โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
ประเทศไทย
ก่อตั้ง20 ธันวาคม พ.ศ. 2511; 56 ปีก่อน (2511-12-20)
สถานีโทรทัศน์
พื้นที่ฉาย
ประเทศไทย
ประเทศประเทศไทย

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 3 ช่องคือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ททบ.5 เอชดี ช่อง 7HD เพื่อทำงานร่วมกันในการจัดรายการสดที่ไม่ใช่รายการข่าว และการจัดรายงานข่าวสดเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษเช่นพระราชพิธี กิจกรรมภาครัฐบาล คำประกาศ แถลงการณ์ คำปราศรัยในโอกาสต่าง ๆ และการแข่งขันกีฬาเช่นโอลิมปิกฤดูร้อน เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และฟุตบอลโลก[1][2][3]

การก่อตั้ง

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยในขณะนั้น ได้แก่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของ บมจ.อสมท ในปัจจุบัน), สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5 เอชดี ในปัจจุบัน) และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7HD ในปัจจุบัน) ของกรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่าควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ผู้อำนวยการของ ททบ.5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ต่อมา สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 3 เอชดี ในปัจจุบัน) เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที 2 เอชดี ในปัจจุบัน) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และต่อมามีสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมอีก 21 ช่อง รวมทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาที่เข้ามาในภายหลัง รวมเป็น 28 ช่อง ก่อนจะลดลงเหลือ 19 ช่องในเวลาต่อมาจากการคืนใบอนุญาตและปิดสถานีลง

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 คณะกรรมการบริหารโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนสถานะของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยจากคณะบุคคลเป็นนิติบุคคลรูปแบบสมาคม โดยจดทะเบียนชื่อสมาคมว่า "สมาคมโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย" และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Television Pool of Thailand Association" โดยคณะกรรมการสมาคมมีองค์ประกอบดังนี้[4]

  1. กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ททบ.5 เอชดี เป็น นายกสมาคม
  2. ผู้บริหาร ช่อง 7HD เป็น อุปนายกสมาคม คนที่ 1
  3. ผู้บริหาร ช่อง 3 เอชดี เป็น อุปนายกสมาคม คนที่ 2
  4. ผู้บริหาร ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เป็น อุปนายกสมาคม คนที่ 3
  5. ผู้แทน ททบ.5 เอชดี เป็น นายทะเบียนและฝ่ายกฎหมาย
  6. ผู้แทน ช่อง 3 เอชดี เป็น ปฏิคม
  7. ผู้แทน ช่อง 7HD เป็น ประชาสัมพันธ์
  8. ผู้แทน ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เป็น เหรัญญิก
  9. ผู้แทน ททบ.5 เอชดี เป็น เลขานุการสมาคม

โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอให้คณะกรรมการธงภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี อนุญาตให้นำแถบสีธงชาติไทยไปแสดงในเครื่องหมายสมาคมซึ่งใช้ตราเดียวกับ ทรท. เดิมทุกประการ และดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมต่อกรมการปกครอง ในฐานะนายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานครอย่างสมบูรณ์

วัตถุประสงค์

[แก้]
  1. เพื่อร่วมมือกันจัดทำภารกิจถ่ายทอดสด และรับการถ่ายทอดสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับพระราชพิธีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมทั้งภารกิจอื่น ๆ ที่สำนักพระราชวังและรัฐบาลมอบหมาย เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านสถานีโทรทัศน์ของสมาชิกและสถานีโทรทัศน์ที่รับสัญญาณถ่ายทอดสด
  2. เพื่อร่วมมือกันจัดทำข่าวในพระราชสำนักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านสถานีโทรทัศน์ของสมาชิกและสถานีโทรทัศน์ที่รับสัญญาณ
  3. เพื่อร่วมมือกันจัดทำภารกิจถ่ายทอดสด และรับการถ่ายทอดสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับพิธีสำคัญทางศาสนาและ/หรือรัฐพิธีของประเทศไทยตามที่ได้รับมอบหมายจากทางรัฐบาล เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านสถานีโทรทัศน์ของสมาชิกและสถานีโทรทัศน์ที่รับสัญญาณถ่ายทอดสด
  4. เพื่อร่วมมือกันจัดทำภารกิจถ่ายทอดสด และรับการถ่ายทอดสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬานานาชาติ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะผ่านสถานีโทรทัศน์ของสมาชิกและสถานีโทรทัศน์ที่รับสัญญาณถ่ายทอดสด
  5. เพื่อดำเนินกิจการทั้งปวงที่เป็นประโยชน์สาธารณะและความมั่นคงของประเทศ
  6. เพื่อส่งเสริม และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งการพัฒนาทางเทคโนโลยีระหว่างสมาชิกและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและระหว่างประเทศ
  7. เพื่อดำเนินกิจการทั้งปวงที่จะไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

สถานีโทรทัศน์ที่เป็นสมาชิก

[แก้]

ในปัจจุบัน

[แก้]
  1. เอ็นบีที 2 เอชดี
  2. ไทยพีบีเอส
  3. เอแอลทีวี
  4. ททบ.5 เอชดี
  5. ทีสปอร์ต 7
  6. สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
  7. ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16
  8. เจเคเอ็น 18
  9. เนชั่นทีวี
  10. ช่องเวิร์คพอยท์
  11. ทรูโฟร์ยู
  12. จีเอ็มเอ็ม 25
  13. ช่อง 8
  14. โมโน 29
  15. ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
  16. ช่องวัน 31
  17. ไทยรัