ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เรือเอ็มเอส ซานดัม ในอุทยานแห่งชาติอ่าวกลาเซีย (Glacier Bay) รัฐอะลาสกา
| |
ประวัติ | |
---|---|
เนเธอร์แลนด์ | |
ชื่อ | ซานดัม |
เจ้าของ | บมจ.คาร์นิวัล (Carnival Corporation & plc) |
ผู้ให้บริการ | สายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา |
ท่าเรือจดทะเบียน | รอตเทอร์ดัม[1] |
อู่เรือ | บ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri) |
มูลค่าสร้าง | $300 ล้านเหรียญสหรัฐ[3] |
Yard number | มาร์เกรา (Marghera), 6036 |
ปล่อยเรือ | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541[1] |
เดินเรือแรก | 29 เมษายน พ.ศ. 2542 |
Christened | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดย แมรี-เคต และ แอชลีย์ โอลเซน (Mary-Kate Olsen & Ashley Olsen)[2] |
สร้างเสร็จ | 6 เมษายน พ.ศ. 2543[1] |
รหัสระบุ | |
สถานะ | กักกันโรค |
ลักษณะเฉพาะ (เมื่อแรกสร้าง) | |
ชั้น: | เรือสำราญ ชั้นรอตเทอร์ดัม (Rotterdam-class) |
ขนาด (ตัน): |
|
ความยาว: | 202 เมตร (663 ฟุต)[4] |
ความกว้าง: | 32.25 เมตร (105.8 ฟุต)[4] |
ความสูง: | 48 เมตร (157 ฟุต)[5] |
กินน้ำลึก: | 11 เมตร (36 ฟุต)[4] |
ดาดฟ้า: | 10 ชั้น |
ระบบพลังงาน: | ดีเซล-ไฟฟ้า Sulzer 12ZAV40S 8,640 กิโลวัตต์ 5 เครื่อง[5] |
ระบบขับเคลื่อน: | สองใบจักร แบบปีกปรับมุมบิดได้[4] |
ความเร็ว: | 23 นอต (43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 26 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
ความจุ: | ผู้โดยสาร 1,432 คน |
ลูกเรือ: | 615 คน |
ลักษณะเฉพาะ (หลังซ่อมบำรุง 1 มกราคม 2548) | |
ขนาด (ตัน): |
|
ความยาว: | 237 เมตร (778 ฟุต)[1] |
ความกว้าง: | 32.28 เมตร (105.9 ฟุต)[1] |
กินน้ำลึก: | 8.1 เมตร (27 ฟุต)[1] |
เอ็มเอส ซานดัม (MS Zaandam) เป็นเรือสำราญ ที่เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมือง ซานดัม (ดัตช์: Zaandam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือใกล้กับกรุงอัมสเตอร์ดัม เรือถูกต่อเป็นลำที่เจ็ดให้กับสายการเดินเรือโดยบริษัทต่อเรือ ฟินกันติเอริ ในเมืองมาร์เกรา ประเทศอิตาลีและส่งมอบในปี พ.ศ. 2543 เรือซานดัม เป็นเรือลำที่สามของเรือชั้นรอตเทอร์ดัม (Rotterdam-class) และมีเรือพี่น้องคือ เอ็มเอส โฟเลนดัม (MS Volendam), เอ็มเอส รอตเทอร์ดัม (MS Rotterdam) และเอ็มเอส อัมสเตอร์ดัม (MS Amsterdam)
จนถึงปัจจุบัน สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา มีเรือสามลำที่ได้ใช้ชื่อซานดัม โดยมีสองลำก่อนหน้าลำปัจจุบันคือ เรือกลไฟเอสเอส ซานดัม (SS Zaandam, ค.ศ. 1882–1897)[5] และเรือเอ็มวี ซานดัม (MV Zaandam, ค.ศ.1938–1942) ซึ่งถูกจมโดยตอร์ปิโดของเรือดำน้ำเยอรมันในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[6]
เอ็มเอส ซานดัม มีระวางน้ำหนักของเรือ 61,396 ตันกรอส (GT), ระวางน้ำหนักสุทธิ 31,224 ตันเน็ต (NT) และระวางบรรทุกสูงสุด 7,321 เดดเวตตัน (tons deadweight, DWT) เรือลำนี้กินน้ำลึก 8.3 เมตร (27 ฟุต 1 นิ้ว) มีความยาว 237.7 เมตร (780 ฟุต) ส่วนกว้างสุด 32.4 เมตร (106 ฟุต 5 นิ้ว)[๑][7][8] เมื่อแรกสร้างเรือมีระวางน้ำหนักของเรือ 60,906 ตันกรอส (GT) และระวางบรรทุกสูงสุด 6,150 เดดเวตตัน (DWT) มีความยาวทั้งหมด 237 เมตร (777 ฟุต 7 นิ้ว) และความยาว 202.8 เมตร (665 ฟุต 4 นิ้ว) ในแนวตั้งฉากกับคานของส่วนกว้างสุดของเรือ ซึ่งมีขนาด 32.3 เมตร (106 ฟุต)[9]
