แขวงทุ่งสองห้อง

แขวงทุ่งสองห้อง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Thung Song Hong
แผนที่เขตหลักสี่ เน้นแขวงทุ่งสองห้อง
แผนที่เขตหลักสี่ เน้นแขวงทุ่งสองห้อง
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตหลักสี่
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด16.886 ตร.กม. (6.520 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด71,650 คน
 • ความหนาแน่น4,243.16 คน/ตร.กม. (10,989.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10210
รหัสภูมิศาสตร์104101
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุ่งสองห้อง เป็นแขวงหนึ่งของเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

แขวงทุ่งสองห้องมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[3]

ประวัติ

[แก้]

ในระยะแรกของการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล แขวงทุ่งสองห้องมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี (ต่อมาเรียกว่าจังหวัดนนทบุรี) จากนั้นได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอปากเกร็ดซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด ในช่วงที่อยู่ในท้องที่ปกครองของจังหวัดนนทบุรีนี้ เอกสารราชการต่าง ๆ เรียกชื่อตำบลนี้แตกต่างกันสองแบบ ได้แก่ ตำบลสองห้อง[4] และ ตำบลทุ่งสองห้อง[5]

ต่อมาได้มีการขุดคลองประปาจากเชียงรากมายังสามเสนจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2456 ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปมาหาสู่ การปกครอง และการติดต่อราชการระหว่างตำบลทุ่งสองห้องกับท้องที่อื่นของอำเภอปากเกร็ดซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของคลอง ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนคร โดยโอนตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด และหมู่ที่ 1–3 (ในขณะนั้น) ของตำบลลาดโตนดจากอำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มาขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[6] จากนั้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ก็ได้โอนหมู่ที่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด, หมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าทราย อำเภอนนทบุรี และหมู่ที่ 1 และ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลลาดโตนด อำเภอนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตหวงห้ามของคลองประปาฝั่งตะวันตกมาขึ้นกับตำบลทุ่งสองห้องด้วย[7] ภายหลังตำบลลาดโตนดส่วนที่อยู่ในอำเภอบางเขนทั้งหมดได้ถูกยุบรวมเข้ากับตำบลทุ่งสองห้อง

ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางเขน (อนุสาวรีย์) ให้ครอบคลุมถึงตำบลทุ่งสองห้อง[8] จนกระทั่งในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[9] และในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 นครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้รับการจัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานคร[10] ซึ่งมีการเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองด้วย ตำบลทุ่งสองห้องจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งสองห้อง และอยู่ในเขตการปกครองของเขตบางเขน

ในเวลาต่อมาปรากฏว่าเขตบางเขนมีความเจริญเพิ่มขึ้นและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ประกอบกับท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขนและจัดตั้งเขตดอนเมืองโดยให้มีแขวงทุ่งสองห้อง แขวงสีกัน และแขวงตลาดบางเขนอยู่ในท้องที่ปกครองของเขต เพื่อประโยชน์ในการบริหารและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน[11] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตดอนเมืองยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้งเขตหลักสี่ โดยโอนแขวงทุ่งสองห้องมาขึ้นกับเขตที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ด้วย[12]

การคมนาคม

[แก้]

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  1. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
  2. สถาบันพระปกเกล้า
  3. สถาบันวิทยาการตลาดทุน
  4. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
  5. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  6. สำนักงานเขตหลักสี่
  7. วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม (ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพฯ)
  8. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  9. โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
  10. กองบัญชาการกองทัพไทย
  11. บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
  12. การประปานครหลวง
  13. กรมการกงสุล
  14. โรงเรียนราชวินิตบางเขน
  15. ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ
  16. มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566 พื้นที่ เขตหลักสี่." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1041&rcodeDesc=เขตหลักสี่ 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 42–44. 24 ธันวาคม 2540.
  4. เช่นในประกาศบอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดินในทุ่งบ้านสองห้อง อำเภอตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี
  5. เช่นในประกาศกำหนดเขตร์ตำบลแลเขตร์อำเภอบางเขน กรุงเทพฯ
  6. "ประกาศ โอนตำบลลาดโตนด อำเภอนนทบุรี และตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มาขึ้นอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49: 475–476. 26 ตุลาคม 2475.
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตต์จังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54: 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลอนุสาวรีย์ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (109): 2517–2518. 12 พฤศจิกายน 2506.
  9. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  10. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขนและตั้งเขตดอนเมืองและเขตจตุจักร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (155 ง): 17. 16 กันยายน 2532. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและตั้งเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 2–5. 18 พฤศจิกายน 2540.
  13. มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]