โตโยต้า คราวน์ คอมฟอร์ท

Toyota Comfort
Crown Sedan Super Saloon
Toyota Comfort
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตKanto Auto Works[1]
เรียกอีกชื่อToyota Crown Comfort
เริ่มผลิตเมื่อ1995–2017
แหล่งผลิตJapan: Susono, Shizuoka (Higashi Fuji plant)[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทCompact car
รูปแบบตัวถัง4-door notchback sedan
โครงสร้างFR layout
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า คราวน์
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
มิติ
ระยะฐานล้อ
  • 2,680 mm (106 in)
  • 2,785 mm (109.6 in) (LWB)
ความยาว
  • 4,590 mm (181 in)
  • 4,695 mm (184.8 in) (LWB)
ความกว้าง1,695 mm (66.7 in)
ความสูง1,525 mm (60.0 in)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปโตโยต้า เจพีเอ็น แท็กซี่


คอมฟอร์ท (COMFORT) คือ รถยนต์เชิงพาณิชย์แบบซีดานที่ผลิตโดยบริษัทโตโยต้า และเป็นรถยนต์แบบแวกอนเชิงพาณิชย์ที่วางจำหน่ายในตลาดฮ่องกง

รุ่นแรกถูกพัฒนาเพื่อใช้เป็นรถแท็กซี่และรถสอนขับรถ ส่วนรุ่นที่สองได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นรถแท็กซี่โดยเฉพาะ

การผลิตรุ่นแรก และรุ่นที่สอง (จนถึงธันวาคม ปี 2020) ดำเนินการโดยโรงงานฮิงาชิฟูจิของ Toyota Motor East Japan (เดิมคือโรงงานฮิงาชิฟูจิของ Kanto Auto Works) ที่เมืองสุโซโนะ จังหวัดชิซูโอกะ และตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2021 การผลิตได้ย้ายไปยังโรงงานโอฮิระ จังหวัดมิยางิ (เดิมคือโรงงานมิยางิของ Central Motor)

รถรุ่นนี้มักชอบถูกเข้าใจผิดว่าเป็นรุ่นเดียวกันกับ Toyota Crown Sedan S150 เนื่องจากมีหน้าตาคล้ายคลึงกันแถมมีชื่อรุ่นย่อยทางการตลาดที่ทับซ้อนกัน แต่ความจริงแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน เป็นการยืมดีไซน์ส่วนหน้ารถมาใช้เท่านั้น และงานดีไซน์ในส่วน interior ของ Toyota Crown Comfort มีการผสมผสานกันระหว่าง interior ของ Toyota Crown S130 และ S150 รวมกัน

iconic ในสายตานักท่องเที่ยวทั่วโลกนอกจากจะเป็นรถแท็กซี่ประจำชาติญี่ปุ่นแล้ว อ๊อปชั่นของรถอย่าง "ประตูอัตโนมัติ" ที่ฝั่งผู้โดยสารหลังซ้ายก็ยังเป็นที่จดจำของผู้คนที่มาเยือนญี่ปุ่นอีกด้วย อ๊อปชั่นนี้มีทั้งจากโตโยต้าเองโดยตรงและจากผู้ผลิตภายนอก กลไกการทำงานนั้นเป็นแบบแมนนวลโดยผู้ขับหรือโชเฟอร์จะเป็นคนคอยดึงคันโยกเพื่อเปิดประตูหลังจากที่นั่งคนขับให้แก่ลูกค้าอย่างแนบเนียน จนมักเกิดความเข้าใจผิดเป็นวงกว้างว่าเป็น "ประตูอัตโนมัติแบบไฟฟ้า"

รุ่นที่ 1 รหัส XS10 (1995–2018)

[แก้]

ภาพรวม

[แก้]

เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1995 โดยเป็นรถแท็กซี่ขนาดเล็กที่พัฒนาโดยแบรนด์โตโยต้าเอง พร้อมเปิดตัวรุ่นพี่คือ Crown Comfort ซึ่งมีระยะฐานล้อยาวกว่าคอมฟอร์ท 105 มม. เพื่อให้เข้ากับมาตรฐานของรถแท็กซี่ขนาดกลาง

