การสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย เริ่มขึ้นครั้งแรกด้วยการให้บริการโทรเลขเมื่อปี พ.ศ. 2418 โดยมีกรมโทรเลขเป็นผู้ดูแลการให้บริการ ในอดีต การพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทย อยู่ในการให้บริการโดยหน่วยงานของภาครัฐเท่านั้น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ และโทรทัศน์ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการทหารที่ยังคงควบคุมคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์จำนวนมาก
ในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2540 เป็นช่วงการเปิดให้บริการโทรคมนาคมอย่างเสรีกับภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ 3 หน่วยงานที่ดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นหลัก ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือทีโอที), การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กสท โทรคมนาคม) และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ อสมท) และแปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัดในปี พ.ศ. 2546-2547 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่ทั้งหมดเป็น "ทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อสวัสดิการสาธารณะ" โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นซึ้งมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่, ตรวจสอบ และควมคุมการติดต่อสื่อสารในประเทศไทยได้แก่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติ (กสช.) ในปี พ.ศ. 2541 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง กทช. ชุดแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2547
การจัดตั้ง กทช. ทำให้มีการโอนหน้าที่และทรัพย์สินของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มาเป็นของคณะกรรมการ กทช. รวมถึงในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ ในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันในส่วนของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงแห่งชาติในขณะนั้นไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีการโต้แย้งรวมถึงข้อพิพาทต่างๆทั้งในการกระบวนการสรรหาและการเมืองภายในภาคสื่อเอง
ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีการตัดสินใจควบรวมกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม โดยได้ยุบหน่วยงานทั้ง กทช. และ กสท. เดิม และตราพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และบังคับใช้ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการด้านโทรคมนาคม โดยกำหนดให้เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ
ภารกิจแรกของคณะกรรมการ กสทช. คือการจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมประเภทบริการ 3 จี ในปี พ.ศ. 2555 ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยมีการออกใบอนุญาตในช่วงคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ ทั้งหมด 3 ใบ ให้กับ เอไอเอส, ทรูมูฟ เอช และดีแทค
ในปี พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หน่วยงานย่อยของ กสทช. ได้เปิดให้มีการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินแห่งชาติจำนวน 42 ใบ และเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
แม้จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 แต่ด้วยพระราชบัญญัติ กสทช. ยังมีผลบังคับใช้จึงทำให้คณะกรรมการยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2560 โดยได้ยุบหน่วยงานย่อยของกสทช. ทั้งหมดให้เหลือเพียงหน่วยงาน กสทช. เพียงหน่วยงานเดียว อีกทั้งยังต้องให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจประเด็นตามๆ จากเดิมที่ให้อำนาจกสทช. ตัดสินใจเอง
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 รัฐบาลทหารได้ออกคำสังให้สถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง โดยจะมีการตรวจสอบก่อนได้รับใบอนุญาต โดยช่วงแรกได้ออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ก่อนในช่วงเดือนกันยายนไปยังสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ก่อนสามารถเผยแพร่การออกอากาศได้ ในระหว่างที่รอการตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตฉบับใหม่ต่อไป
ผู้ประกอบการโทรคมนาคมเริ่มได้รับสัมปทานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งรัฐบาลได้แก้ไขให้ยกเลิกระบบสัมปทานคลื่นความถี่ด้านโทรคมนาคม และสิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2558