เรือขับเคลื่อนด้วยระบบดีเซล-ไฟฟ้าส่งกำลังไปยังสองเพลาขับ มีกำลัง 37,500 กิโลวัตต์ (50,300 แรงม้า)[10] สิ่งนี้ทำให้ซานดัม ทำความเร็วสูงสุดได้ 23 นอต (43 กม./ชม. หรือ 26 ไมล์ต่อชั่วโมง)[7] เรือสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,432 คนและมีลูกเรือ 607 คน[๒][7][10] ห้องโดยสาร 716 ห้องมีขนาดตั้งแต่ขนาด 10.5-104.6 ตารางเมตร (113–1,126 ตารางฟุต) ซึ่ง 197 ห้องมีระเบียง ซานดัม มีรูปแบบการตกแต่งในแนวดนตรี และประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์และของที่ระลึกจากแนวดนตรีที่หลากหลายเช่น ดัตช์ออร์แกนแบบบารอก และกีตาร์ที่มีลายเซ็นของ วงเดอะโรลลิงสโตนส์, การ์โลส ซันตานา และวงควีน[10] หนึ่งในบันไดกลางมีแซกโซโฟนที่มีลายเซ็นของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน บนส่วนที่ใช้ปากเป่า[10][11]
เรือสำราญลำนี้สร้างโดยบริษัท ฟินกันติเอริ กันติเอริ นาวาลิ อิตาเลียนา (Fincantieri Cantieri Navali Italiana SpA) ที่เมืองมาร์เกรา ประเทศอิตาลีโดยมีเลขที่อู่ 6036 วางกระดูกงูเรือในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2541, ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2543[9] ซานดัม มีพิธีตั้งชื่อเรือโดยฝาแฝด มารี-เคต และ แอชลีย์ โอลเซน (Mary-Kate และ Ashley Olsen) ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543[7] เรือจดทะเบียนในเนเธอร์แลนด์ และเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา[12]
ซานดัม ปัจจุบันแล่นผ่านบริเวณประเทศแคนาดา และเขตนิวอิงแลนด์ ในช่วงฤดูร้อน และในช่วงฤดูหนาวแล่นเรือบริเวณประเทศเม็กซิโก และรัฐฮาวาย ในเดือนธันวาคมและมกราคม ซานดัม ล่องเรือในเขตทวีปแอนตาร์กติกา และชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้[13]
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการายงานว่ามีผู้ป่วย 73 รายในเรือซานดัม เนื่องจากการระบาดของโนโรไวรัส ขณะเรืออยู่ระหว่างการเดินทางจากซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ถึงรัฐอะแลสกา[14]
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563 เอ็มเอส ซานดัม ออกจากท่าเรือเมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา แล่นมุ่งไปยังเมืองซานอันโตนิโอ ประเทศชิลี[15][16] เรือติดอยู่นอกชายฝั่งของชิลี หลังจากถูกปฏิเสธคำขอเข้าเทียบท่าเรือ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จากบนเรือ 1,829 คน (1,243 ผู้โดยสาร, 586 ลูกเรือ) มีผู้โดยสาร 13 คนและลูกเรือกว่า 100 คนป่วยด้วย "อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่"[17] ณ วันที่ 24 มีนาคมเรือแล่นไปยังท่าเรือ พอร์ตเอเวอร์เกลดส์ (Port Everglades) รัฐฟลอริดา โดยคาดว่าจะเทียบท่าในวันที่ 30 มีนาคม จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน ณ วันที่ 24 มีนาคม[18] ผู้โดยสารสี่คนเสียชีวิตระหว่างรอการขออนุญาตแล่นผ่านคลองปานามา และมีจำนวนผู้ป่วยบนเรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 148 คน สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ส่งเรือเอ็มเอส รอตเทอร์ดัม เพื่อช่วยเหลือเรือซานดัม โดยนำส่งเวชภัณฑ์, เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพิ่มเติม และชุดทดสอบโรค COVID-19 รวมทั้งมีความมุ่งหมายในการถ่ายโอนผู้โดยสารที่มีสุขภาพดีไปสู่เรือรอตเทอร์ดัม[15]
