แขวงสี่แยกมหานาค

แขวงสี่แยกมหานาค
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Si Yaek Maha Nak
คลองผดุงกรุงเกษมในแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ฝั่งตรงข้ามคือตลาดมหานาคในพื้นที่สี่แยกมหานาค
คลองผดุงกรุงเกษมในแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ฝั่งตรงข้ามคือตลาดมหานาคในพื้นที่สี่แยกมหานาค
แผนที่เขตดุสิต เน้นแขวงสี่แยกมหานาค
แผนที่เขตดุสิต เน้นแขวงสี่แยกมหานาค
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด0.339 ตร.กม. (0.131 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด6,720 คน
 • ความหนาแน่น19,823.01 คน/ตร.กม. (51,341.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10300
รหัสภูมิศาสตร์100204
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สี่แยกมหานาค เป็นเขตการปกครองระดับแขวงหนึ่งในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีถนนพิษณุโลกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองกับแขวงสวนจิตรลดา มีชื่อเสียงเป็นย่านการค้าทางเรือที่สำคัญมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2394 เพื่อขยับขยายพระนคร

ประวัติศาสตร์

[แก้]

แขวงสี่แยกมหานาคเป็นแขวงที่ตั้งของคลองมหานาค ซึ่งเป็นคลองขุดคลองมหานาคเป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นใน พ.ศ. 2326 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามอานัมสยามยุทธ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดตัดผ่านกับคลองแสนแสบที่เพิ่งขุดขึ้น จึงมีลักษณะเหมือนสี่แยก[3] และยังมีเรื่องเล่าอีกว่าชื่อสี่แยกมหานาค มีที่มาจากการที่แม่นาคพระโขนงอาละวาดขยายตัวให้ใหญ่ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย[4]

แขวงสี่แยกมหานาค ยังเป็นที่ตั้งของตลาดมหานาค ตลาดค้าส่งผลไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเดินทางเข้าคลองมหานาค เปิดขายทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และมีความคึกคักอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน[5] นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ปารีสและแอมบาสเดอร์อีกด้วย[6]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

แขวงสี่แยกมหานาคตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตดุสิต มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1002&rcodeDesc=เขตดุสิต 2566. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม ๑]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. 2549, หน้า 233-234
  4. ทองเล็ก, พลเอกนิพัทธ์ (2018-02-13). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : แม้ความตายมิอาจพราก แม่นาคพระโขนง : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก". มติชน.
  5. "Makhanak Market". ไปไหนดีดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  6. ขอร่วมไว้อาลัยให้กับโรงภาพยนตร์ปารีส(เชิงสะพานขาว)ต่อไปนี้คงเหลือเพียงความทรงจำที่ดี

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′29″N 100°30′59″E / 13.757956°N 100.516422°E / 13.757956; 100.516422