หลังจากที่คู่แข่งอย่าง Nissan Crew ยุติการผลิตในเดือนมิถุนายน ปี 2009 ทำให้คอมฟอร์ทกลายเป็นรถแท็กซี่ขนาดเล็กเพียงรุ่นเดียวจากผู้ผลิตญี่ปุ่น และหลังจาก Nissan Cedric รุ่นรถเพื่อการพาณิชย์เลิกผลิตในเดือนกันยายน ปี 2014 (หยุดขายในพฤศจิกายนปีเดียวกัน) คอมฟอร์ทและรุ่นพี่ก็เป็นเพียงแท็กซี่แบบซีดานที่ยังมีจำหน่ายจนถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2017

ตัวถังพัฒนามาจาก Mark II รุ่น X80 และช่วงล่างใช้แบบเดียวกับรุ่นล่างของ Mark II คือ ด้านหน้าแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังแบบคานแข็ง

รหัสตัวถัง XS11(Y)/TSS11(Y) ใช้เครื่องยนต์ 3Y-PE, 4S-FE, 2L-TE, และ 1TR-FPE ส่วนหลังปรับโฉมเป็น XS13Y/TSS13Y ใช้เครื่องยนต์ 3S-FE และ 1TR-FE โดยไม่เหมือน Crown Comfort ที่มีเครื่องยนต์แถวเรียง 6 สูบ (1G series) ให้เลือก

รุ่นสอนขับจะมี “Y” ต่อท้ายรหัสรุ่น ตัวรถใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ออกแบบพื้นที่ห้องโดยสารหลังและห้องสัมภาระให้กว้าง พร้อมเว้นพื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์แท็กซี่ เช่น วิทยุ และมิเตอร์โดยสาร

นับเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่โตโยต้าผลิตรถสำหรับแท็กซี่ตั้งแต่ต้น หลังจากรุ่น Toyopet Master ในปี 1955

ต่างจาก Nissan Crew ตรงที่ B-pillar มีตำแหน่งสมมาตร (ประตูซ้ายขวาเท่ากัน)

กันชนหน้า-หลังเป็นแบบสองชิ้น แยกส่วนบนล่าง เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมแซม

แม้จะพัฒนาเป็นแท็กซี่ แต่ลูกค้าทั่วไปสามารถซื้อรถรุ่นนี้จากดีลเลอร์ได้ ทั้งรุ่นเบนซินและ LPG รวมถึงรุ่นสอนขับ

แม้จะผลิตมานานกว่า 20 ปี แต่สุดท้ายต้องยุติการผลิตเนื่องจากไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยการปกป้องคนเดินถนนที่เข้มงวดขึ้นในปี 2018

ระบบส่งกำลัง

[แก้]

มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ทั้งในรุ่นแท็กซี่และรุ่นสอนขับ โดยรุ่นที่มีเครื่องยนต์เบนซินจับคู่กับเกียร์ธรรมดานั้นมีเฉพาะในรุ่นสอนขับเท่านั้น

ระดับรุ่น

[แก้]

รุ่นแท็กซี่มี 4 เกรด:

  • Standard
  • Standard Deluxe Package
  • SG
  • SG Extra Package (เลิกผลิตปี 2001 รวมกับ SG)

รุ่นสอนขับมีเพียง Deluxe

อุปกรณ์ภายในรถ

[แก้]

แม้ว่า Comfort จะใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกับ Toyota Mark II รุ่น X80 แต่ตัวถังของรถได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดเพื่อเพิ่มพื้นที่ภายใน โดยเน้นความสะดวกสบายของผู้โดยสารตอนหลังเป็นหลัง เพื่อประหยัดต้นทุนและลดน้ำหนักที่ไม่จำเป็น รวมถึงรองรับการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับรถแท็กซี่ ชิ้นส่วนภายในที่หรูหราของ Mark II จึงถูกแทนที่ด้วยแผงคอนโซลดัดแปลงจาก Crown Sedan S130 รุ่นพื้นฐาน และวัสดุภายในที่เป็นพลาสติกทั้งหมดแบบเรียบง่ายและไม่เทอะทะ

