บทความนี้เป็นแขวงในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในส่วนของตำบลตลาดน้อย จังหวัดสระบุรี ดูที่: อำเภอบ้านหมอ
แขวงตลาดน้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Talat Noi |
แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ เน้นแขวงตลาดน้อย | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | สัมพันธวงศ์ |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 0.449 ตร.กม. (0.173 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 6,336 คน |
• ความหนาแน่น | 14,111.36 คน/ตร.กม. (36,548.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10100 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 101303 |
ตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า "ตั๊กลักเกี้ย" (จีน: 噠叻仔; ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "น้อย" เป็นท่าเรือและชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย[3]
ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร [3]
ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าโจวซือกง, บ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, กรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ซึ่งอาคารแห่งนี้เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 และบูรณะปรับปรุงในปี พ.ศ. 2538[4] [5] [6] [7] นอกจากนี้แล้วถนนเจริญกรุงในแถบนี้ในอดีตยังปรากฏร่องรอยรางของรถรางบนพื้นถนนอีกด้วย ก่อนจะถูกราดทับด้วยยางในปลายปี พ.ศ. 2558[8]
แขวงตลาดน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตสัมพันธวงศ์ มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
13°44′05″N 100°30′47″E / 13.734757°N 100.513063°E