สำหรับบริการหรือข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัมปทานจะแตกต่างกันไปในช่วง 1-15 ปี โดยสัญญาสัมปทานเกือบทั้งหมดเป็นสัญญาที่เขียนขึ้นตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายหรือ BTO โดยนักลงทุนเอกชนต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายที่จำเป็นทั้งหมด และโอนทรัพย์สินที่สร้างขึ้นไปยังเจ้าของสัมปทานหรือหน่วยงานของรัฐก่อนที่จำสามารถดำเนินการหรือให้บริการแก่ประชาชนได้
ปัจจุบันตลาดเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ประกอบการหลัก 3 รายและมีอัตราการเติบโตสูงถึง 136% โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเครือข่ายหลักๆ จะใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม GSM และ 3GPP ได้แก่ GSM, EDGE, UTMS และ LTE ส่วนตลาดโทรทัศน์ในประเทศปัจจุบันแบ่งเป็นโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม 6 ช่อง และโทรทัศน์ระบบดิจิทัลจำนวน 26 ช่อง
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเพียงรายเดียวได้แก่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยสถิติในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการจำนวน 5,687,038 เลขหมายลดลงจากปี พ.ศ. 2551[1]
ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2424 โดยกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้มีการโอนกิจการให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลข องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2497[2]
การให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐานในอดีตนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัดสูง อัตราการเติบโตของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานในปี พ.ศ. 2534 อยู่ที่ 3.3 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ก่อนที่จะมีการเปิดให้บริษัทเอกชนรับสัมปทานเพื่อสร้างและใช้โทรศัพท์พื้นฐาน 2 รายได้แก่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) สำหรับให้บริการในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และบริษัท ไทย เทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับให้บริการในต่างจังหวัด[3]
ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2557 มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่ 97.6 ล้านเลขหมาย คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 146% แบ่งเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 84.8 ล้านเลขหมาย โดย 99% ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย (รวมถึงผู้ให้บริการในเครือด้วย) ได้แก่ เอไอเอส มีสัดส่วนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 46.52% รองลงมาได้แก่ ดีแทค 28.50% และทรูมูฟ เอช 24.26% ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นรวมถึงรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ทีโอที 0.57% และ กสท. โทรคมนาคม 0.15% รวมถึงผู้ประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO)
ในช่วงปี พ.ศ. 2520 - 2540 บริษัทเอกชนจะได้รับสัมปทานสำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดย ทีโอที และ กสท. ก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านการอนุญาตให้บริการจากระบบสัมปทานเป็นขอใบอนุญาตในปี พ.ศ. 2545 - 2546 ตามพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 1 และจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อกำกับดูแลคลื่นความถี่ของชาติ[4] การจัดการที่สำเร็จครั้งแรกได้แก่การจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยคณะกรรมการ กสทช. ในปี พ.ศ. 2555 โดยจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 2100 ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต โดยทั้งสามผู้ให้บริการรายใหญ่ได้ไปรายละ 1 ใบอนุญาต
ในปี พ.ศ. 2558 ที่ กสทช. ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 15 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต โดยในเดือนพฤศจิกายน การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ใช้เวลากว่า 33 ชั่วโมงในการประมูล โดยผู้ชนะคือ เอไอเอส และทรูมูฟ เอช และคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ์ใช้เวลากว่า 4 วัน 4 คืน โดยผู้ชนะได้แก่ ทรูมูฟเอช และ แจส โมบาย (กลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล)[5] แต่กลุ่มจัสมิน ไม่สามารถนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ได้ จึงถูกยึดเงินประกัน และปรับเป็นเงินกว่า 199 ล้านบาท [6][7] โดยหลังจากทำการเปิดประมูลใหม่มีเพียง เอไอเอส ที่เข้ารับซองประมูล[8]
ในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจำนวน 2 ย่านความถี่ได้แก่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 9 ใบอนุญาต และ คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 1 ใบอนุญาต โดยผลการเข้าประมูล เอไอเอส และ ดีแทค ที่ได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเพียงรายละ 1 ใบอนุญาต[9] และได้เปิดการประมูล คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ อีกครั้งในเดือนตุลาคม โดยดีแทคได้ตอบรับ และเข้าประมูลเพียงรายเดียว[10]
ในปี พ.ศ. 2562 ผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายได้แก่ เอไอเอส, ทรูมูฟเอช และ ดีแทค ได้เข้ายื่นประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x10 Mhz ด้วยเงื่อนไขเรื่องการขอยืดการชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ ออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปี[11]
ในปี พ.ศ. 2563 กสทช. ได้ประกาศจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 2x5 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 7 ใบอนุญาต, คลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 10 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 19 ใบอนุญาต และใบอนุญาตคลื่นความถี่ 26 จิกะเฮิร์ตซ์ ความกว้าง 100 เมกะเฮิร์ตซ์ จำนวน 27 ใบอนุญาต เพื่อรอบรับการขยายตัวทางโทรคมนาคมและ เตรียมความพร้อมให้กับเทคโนโลยี 5 จี โดยมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมทั้ง 5 รายเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ และได้จัดให้มีการประมูลขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563[12] โดยผลการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่มีดังต่อไปนี้
โดยเมื่อรวมเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งหมดนั้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,193 ล้านบาท[13]
ในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ทรู คอร์ปปอเรชั่น จำกัด ได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการ ศึกษาความเป็นไปได้ ของการควบรวมระหว่าง ทรู และ ดีแทค[14] ซึ่งมีเสียงคัดค้านจากหลายองค์กร อาทิมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือบริษัทคู่แข่งอย่าง เอไอเอส แต่หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ที่ประชุม กสทช. ลงมติ "รับทราบ" การควบรวมระหว่าง DTAC และ True พร้อมกับระบุมาตรฐานควบคุมหลังควบรวมแล้วให้ลดราคาค่าบริการโดยเฉลี่ยลง การควบคุมต้นทุนที่ต้องมีการตรวจสอบ โดยทั้งสองบริษัทต้องให้บริการแยกแบรนด์กันไปอีก 3 ปี นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทจะต้องไม่ลดจำนวนเสาสัญญาณ[15]
ภายหลังจากมติของ กสทช. ออก ในวันที่ 12 มกราคม 2566 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สองบริษัทแม่ของทรู และ ดีแทค ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในว่าคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทฯ ได้มีมติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วม ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อพิจารณาและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท โดยได้เสนอชื่อในการจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบรวมคือ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566
อีกทั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ทรู ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าบริษัทย่อย 2 บริษัทของตน คือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการทำกิจการโทรคมนาคมภายใต้แบรนด์ ทรู และ ดีแทค ได้จดทะเบียนควบบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลของการควบบริษัททำให้ ดีแทค ไตรเน็ต สิ้นสภาพจากการเป็นนิติบุคคล เหลือไว้เพียง ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น
จากนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติ กสทช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรู และ ดีแทค[16]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 กสทช. อนุมัติให้ โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เอ็นที โอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวน 5 MHz ให้กับ เอไอเอส ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุญาตให้โอนคลื่นได้ ทั้งนี้การโอนคลื่นดังกล่าวต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ เอดับบลิวเอ็น ต้องเปิดความจุ 20 % ของคลื่นจำนวน 5MHz ให้ MVNO (Mobile virtual network operator) ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองสามารถ เช่าใช้งานได้ด้วย[17]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 กสทช. ได้เร่งให้ โทรคมนาคมแห่งชาติ เร่งประกาศแผนเยียวยาให้ลูกค้า ภายหลังจากเดือนสิงหาคม 2568 คลื่นความถี่ที่ถือครองอยู่ 4 ย่านความถี่ได้แก่ 850 เมกะเฮิร์ตซ์, 1500 เมกะเฮิร์ตซ์, 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ และ 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ จะสิ้นสุดการอนุญาตใช้งาน ภายในเดือนมกราคม 2568 และนำคลื่นคืนมายังสำนักงาน กสทช. เพื่อดำเนินการประมูลต่อไป ทว่า การย้ายลูกค้าที่ใช้งานคลื่นเดิมไปยังคลื่น 700 MHz ที่ถือใบอนุญาตใช้ได้จนถึงปี 2579 ก็เป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากอุปกรณ์ไม่รองรับ อีกทั้งผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือนที่นำความถี่ไปทำตลาดเฉพาะกลุ่มกว่า 7-8 บริษัท เริ่มมีการสะท้อนปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น[18]
ใบอนุญาต (เปิดให้บริการ) | |
การเช่าคลื่นความถี่จากผู้ถือใบอนุญาตรายอื่น | |
สัมปทานคลื่นความถี่ | |
ยังไม่เปิดให้บริการ |
ผู้ให้บริการ | คลื่นความถี่ที่ให้บริการ | เทคโนโลยี | ผู้ใช้งาน | การบริหารงาน/ผู้ถือหุ้น | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
700 MHz | 850 MHz | 900 MHz | 1800 MHz | 2100 MHz | 2300 MHz | 2600 MHz | 26 GHz | รวม | ||||
เอไอเอส | 40 MHz (2 x 20)(1) |
20 MHz (2 x 10) |
40 MHz (2 x 20) |
30 MHz (2 x 15) |
100 MHz | 1,200 MHz | 1,460 MHz | GSM , GPRS , EDGE (900 MHz) UMTS , HSPA+ (2100 MHz) LTE , LTE-U (900/1800/2100/2600 MHz) 5G NR (700/2600 MHz/26 GHz) |
45.7 ล้านเลขหมาย (ไตรมาส 2/2567)[19] |
| ||
30 MHz(2) (2 x 15) | ||||||||||||
ทรูมูฟ เอช | 20 MHz (2 x 10) |
30 MHz(3) (2 x 15) |
20 MHz (10 x 2) |
30 MHz (2 x 15) |
30 MHz (2 x 15) |
90 MHz | 800 MHz | 1,020 MHz | GSM , GPRS , EDGE (900 MHz) UMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850/2100 MHz) LTE , LTE-A (700/900/1800/2100/2600 MHz) 5G NR (700/2600 MHz/26 GHz) |
50.5 ล้านเลขหมาย (ไตรมาส 2/2567)5[21] |
บริหารงานโดย
| |
ดีแทค(5) | 20 MHz (2 x 10) |
10 MHz (2 x 5) |
10 MHz (2 x 5) |
30 MHz (2 x 15) |
60 MHz(4) | 200 MHz | 330 MHz | GSM , GPRS , EDGE (1800 MHz) UMTS , HSPA+ (900/2100 MHz) LTE (700/1800/2100/2300 MHz) 5G NR (700 Mhz/26 GHz) | ||||
มายบายเอ็นที (มายบายแคทเดิม) |
10 MHz (2 x 5)(1) |
30 MHz(3) (2 x 15) |
30 MHz(2) (2 x 15) |
60 MHz(4) | 400 MHz | 530 MHz | UMTS , HSPA+ , DC-HSPA+ (850 MHz) LTE , LTE-A (1800/2100 MHz) |
2.5 ล้านเลขหมาย (ปี พ.ศ. 2564)[23] |
| |||
เอ็นที โมบายล์ (ทีโอทีเดิม) |
UMTS, HSPA, HSPA+, DC-HSPA+ (2100 MHz) LTE , LTE-U/LAA (2300 MHz) |
1.8 แสนเลขหมาย (ข้อมูลปี พ.ศ. 2564)[24] |
นอกจากผู้ให้บริการหลักทั้ง 5 รายแล้ว ยังมีผู้ให้บริการบนโครงข่ายเสมือน (MVNO)[29] รวมถึงแบรนด์ย่อย (Sub Brand) ของผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายแล้วดังนี้[30]
ผู้ให้บริการ | ผู้ให้บริการโครงข่ายหลัก | ดำเนินการโดย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ประเภทการให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) | |||
iKooL | บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) | บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) | |
ซิมเพนกวิน (Penguin Sim) | บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด | ||
ฟีล (Feels) | บริษัท ฟีล เทเลคอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด | ||
โอ โมไบล์ (O-Mobile) | บริษัท โอ โมไบล์ จำกัด | ||
เรดวัน (redONE) | บริษัท เรดวัน เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด | ||
เตโฟร์ (K4) | บริษัท เคโฟร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด | ||
ประเภทการให้บริการโดยผู้ให้บริการโครงข่ายเอง (Sub Brand) | |||
โกโม บาย เอไอเอส (GOMO by AIS) | บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) | แบรนด์ย่อยของ เอไอเอส | |
ฟิน โมบาย (FINN Mobile) | บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) | แบรนด์ย่อยของ ทรู-ดีแทค |
หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานจะมีเลขจำนวน 9 หลัก ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือจะมีเลขจำนวน 10 หลัก โดยที่ทั้ง 2 ระบบขึ้นต้นด้วย "0"
ประเทศไทยมีวิทยุถูกใช้เป็นจำนวน 13.96 ล้านตัวในปี พ.ศ. 2540 จนปี พ.ศ. 2558 มีการคาดการณ์ว่ามีผู้ใช้งานวิทยุเป็นจำนวน 25 ล้านตัว
ระบบโทรทัศน์ระดับชาติของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ปัจจุบันยุติออกอากาศทั้งหมดแล้ว โดยช่องสุดท้ายคือช่อง 3 ยุติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
การเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกไปยังระบบดิจิทัล เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดย กสทช. การประมูลจัดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[31] และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557
ประเทศไทยมีสายเคเบิลใต้น้ำจำนวน 5 เส้น สำหรับเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตเข้า-ออกประเทศ มีจุดเชื่อมต่ออยู่ที่จังหวัดสตูล, เพชรบุรี และชลบุรี
ไทยคมเป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสารที่ดำเนินการออกจากประเทศไทย และยังเป็นชื่อของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น บริษัท ที่เป็นเจ้าของและดำเนินการดาวเทียมไทยคมและธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอื่น ๆ ในประเทศไทยและทั่วเอเชียแปซิฟิค
ชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการดาวเทียมไทยคม ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่
บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ปัจจุบัน บริษัท บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)) ได้ลงนามสัญญากับบริษัท ฮิวจ์สเปซคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ในปี พ.ศ. 2534 มูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อดำเนินการปล่อยโครงการดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทย ดาวเทียมไทยคมดวงแรกเปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีตัวรับสัญญาณระบบ ซี-แบนด์ 12 ช่องครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นถึงประเทศสิงคโปร์
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) [32]
พระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ในฐานะหน่วงงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการกระจายเสียงแห่งเดียวในประเทศไทย
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอุสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยโดยกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แบ่งเป็นประเภทตามใบอนุญาตการสื่อสารโทรคมนาคมออกเป็นสามประเภทได้แก่
พระราชบัญญัติได้รับการเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2549 ภายใต้รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นจำนวนมากในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยได้
เดิมทีในปี พ.ศ. 2544 ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นขอใบอนุญาตประเภทสองหรือสามประเภทภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการต่างประเทศ (FBA)[33]
ผู้ที่ยื่นขอใบอนุญาตประเภทที่สองและสามจะต้องเป็นบริษัทที่มีกรรมการบริษัทผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นอย่างน้อย 3 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัท และไม่รวมกันไม่น้อยกว่า 75% อำนาจในการลงนามต่างๆหรือผู้ยื่นคำของต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
แต่จากการเปลี่ยนพระราชบัญญัติ ในปี พ.ศ. 2549 ได้ยกเลิกข้อกำหนดเพิ่มเติมทั้งหมดของผู้ขอใบอนุญาตประเภทสองและประเภทสามโดยระบุว่าชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ถึง 49% ในผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมประเภทที่สองหรือประเภทที่สาม ไม่มีข้อจำกัด เกี่ยวกับสัดส่วนหรือจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ และผู้มีอำนาจลงนามสามารถเป็นชาวต่างชาติได้
ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมประกอบด้วยค่าธรรมเนียมสามอย่างคือค่าอนุญาตให้มีใบอนุญาต ค่าต่ออายุและค่าธรรมเนียมรายปี
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 กสทช. ได้ออกใบอนุญาตด้านโทรคมนาคมจำนวน 186 ใบอนุญาตประกอบไปด้วย[34]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กสทช. ได้รับการขออนุญาตประกอบการกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน (MVNO) จำนวน 43 ราย[35] แต่เปิดให้บริการเพียง 9 รายเท่านั้น