รุ่น Crown Sedan ที่พัฒนาบนพื้นฐานของ Comfort ได้รับการปรับโฉมด้วยกันชนตกแต่งด้วยโครเมียม, คิ้วข้างตัวรถแบบสีเดียวกับตัวถัง, ไฟท้ายดีไซน์ใหม่, และแผงฝากระโปรงหลังพร้อมชุดไฟเพิ่มเติม รวมถึงกรอบป้ายทะเบียนแบบโครเมียม ภายในก็มีการอัปเดตเช่นกัน ด้วยแผงหน้าปัดที่ดูหรูหรายิ่งขึ้น และองค์ประกอบบางส่วนยกมาจาก Crown Sedan รุ่น S150 นอกจากนี้ ยังใช้พวงมาลัยเดียวกับ Toyota Camry XV30

ในรุ่นแท็กซี่จะติดตั้ง กระจกมองข้างที่แก้ม (fender mirrors) ในขณะที่รุ่นส่วนบุคคลและรถฝึกขับจะใช้กระจกมองข้างที่ติดบนประตู (door mirrors) Comfort รุ่นแรกๆ ที่ต่ำกว่ารุ่น SG จะมาพร้อม กระจกมือหมุนทั้ง 4 บาน โดยจะมีตัวเลือกเสริมเป็นกระจกไฟฟ้าเฉพาะคู่หน้า และเริ่มกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในต้นปี 1997 ในปี 2007 Toyota เพิ่มตัวเลือกเป็น กระจกไฟฟ้าทั้ง 4 บาน สำหรับบางรุ่น

กันชนหน้าได้รับการออกแบบให้สามารถถอดแยกเป็นสองส่วนได้ และไฟส่องสว่างสามารถถอดออกได้อย่างง่ายดายในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เพื่อความสะดวกในการซ่อมแซม


รุ่น Welcab (สำหรับผู้โดยสารพิเศษ)

[แก้]

Toyota มีเวอร์ชัน Welcab สำหรับ Comfort รุ่นแท็กซี่ โดยติดตั้งเบาะผู้โดยสารตอนหลังแบบหมุนได้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวสามารถขึ้นและลงรถได้สะดวกขึ้น รถเหล่านี้สามารถระบุได้จาก สัญลักษณ์ผู้พิการสากล (International Symbol of Access) ที่ประตูด้านนั้น ๆ

Crown Comfort รุ่นหลังคา swing roof


Comfort และ Crown Sedan ที่ใช้ในงานแต่งแบบชินโตยังสามารถเลือกติดตั้ง "หลังคาสวิง" ได้ ซึ่งเป็นแผ่นหลังคาบานพับเหนือประตูผู้โดยสารตอนหลังที่เปิดขึ้นด้านบน เพื่อให้เจ้าสาวสามารถขึ้นรถได้โดยไม่ติดวิกและเครื่องประดับศีรษะ

การอัปเกรดด้านความปลอดภัยและระบบไฟ

[แก้]

ในปี 2002 Comfort ทุกรุ่นได้รับการติดตั้ง ระบบ ABS และถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ปี 2004 มีการเปลี่ยนไฟเบรกดวงที่ 3 เป็น หลอด LED แทนหลอดไส้แบบเดิม และเพิ่มไฟเลี้ยวด้านข้าง (แบบเดียวกับที่ใช้ใน Toyota bB รุ่น XP30) ที่บริเวณซุ้มล้อหน้า

ในเดือนสิงหาคม 2007 Crown Comfort รุ่นตลาดฮ่องกง ได้รับการปรับโฉมโดยใช้กันชนตกแต่งโครเมียม, ไฟท้าย และฝาท้ายแบบเดียวกับ Crown Sedan รุ่นตลาดญี่ปุ่น

ช่วงปลายปี 2007 มีการอัปเดตระบบไอเสียของ Comfort ให้ผ่านมาตรฐานมลพิษที่เข้มงวดมากขึ้นตามที่ Toyota กำหนด และมีการเพิ่มการใช้ไฟ LED สำหรับไฟส่องสว่างภายในมากขึ้น พนักพิงศีรษะขนาดใหญ่ เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่รุ่น SG และ Crown Sedan ราวปี 2001 และทยอยใช้งานในรุ่น Standard และ Deluxe (แท็กซี่) จนถึงปี 2012

