บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | โตโยต้า |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2534–2561 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ |
รูปแบบตัวถัง | รถเก๋ง 4 ประตู |
รุ่นที่คล้ายกัน | โตโยต้า คราวน์ โตโยต้า อริสโต โตโยต้า เซ็นทูรี |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | โตโยต้า คราวน์ โรยัล ซาลูน จี (พ.ศ. 2532) |
รุ่นต่อไป | โตโยต้า คราวน์ G-Executive (พ.ศ. 2561) |
โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา (อังกฤษ: Toyota Crown Majesta) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size Luxury Car) และเป็นรถธง (รถรุ่นที่ได้ชื่อว่าดีที่สุด มีชื่อเสียงเกียรติยศมากที่สุด) ของโตโยต้า
เดิมทีนั้น คราวน์ มาเจสตา เป็นส่วนหนึ่งของโตโยต้า คราวน์ โดยเป็นรถเกรดสูงที่สุดของคราวน์ คือ Toyota Crown Saloon G ต่อมา โตโยต้าจึงได้แยก Saloon G ออกมาเป็นรถรุ่นใหม่ของโตโยต้า คือ โตโยต้า คราวน์ มาเจสตา โดยใช้ชื่อที่ใกล้เคียงกับของเดิม เพื่อให้รู้ว่า "แตกหน่อ" ออกมาจากคราวน์ แต่คราวน์ มาเจสตา มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากคราวน์อย่าง(เกือบจะ)สิ้นเชิง ในการตกแต่งภายในของรถ แต่รูปลักษณ์ภายนอกของรถนั้นดูคล้ายคลึงกัน
ปัจจุบัน คราวน์ มาเจสตา ได้รับการพัฒนาความหรูหราและความล้ำยุคเข้าไปเต็มพิกัด จนสามารถเปรียบเทียบได้กับ บีเอ็มดับเบิลยู 7 ซีรีส์, เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส และรถระดับมหาเจ้าสัวอื่นๆ อีกหลายรุ่น และเป็นรุ่นที่มีราคาสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโตโยต้า รองจาก โตโยต้า เซนจูรี ซึ่งเป็นรถหรูระดับประมุขแห่งรัฐ
รุ่นแรก หลังจากแยกตัวออกมา คราวน์ มาเจสตา มีตัวถังที่กว้างกว่า และสูงกว่า มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ คือ 2JZ-GE 3,000ซีซี 6สูบ 229แรงม้า กับเครื่อง 1UZ-FE 4,000ซีซี 8สูบ 260แรงม้า ซึ่งเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบ ถึงจะเป็นเครื่องยนต์เมื่อ 24 ปีก่อน (ในปี พ.ศ. 2558) กลับทำงานได้อย่างเงียบเชียบและนุ่มนวลอย่างไม่น่าเชื่อ
คราวน์ มาเจสตา มีอุปกรณ์ภายในที่ก้าวล้ำนำสมัยอย่างมากเมื่อเทียบกับรถรุ่นอื่นๆ จุดเด่นของความล้ำสมัยของคราวน์ มาเจสตารุ่นแรก คือ การติดตั้งระบบ GPS และการรายงานความเร็วเปลี่ยนจากหน้าปัทม์เป็นระบบ Head-up display (ไม่มีหน้าปัทม์ แต่ข้อมูลต่างๆ จะปรากฏบนกระจกใสที่ตั้งอยู่ระหว่างกระจกหน้ากับผู้ขับขี่ ผู้ขับขี่จึงเห็นตัวเลขข้อมูลได้พร้อมๆ กับการมองถนน ซึ่งเป็นระบบรายงานผลแบบเดียวกับที่ติดตั้งในเครื่องบินรบ)
ในสหรัฐอเมริกา คราวน์ มาเจสตาเกรดมาตรฐานมีราคาเริ่มต้นที่ 32,100 ดอลลาร์สหรัฐ (เทียบเท่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.7 ล้านบาท ในปัจจุบัน ซึ่งถ้านำเข้าประเทศไทยก็จะต้องเพิ่มราคาจากภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงมากในประเทศไทยอีก 300% ของราคารถคันนั้น) และเกรดสูงสุด(ตัวท็อป) มีราคา 51,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เทียบเท่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.6 ล้านบาทในปัจจุบัน)
รุ่นที่ 2 โตโยต้าพยายามลดราคาคราวน์ มาเจสตา ลงมาบ้าง เพราะจากราคาที่แพง ทำให้ยอดขายไม่ดีนัก แต่อุปกรณ์ออปชันต่างๆ ยังอยู่ครบ ส่วนเครื่องยนต์ยังมีให้เลือก 2 รุ่นตามเดิม แต่รุ่น 1UZ-FE 4000 ซีซี มีแรงม้าเพิ่มขึ้นจาก 260 เป็น 265 แรงม้า
ค.ศ. 1997 มีการปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ ในครั้งนี้ คราวน์ มาเจสตา ได้เปลี่ยนไปใช้ไฟหน้าแบบ HID (มีหลักการทำงานแบบใช้แก๊ส คล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ใช้พลังงานน้อยกว่า แต่สว่างไกลกว่า มากกว่า และไม่แยงตาผู้ที่ขับรถสวนทางมา) เปลี่ยนไปใช้เกียร์อัตโนมัติแบบ 5 สปีด (แบบที่รุ่นอื่นๆ ของโตโยต้ายังไม่มีจนถึงปัจจุบัน) ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์หัวฉีด VVT-i (แบบเดียวกับที่ใช้ใน โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส (Altis) ในอีก 4 ปีถัดมา)
