โกงกางเขา | |
---|---|
ดอก | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Gentianaceae |
สกุล: | Fagraea |
สปีชีส์: | F. ceilanica |
ชื่อทวินาม | |
Fagraea ceilanica Thunb. | |
ชื่อพ้อง | |
|
โกงกางเขา ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagraea ceilanica Thunb. เป็นพืชในวงศ์ดอกหรีดเขา ชื่ออื่นๆคือ ฝ่ามือผี (มหาสารคาม)คันโซ่ (อุบลราชธานี)นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ใต้)เป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ มีรากอากาศ เปลือกต้นสีเทา บาง เปลือกชั้นในสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เนื้อใบหนาและเหนียว ใบแก่หนาอุ้มน้ำ มีหูใบหนาเป็นวงแหวน ดอกช่อ เป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร ปลายแยกออกเป็น 5 พู โค้งไปด้านหลัง กลิ่นหอม เกสรตัวผู้ 5 อัน ติดกับหลอดของกลีบและสั้นกว่า ชั้นกลีบเลี้ยง แยกเป็นพูป้านๆ ติดทนจนเป็นผล ผลสด รีหรือกลม สีขาวหม่นแกมเขียว เป็นมัน เหนียว ปลายแหลม สุกเป็นสีม่วงเข้ม หรือดำ เกลี้ยง เนื้อผลนิ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดมาก ขนาดเล็ก
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ใช้โกงกางเขาเป็นพืชสมุนไพร โดยนำมารากมาต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด[1] ในเอเชียนิยมปลูกเป็นไม้จัดสวน[2]