ทุกรุ่นในเวลาต่อมา ได้รับ ถุงลมนิรภัยฝั่งผู้โดยสารและระบบ Start-Stop เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน โดยระบบ Start-Stop มีเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น

รถฝึกขับ (Driver’s Education Spec)

[แก้]

Comfort รุ่นฝึกขับมีเฉพาะในเกรด Deluxe เท่านั้น และติดตั้ง แป้นเบรกฝั่งผู้โดยสาร สำหรับครูผู้สอน อีกทั้งยังมีตัวเลือก ลบรหัสวิทยุ (radio delete) สำหรับรุ่นนี้

Comfort ที่ผลิตระหว่างปี 1995–1997 ส่วนมาก (หรืออาจจะทั้งหมด) มาพร้อม มาตรวัดความเร็วเสริมแบบดิจิทัลตรงคอนโซลกลาง เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ในปี 1996 มีการเพิ่มตัวเลือก ไฟเตือนเบรก ตรงคอนโซลกลาง รถที่ผลิตในปี 1997 จะย้ายไฟเตือนนี้ไปที่ฝั่งผู้โดยสารบนแดชบอร์ด และเพิ่มไฟแสดงสถานะแป้นคลัตช์และคันเร่งด้วย

รถที่ผลิตหลังปี 1998 เป็นต้นไป มีการย้ายไฟเตือนทั้งหมดมาอยู่ที่ แผงคอนโซลกลางดีไซน์ใหม่


ไทม์ไลน์ตามปี

[แก้]
  • ธ.ค. 1995: เปิดตัวรุ่นแท็กซี่ ใช้เครื่องยนต์ 3Y-PE (LPG 2.0L) และ 2L-TE (ดีเซลเทอร์โบ 2.4L)
  • เม.ย. 1996: เปิดตัวรุ่นสอนขับ เพิ่ม 4S-FE (เบนซิน 1.8L)
  • ม.ค. 1997: ปรับโฉม เปลี่ยนพวงมาลัยสำหรับรุ่นมีแอร์แบ็ก และเพิ่ม SG Extra Package
  • ม.ค. 1999: ผ่านมาตรฐานไอเสียปี 1998 ยกเว้นรุ่นดีเซล SG มีล้อเหล็ก 15 นิ้วเป็นออปชั่น
  • ส.ค. 1999: ยุติการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล 2L-TE
  • ม.ค. 2000: เริ่มใช้โครงสร้างตัวถัง GOA เพิ่มออปชั่น Good Care Selection เปลี่ยนพวงมาลัยใหม่
  • ส.ค. 2001: รุ่นสอนขับเปลี่ยนเครื่องเป็น 3S-FE (เบนซิน 2.0L) ได้รับการรับรองรถปล่อยมลพิษต่ำ อุปกรณ์มาตรฐานเพิ่มแอร์, โอโดมิเตอร์เป็น LCD, กระจกข้างเปลี่ยนรูปทรง
  • ต.ค. 2002: เพิ่ม ABS และถุงลมคนขับเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
  • มิ.ย.–พ.ย. 2003: ผลิตรุ่นพิเศษ GT-Z ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ แบบจำนวนจำกัด
  • มิ.ย. 2004: LPG ผ่านมาตรฐานปี 2005 เพิ่มสัญญาณไฟเลี้ยวข้าง (จากรุ่น bB), ไฟเบรก LED, กระจกกัน UV เปลี่ยนไฟตัดหมอกจากสีเหลืองเป็นแบบใส
  • ต.ค. 2007: รุ่นสอนขับเปลี่ยนเครื่องเป็น 1TR-FE ได้รับรอง U-LEV
  • ส.ค. 2008: เปลี่ยนเครื่อง LPG เป็นแบบฉีดของเหลว (1TR-FPE) แทนแบบผสมอากาศ (3Y-PE) ปรับปรุงประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนล้อเป็น 15 นิ้วทุกเกรด ระบบเกียร์ AT เปลี่ยนเป็นแบบควบคุมด้วยไฟฟ้า
  • พ.ย. 2010: เพิ่มระบบทำความเย็นสำหรับเชื้อเพลิง LPG ลดแรงม้าเครื่อง 1TR-FPE จาก 116 เป็น 113 PS เปลี่ยนที่จุดบุหรี่เป็นปลั๊กไฟ เปลี่ยนการทำสีเสากลางเป็นแบบเทป
  • ก.ค. 2012: เพิ่มระบบ Plasmacluster, เข็มขัดนิรภัย 3 จุดตรงกลางเบาะหลัง, จุดยึดเบาะเด็ก ISOFIX, พนักพิงศีรษะใหญ่ขึ้น
  • ต.ค. 2013: เพิ่มระบบ VSC&TRC เป็นมาตรฐาน ปรับมาตรวัดให้ปรับความสว่างได้ รุ่น Standard มีวัดรอบเครื่อง เพิ่มเสียงเตือนลืมกุญแจจาก "เสียงเพลง" เป็น "เสียงบี๊บ"
  • พ.ค. 2017: ยุติรับออเดอร์และหยุดแสดงข้อมูลในเว็บไซต์ ยังคงผลิตตามคำสั่งและสต็อกที่มีอยู่จนถึงมกราคม 2018 รุ่นแท็กซี่ซีดานขนาดเล็กของโตโยต้า (รวมทั้ง Crown Comfort และ Crown Sedan) ยุติการจำหน่ายโดยสมบูรณ์

