967 ผู้ว่าการมาเก๊าแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่สภาหอการค้าจีน[ 12] เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้อำนาจของโปรตุเกสในมาเก๊าเสื่อมลงและจีนแผ่นดินใหญ่ขึ้นมามีอำนาจแทน[ 10] อิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ทำให้กิจกรรมของพรรคก๊กมินตั๋ง บนเกาะมาเก๊าถูกสั่งห้าม[ 13]
↑ 1.0 1.1 1.2 Fernandes, Moisés Silva. “Macau in Chinese Foreign Policy during the Cultural Revolution, 1966-1968.” Portuguese Literary and Cultural Studies 17/18 (2010): 209–24.
↑ 2.0 2.1 陳堅銘. "國共在澳門的競逐── 以 [一二‧ 三事件](1966-67) 為中心." "The Competition of the Kuomintang and Communist Party of China in Macau-Focusing on the 12-3 Incident (1966-67)" 臺灣國際研究季刊 11, no. 4 (2015): 153-177.
↑ "O Jornal do Brasil". 20 December 1966.
↑ "A Notícia, O Jornal do Brasil, Le Parisien libere, Le Courrier de l'Escaust". 20 December 1966.
↑ 5.0 5.1 Macau History and Society , Zhidong Hao, Hong Kong University Press, 2011, page 215
↑ 6.0 6.1 Hong Kong's Watershed: The 1967 Riots , Gary Ka-wai Cheung, Hong Kong University Press, 2009, page 16
↑ Sovereignty at the Edge: Macau and the Question of Chineseness , Cathryn H. Clayton, Harvard University Press, 2009, page 47
↑ Selected Hsinhua News Items , Xinhua News Agency , 1966, page 144
↑ Rioters Fight Macao Police , The Evening Independent , December 3, 1966, page 14A
↑ 10.0 10.1 Portugal, China and the Macau Negotiations, 1986-1999 , Carmen Amado Mendes, Hong Kong University Press, 2013, page 34
↑ Twentieth Century Colonialism and China: Localities, the Everyday, and the World , Bryna Goodman, David Goodman
Routledge, 2012, pages 217-218
↑ Naked Tropics: Essays on Empire and Other Rogues , Kenneth Maxwell, Psychology Press, 2003, page 279
↑ "Macao Electoral, Political Parties Laws and Regulations Handbook - Strategic Information, Regulations, Procedures" . Google Books . สืบค้นเมื่อ November 10, 2017 .