วันที่ 27 มีนาคม เรือซานดัมถูกปฏิเสธคำขอเดินเรือผ่านคลองปานามา เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่อยู่บนเรือ[19] ต่อมาในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563 ทั้งเรือซานดัม และเรือรอตเทอร์ดัมที่มาให้การช่วยเหลือ ได้รับการประสานงานโดยกระทรวงสาธารณสุขปานามา เพื่ออนุญาตให้เดินเรือผ่านคลองปานามาไปยังจุดหมายปลายทางในฟลอริดา[20] เรือรอตเทอร์ดัม ได้แล่นติดตามเรือซานดัม ผ่านคลองปานามาโดยมีจุดหมายปลายทางไปยังท่าเรือ พอร์ตเอเวอร์เกลดส์ ในเมืองฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา ผู้โดยสารจากเรือซานดัม ที่ไม่ถูกระบุว่าติดเชื้อได้ถูกย้ายไปยังเรือรอตเทอร์ดัม ในวันที่ 28 มีนาคม[21][22][23] ในเวลานั้นลูกเรือของซานดัม มีแพทย์สี่คนและพยาบาลสี่คน ขณะที่ในบัญชีรายชื่อของเรือรอตเทอร์ดัม รวมแพทย์สองคนและพยาบาลสี่คน[24]
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 จำนวนรายงานว่า "ป่วย" เพิ่มขึ้นเป็น 193 ราย[25] เรือรอตเทอร์ดัมได้อพยพผู้คนซึ่งไม่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ออกจากเรือซานดัมไปเกือบ 1,400 คน ทำให้เหลือผู้โดยสาร 450 คนและลูกเรือ 602 คนยังคงอยู่บนเรือซานดัม[26]
ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 สายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเทียบท่าเรือทั้งสองลำที่เมืองฟอร์ตลอเดอร์เดล ตามแผนที่วางไว้ ตามรายงานของแอสโซซิเอตเตทเพรส (AP), ดีน ทรานตาลิส (Dean Trantalis) นายกเทศมนตรีของเมืองกล่าวว่า "เขาไม่ต้องการให้เรือจอดเทียบท่าใกล้กับเมืองอย่างน้อยถ้าไม่มีการเฝ้าระวังที่ครอบคลุม"[27][28] ผู้ว่าการรัฐฟลอริดาก็ลังเลที่จะยอมรับให้เรือซานดัมจอดที่ฟอร์ตลอเดอร์เดล เพราะรัฐมีกรณีที่ต้องจัดการจำนวนมากในการรับมือกับโรคระบาดในช่วงนั้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ยังคงไม่มีการตัดสินใจ ประธานของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ทำคำร้องต่อสาธารณะเพื่อขอให้ยอมรับเรือเข้าเทียบท่า และแสดงความกังวลว่าท่าเรือต่าง ๆ ในหลายประเทศลังเลที่จะจัดหาอาหารและเวชภัณฑ์[29]
ในระหว่างการแถลงข่าวของผู้ว่าการรัฐฟลอริดาในวันที่ 30 มีนาคม เขากล่าวว่าทางออกที่ดีที่สุดอาจส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์ไปที่เรือ[30] ในวันที่ 1 เมษายนผู้ว่าการรัฐมีท่าทีผ่อนคลายลงโดยกล่าวว่า พลเมืองของรัฐฟลอริดาสามารถขึ้นฝั่งได้โดยเรือต้องแล่นออกจากรัฐ ผู้โดยสารและลูกเรือ 190 คนรายงานอาการ "คล้ายไข้หวัดใหญ่" และมีผลทดสอบสำหรับ COVID-19 เป็นบวก 8 ราย[31]
ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ว่า "เราต้องช่วยเหลือผู้คน" [บนเรือ] และการหารือกำลังดำเนินการเกี่ยวกับที่ แคนาดาและสหราชอาณาจักรจะ "จัดเที่ยวบินเพื่อรับพลเมืองของประเทศตนออกจากเรือ" หลังจากได้รับอนุญาตให้เทียบท่า ผู้โดยสารเก้าคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น แต่อีก 45 คนที่ป่วยจะไม่ถูกนำขึ้นฝั่ง สายการเดินเรือระบุว่าพวกเขาจะยังคงอยู่บนเรือ ได้รับการรักษาพยาบาลจนกว่าพวกเขาจะเข้าเงื่อนไข "แนวทางของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) สำหรับกรณีที่เหมาะสมที่สามารถเดินทาง" ไม่มีลูกเรือจากเรือลำนี้ หรือจากเรือรอตเทอร์ดัมขึ้นฝั่ง[32] สายการเดินเรือกำลังเตรียมการสำหรับผู้โดยสารจากประเทศอื่น ๆ เพื่อออกจากฟลอริดาผ่านสายการบินเช่าเหมาลำ[33]
รายงานเมื่อวันที่ 4 เมษายนระบุว่า "14 คนที่มีอาการป่วยวิกฤต" ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในพื้นที่ขณะที่คนอื่น ๆ จะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งเมื่อเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางของพวกเขาพร้อมแล้ว[34]