ข้อมูลเสริม

[แก้]
  • รุ่นที่มาทดแทนคือ Japan Taxi (เปิดตัวต.ค. 2017) สำหรับแท็กซี่ และ Toyota 教習車 รถฝึกขับ รุ่นที่ใช้พื้นฐานจาก Corolla Axio รุ่นที่สอง (เปิดตัว ก.พ. 2018) สำหรับรถสอนขับ

Comfort GT-Z Supercharger

[แก้]
GT-Z Supercharger


Comfort GT-Z Supercharger เป็นรถคอมพลีทคาร์ที่ผลิตโดย Toyota Technocraft โดยมีพื้นฐานมาจาก Comfort รุ่นฝึกขับ (ขนาด 2,000cc เบนซิน - รหัส SXS13Y) รถต้นแบบคันแรกถูกสร้างขึ้นในปี 2002 และรถที่วางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์จำนวน 59 คันถูกผลิตขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2003 ถึงกุมภาพันธ์ 2004

รถรุ่นนี้ได้รับ รางวัลยอดเยี่ยมในหมวดรถแต่ง ในงาน Tokyo Auto Salon ปี 2003 และเริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อในวันที่ 24 มิถุนายน จนถึง 17 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ผ่านทางโชว์รูมของ Toyopet ในพื้นที่โตเกียว ชิบะ ไซตามะ และคานากาวะ โดยมีราคาจำหน่ายอยู่ระหว่าง 2,270,000 – 2,918,000 เยน

เครื่องยนต์และสมรรถนะ

[แก้]

พื้นฐานของรถรุ่นนี้คือ เครื่องยนต์ 3S-FE แบบ 4 สูบเรียง DOHC (High Mecha Twin Cam) ซึ่งได้ถูกจับคู่กับ ซูเปอร์ชาร์จเจอร์แบบ Roots (รุ่น TX07) ผลิตโดย Ogura Clutch และใช้น้ำมันเบนซินพรีเมียม ส่งผลให้ได้แรงดันอัด 0.3kgf/cm² กำลังสูงสุด 118kW (160PS) ที่ 6,100rpm และแรงบิด 221Nm (22.5kgm) ที่ 3,300rpm

เมื่อเทียบกับรุ่นปกติที่มีกำลัง 96kW (130PS) ที่ 5,600rpm และแรงบิด 181Nm (18.5kgm) ที่ 4,400rpm ถือว่าเพิ่มขึ้นถึง 26%

เมื่อเปรียบเทียบกับ Altezza RS (SXE10) ที่ใช้เครื่องยนต์ 3S-GE วางแนวยาว (มีกำลัง 210PS/7,600rpm และแรงบิด 22.0kgm/6,400rpm ตามข้อมูลจากแคตตาล็อก) จะเห็นว่า GT-Z มีช่วงแรงบิดที่กว้างกว่าในรอบต่ำ พร้อมการจูนเพื่อความง่ายในการควบคุมและพละกำลังที่มากขึ้นบนพื้นฐานของแชสซีมาตรฐานที่มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องยนต์

