แย้สงขลา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Lacertilia |
วงศ์: | Agamidae |
วงศ์ย่อย: | Leiolepidinae |
สกุล: | Leiolepis |
สปีชีส์: | L. boehmei |
ชื่อทวินาม | |
Leiolepis boehmei Darevsky & Kupriyanova, 1993 | |
ช่วงการแพร่กระจายพันธุ์ แย้สงขลา[2] |
แย้สงขลา[3] (อังกฤษ: Böhme’s Butterfly Lizard; ชื่อวิทยาศาสตร์: Leiolepis boehmei) เป็นสัตว์เลี้อยคลานเฉพาะถิ่นของประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์กิ้งก่า มีถิ่นอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และไปทางใต้สุดถึงจังหวัดปัตตานี[4][5] มีลักษณะเฉพาะคือ มีเพียงเพศเมียล้วน ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของแย้สองชนิด และแย้สงขลาเป็นแย้ชนิดเดียวในประเทศไทยที่สืบพันธุ์โดยไม่ผสมพันธุ์ ลักษณะโดยทั่วไปของแย้สงขลาคือ ผิวสีน้ำตาลอ่อน ลายจุด กลางหลังมีแถบสีเหลืองอ่อน 2 แถบ และที่สีข้างอีกข้างละ 1-2 แถบ สีข้างที่แบนออกและมีสีิค่อนข้างสด
แย้สงขลา (Leiolepis boehmei) ได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2536 โดยนักสัตววิทยาชาวรัสเซียอิลยา เซอกีวิช ดาเรฟสกี (Ilya Sergeevich Darevsky) และละริสา อันดรีฟนา คูปริยาโนวา (Larisa Andreevna Kupriyanova)[3] จากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อเป็นเกียรติแก่ Wolfgang Böhme นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน[6] สกุลแย้ (Leiolepis) 4 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ แย้ใต้ (L. belliana), แย้มลายู (L. triploida), แย้อีสาน (L. rubritaeniata) และ แย้สงขลา (L. boehmei) จากทั้งหมดอย่างน้อย 9 ชนิดทั่วโลก จากข้อมูลในปัจจุบันแย้สงขลาเป็นแย้ชนิดเดียวในประเทศไทยที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นและมีการสืบพันธุ์โดยไม่ผสมพันธุ์ (asexual spicies - การสืบพันธุ์ภายในตัวเอง)[6]
จากการวิเคราะห์ mtDNA พบว่าแย้สงขลา น่าจะเป็นแย้ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Hybridization) ของ 2 สายพันธุ์ที่เป็นญาติใกล้ชิดกัน[7] คือ Leiolepis guttata (ต้วเมีย) กับ Leiolepis reevesii (ต้วผู้)[7][6] และมีไมโครโครโมโซมเพียง 11 คู่ (แย้ทั่วไปมี 12 คู่)[8] แย้สงขลาอาจสนับสนุนสมมติฐานของการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อ 10,500 ปีก่อน ที่สันนิษฐานว่าอ่าวไทยเคยมีขนาดแคบกว่าในปัจจุบัน และสันนิษฐานว่าเกาะไหหลำมีแผ่นดินเชื่อมต่อกับตอนกลางของเวียดนามเมื่อ 18,000 ปีก่อน การเชื่อมต่อของแผ่นดินเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของแย้ 2 สายพันธุ์ข้างต้นและเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์เป็น Leiolepis boehmei ซึ่งอพยพข้ามฝั่งอ่าวไทยไปถึงบริเวณที่เป็นสงขลาในปัจจุบัน และเป็น Leiolepis guentherpetersi[9] ที่พบในชายฝั่งทะเลของเวียดนามตอนกลาง ผลของการผสมข้ามสายพันธุ์เกิดเป็น 2 สายพันธุ์หลังซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับโดยเฉพาะการเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์โดยไม่ผสมพันธุ์
พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น แพร่กระจายพันธุ์ในช่วงบริเวณภาคใต้ตั้งแต่ นครศรีธรรมราช สงขลา[10] และเขตรอยต่อกับปัตตานี[4][6] อาศัยตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล[11] หรือพื้นที่ราบที่มีดินปนทราย โดยเฉพาะตามพื้นทรายที่ดอนในป่าเสม็ดใกล้ทะเล[12]
แย้สงขลา มีลำตัวแบน หางราบ สีข้างที่แบนออกและมีสีิค่อนข้างสด แต่เนื่องจากเป็นเพศเมียล้วน ทำให้ดูทึม ๆ เมื่อเทียบกับแย้ชนิดอื่น[13] ผิวสีน้ำตาลอ่อน ลายจุดสีเหลืองขอบดำ กลางหลังมีแถบสีเหลืองอ่อน 2 แถบ และที่สีข้างอีกข้างละ 1-2 แถบ ความยาวลำตัวประมาณ หางยาวกว่าลำตัวเกินกว่า 2 เท่า โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง
แย้สงขลา เป็นแย้ที่มีเพศเดียว คือ ตัวเมีย เท่านั้น (unisexual)[12][14] ทำให้ไม่มีพังผืดด้านข้างที่กางออกได้ แบบในแย้ตัวผู้ชนิดอื่น
มีช่วงการแพร่กระจายพันธุ์ที่แคบ (ประมาณ 17447 ตร.กม.) และเฉพาะถิ่น อีกทั้งจำนวนที่ลดลงจากการสูญเสียถิ่นอาศัยโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการถูกนำไปบริโภคในท้องถิ่น ทำให้ถูกจัดสถานะสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU)[4]
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ |journal=
(help)
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ |journal=
(help)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)