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ไฟท้ายแบบแนวตั้งและกระโปรงหลังของคราวน์ มาเจสตา รุ่นที่ 2 มีรูปทรงคล้ายกับ คาดิลแลค เดอวิลล์ (Cadillac DeVille) ในช่วงเดียวกันมาก
รุ่นที่ 3 มีการออกแบบใหม่โดยคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่เด่นๆ เอาไว้ คือ ไฟท้ายที่เรียงตัวแนวตั้ง และอื่นๆ นอกจากนี้ หลายบริษัท ได้ซื้อคราวน์ มาเจสตา รุ่นที่ 3 ไปเป็นรถลีมูซีนสำหรับเช่า และหลายบริษัท ได้เลือกซื้อคราวน์ มาเจสตา ไปเป็นรถประจำตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ทำให้คราวน์รุ่นนี้ ประสบความสำเร็จมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ที่ญี่ปุ่นในช่วงนั้น มีขายรถยีห้อระดับพรีเมียมในเครือโตโยต้าอีกรุ่นหนึ่ง คือ เล็กซัส แอลเอส (Lexus LS) ซึ่งเป็นรถเกรดใกล้เคียงกับคราวน์ มาเจสตา เมื่อมีรถเกรดใกล้เคียง ในเครือบริษัทเดียวกัน รูปทรงคล้ายกัน มาขายในตลาดเดียวกัน แอลเอสกับคราวน์ มาเจสตา ก็ขัดขากันเอง (ยอดขายรถแทนที่จะรวมกันอยู่ในรุ่นเดียว ก็ต้องแบ่งกันไปคนละครึ่ง จำนวนที่ขายได้ในแต่ละรุ่นจึงไม่ดีเท่าที่ควร)
รุ่นที่ 4 ออบแบบใหม่ทั้งคัน แม้แต่ไฟท้ายก็เปลี่ยนเป็นแนวเฉียง และนอกจากนี้ ในค.ศ. 2006 โตโยต้าได้สั่งให้นำเล็กซัส แอลเอส ไปเน้นการทำตลาดที่อเมริกา แล้วยกเลิกการผลิตเล็กซัส แอลเอส ในญี่ปุ่นลงทั้งหมด (ทั้งๆ ที่มีเสียงคัดค้านจากหลายวงการ แต่โตโยต้าก็จำเป็นต้องทำ) จึงไม่มีการขัดขากันเองอีกต่อไป
คราวน์ มาเจสตารุ่นนี้ มีการติดตั้งกล้องส่องด้านหลังสำหรับการถอยจอด เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ 3UZ-FE 4,300ซีซี 8สูบ 345แรงม้า และเปลี่ยนไปใช้เกียร์แบบอัตโนมัติ 6 สปีด ส่วนราคาก็ประมาณ 69,400 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่า 70,000 - 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน)
รุ่นนี้ มีรูปทรงรถคล้ายกับ โตโยต้า คัมรี่ มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ คือ 3UZ-FE 4300ซีซี 8สูบ ขับเคลื่อน 4 ล้อ กับเครื่อง 1UR-SFE 4600ซีซี 8สูบ ขับเคลื่อนล้อหลังหรือสี่ล้อ
เกียร์อัตโนมัติ 6สปีด หรืออัตโนมัติ 8 สปีดแบบใหม่ AA80E
รุ่นที่ 6 | |
---|---|
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2556–2561 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | รถเก๋ง 4 ประตู |
โครงสร้าง | เครื่องวางหน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | |
ระบบเกียร์ | CVT |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ | 2,925 mm (115.2 in) |
ความยาว | 4,970 mm (195.7 in) |
ความกว้าง | 1,800 mm (70.9 in) |
ความสูง | 1,460 mm (57.5 in) |
น้ำหนัก | 1,810–1,830 kg (3,990–4,034 lb)[1] |
รุ่นที่ 6 ได้เปิดตัวในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ วี8 เป็นเครื่องยนต์ไฮบริด 3.5 ลิตร วี6 ที่ใช้ร่วมกับเล็กซัส จีเอส450เอช และอีกเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ไฮบริด 4 สูบ ฐานล้อยาวกว่ารุ่นคราวน์ โรยัล 75 mm (3.0 in) แต่สั้นกว่าเซนทูรี 100 mm (3.9 in) และมาพร้อมกับระบบความปลอดภัยขั้นสูง เช่น จอแสดงจุดอับสายตา และระบบป้องกันการชนท้าย มาเจนต้ารุ่นนี้ตั้งราคาขายไว้ที่ 6.1–12.9 ล้านเยนและตั้งเป้าการขายไว้ที่ 500 คันต่อเดือนที่ญี่ปุ่น[2] แต่น่าเสียดายว่า โตโยต้า ได้ยุติสายการผลิตของ Crown Majesta โฉมนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมเปิดตัวรุ่นใหม่ร่วมกับ Toyota Crown S220 (รุ่น G-Executive).
สเปครุ่น | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
3.5L V6 | |||||||
ชนิดเครื่องยนต์ | V6 เบนซินไฮบริด | ||||||
ความจุ | 3,456 cc (3.5 L) | ||||||
กำลัง | 252 kW (338 hp)(Total system output) | ||||||
แรงบิด | N/A | ||||||
ความเร็วสูงสุด | 180 km/h (110 mph) (ถูกจำกัดไว้โดยระบบไฟฟ้า) | ||||||
ความเร่ง 0–100 km/h (62 mph) |
7.2 วินาที | ||||||
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง | 5.49 L/km (0.4 mpg-US; 0.5 mpg-imp) | ||||||
การปล่อย CO2 | 128 g/km (7.3 oz/mi) |
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โตโยต้า คราวน์ มาเจสต้า