แผนการสู่ประชาธิปไตย

แผนการสู่ประชาธิปไตยของพม่า (พม่า: ဒီမိုကရေစီလမ်းပြမြေပုံ ၇ ချက် หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ แผนการเพื่อการขัดเกลาประชาธิปไตยอันเฟื่องฟู) ได้รับการประกาศโดยนายพลขิ่น ยุ่น เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ทางสื่อของรัฐ กล่างถึงกระบวนการเจ็ดขั้นตอนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยภายในประเทศ[1] โดยได้รับอนุญาตจากสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ แก่นของแผนการดังกล่าวอธิบายถึงการประกอบขึ้นใหม่ของสภาผู้แทนราษฎร (အမျိုးသားညီလာခံ) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ การจัดการลงประชามติทั่วประเทศเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ การจัดการเลือกตั้งเพื่อเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ และสุดท้ายคือ การจัดสมัยประชุมสภา

ขั้นตอน

[แก้]

แผนการดังกล่าวได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้:[2]

  1. ขั้นแรก - การประกอบขึ้นใหม่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถูกยกเลิกไปตั้งแต่ ค.ศ. 1996
  2. ขั้นที่สอง - จัดเตรียมงานที่จำเป็นทีละขั้นตอนสำหรับการก่อตั้งระบบประชาธิปไตยเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้มีขึ้นแล้ว
  3. ขั้นที่สาม - ร่างรัฐธรรมนูญตามแนวคิดพื้นฐานและรายละเอียดหลักการที่ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร
  4. ขั้นที่สี่ - จัดการลงประชามติระดับชาติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ
  5. ขั้นที่ห้า - จัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและยุติธรรมเพื่อจัดหาผู้แทนราษฎรไปทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ฮัททอ)
  6. ขั้นที่หก - ประชุมผู้แทนราษฎรที่ได้จากการเลือกตั้งในฮัททอ
  7. ขั้นที่เจ็ด - ผู้นำ รัฐบาลและองค์กรบริหารได้รับเลือกจากฮัททอเพื่อสานต่องานในการสร้างรัฐประชาธิปไตยใหม่

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.