  • น้ำหนักรถ: 1,300kg (น้ำหนักรวม: 1,575kg)
  • อัตราส่วนพละกำลังต่อน้ำหนัก: 8.13 (9.84) kg/PS
  • ความเร็วสูงสุด (บนสนามแข่งโดยไม่มีลิมิทสปีด): 204km/h

อุปกรณ์เฉพาะและดีไซน์

[แก้]

ติดตั้งอุปกรณ์เฉพาะต่าง ๆ เช่น:

  • ผ้าเบรกหน้า และรองเบรกหลังเฉพาะรุ่น
  • สปอยเลอร์หน้าพิเศษ
  • สปอยเลอร์หลังทำจาก FRP แบบ urethane look พร้อมตกแต่งดำด้าน
  • ท่อไอเสียเฉพาะรุ่น
  • ล้อแม็ก 8 ก้านจาก RS Watanabe
  • ยาง Bridgestone POTENZA GIII (หน้า: 205/60R15, หลัง: 215/60R15)

ตัวรถถูกออกแบบโดย ตัดโครเมียมทั้งหมดออก และติด โลโก้พิเศษที่ฝาท้ายด้านซ้าย ทำให้ได้อารมณ์สปอร์ตซีดานยุค 80 อย่างชัดเจน ความสูงของรถลดลงจากมาตรฐาน 30mm โดยยังคงคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานประจำวัน


ออปชั่นเสริมจากโรงงาน

[แก้]

สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น:

  • ชุดวัดไฟฟ้า 3 ช่อง (แรงดันซูเปอร์ชาร์จ, ความดันน้ำมัน, อุณหภูมิน้ำมัน) จาก Omori Meter
  • คลัตช์เสริมจาก TRD
  • LSD จาก TRD หรือ Zexel
  • เบาะกึ่งบัคเก็ตซีทสำหรับผู้ขับจาก TRD
  • พวงมาลัยและหัวเกียร์พร้อมถุงลมนิรภัยจาก TRD

เนื่องจากตำแหน่งของสวิตช์ไฟฉุกเฉิน (Hazard) ถูกแทนที่ด้วยเกจวัด 3 ช่อง จึงถูกย้ายไปที่ปลายก้านไฟเลี้ยว แบบเดียวกับรุ่นแท็กซี่

รุ่น D1 (D1 Spec)

[แก้]

ในปี 2004 สำนักแต่ง OKUYAMA ได้นำรถฝึกขับ Comfort รุ่น 1800 (SXS11Y) มือสอง 3 คันที่ Toyota Technocraft จัดหามา มาดัดแปลง โดยใช้ 2 คันสำหรับสร้าง และอีก 1 คันเป็นอะไหล่สำรอง เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น 3S-GTE พร้อมชุดแอร์โรพาร์ทจาก Do-Luck และติดตั้งประตูแบบ Gullwing กลายเป็น Comfort เวอร์ชันดริฟต์ที่ใช้ในงานโชว์ต่าง ๆ


หลังจากนั้น รถคันนี้ถูกจอดทิ้งไว้โดยไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน D1 Grand Prix จนกระทั่งปี 2006 ได้ถูกดัดแปลงครั้งใหญ่โดย OKUYAMA อีกครั้งเพื่อเป็นรถหมายเลข 2 ของทีม APP Racing สำหรับลงแข่งในรายการ D1 Grand Prix ประจำปี

ในการปรับปรุงเพื่อเข้าแข่งขัน ได้ติดตั้งโป่งล้อ (Overfender) และถอดประตู Gullwing ออกตามกฎข้อบังคับ ในการแข่งขันสนามที่ 3 ณ ฟูจิสปีดเวย์ ปีเดียวกัน สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 16 คนสุดท้ายในการดวลไล่ตาม (Tanso) ได้สำเร็จ

รุ่นที่ 2 รหัส NTP10R (2018–ปัจจุบัน)

[แก้]
Toyota JPN Taxi (NTP10)
Toyota JPN TAXI
Hong Kong spec
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตToyota
เรียกอีกชื่อToyota Comfort Hybrid (Hong Kong)
Toyota Thai Taxi (Thailand)
เริ่มผลิตเมื่อOctober 2017 – present
แหล่งผลิตJapan: Susono, Shizuoka (Toyota Motor East Japan); Ōhira, Miyagi (Toyota Motor East Japan)
ผู้ออกแบบHiroshi Kayukawa
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทTaxi
รูปแบบตัวถัง5-door MPV
โครงสร้างFront-engine, front-wheel-drive
แพลตฟอร์มToyota B platform
รุ่นที่คล้ายกันToyota Sienta Hybrid (XP170)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.5 L 1NZ-FXP I4
มอเตอร์ไฟฟ้า45 kW (61 PS) 2LM AC synchronous
ระบบเกียร์1-speed planetary gear
ระบบขับเคลื่อนรถไฮบริดFull hybrid (THS II)
แบตเตอรี่Nickel–metal hydride
มิติ
ระยะฐานล้อ2,750 mm (108.3 in)
ความยาว4,400 mm (173.2 in)
ความกว้าง1,695 mm (66.7 in)
ความสูง1,750 mm (68.9 in)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าToyota Comfort/Toyota Crown Sedan

→ ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ [Toyota Japan Taxi]

ชื่อ “Comfort” ยังคงถูกใช้ต่อในรถที่จำหน่ายในฮ่องกงและมาเก๊า โดยเป็นรุ่นที่ปรับมาจาก Toyota Japan Taxi สำหรับตลาดญี่ปุ่น

ในด้านภายนอก ตัวรถใช้พื้นฐานจาก เกรด “和(นากามิ)” ซึ่งเป็นเกรดมาตรฐานของ Japan Taxi ส่วนภายในห้องโดยสารมีการตกแต่งใกล้เคียงกับ เกรด “匠(ทาคุมิ)” ซึ่งเป็นเกรดระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีจุดที่แตกต่างจาก Japan Taxi หลายประการ ได้แก่:

  • ตรา "JPN TAXI" ถูกเปลี่ยนเป็นตรา “COMFORT”
  • พวงมาลัยไม่มีการตกแต่งด้วยสีเงิน
  • มือจับเปิดประตูภายนอก/ภายใน, กระจกมองข้างที่ซุ้มล้อ (fender mirrors), และแถบตกแต่งประตูท้าย เป็นแบบชุบโครเมียม
  • ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ซึ่งในรุ่น “匠” เป็นออปชัน กลับกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น Comfort
  • ไฟหน้า Bi-BEAM LED ไม่มีให้เลือก แม้แต่เป็นออปชันก็ตาม

นอกจากนี้ กระจกมองข้างแบบติดแก้มหน้า (fender mirrors) ที่เป็นเอกลักษณ์ของแท็กซี่ญี่ปุ่น ก็ยังคงใช้งานอยู่ใน Comfort รุ่นที่สองนี้เหมือนกับ Japan Taxi

ณ เดือนมีนาคม ปี 2024 เป็นต้นมา ชื่อรุ่นของรถถูกเปลี่ยนเป็น “TAXI” อย่างเป็นทางการ และไม่มีการใช้ชื่อ “Comfort” อีกต่อไป


สำหรับในประเทศไทย

เมื่อเดือนมีนาคม 2023 Toyota Motor ประเทศไทย ได้นำรถยนต์ JPN TAXI มาปรับเปลี่ยนสีตัวถังภายนอกเป็นสี เขียว-เหลือง และประกาศว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนศึกษาความเป็นไปได้ของการประกอบ Toyota LPG-HEV Taxi หรือ Toyota THAI TAXI ณ โรงงานในประเทศไทย[4]

Toyota JPN Taxi Takumi LPG HEV Taxi Concept (THAI Taxi)
  1. http://www.kanto-aw.co.jp/en/products/automotiver/
  2. "Affiliates (Toyota wholly-owned subsidiaries)-Toyota Motor East Japan, Inc". Toyota. 2012. สืบค้นเมื่อ 2014-07-15.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Partial engine assembly for Toyota CROWN COMFORT LXS10 1996...1999". MegaZip online shop. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2017-08-25.
  4. "ภาพคันจริง Toyota THAI Taxi ขุมพลัง Hybrid + Hydrogen และรถพลังงานทางเลือกเชิงพาณิชย์หลากหลายรุ่น". HeadLight Magazine. 2023-03-18. สืบค้นเมื่อ 2025-04-14.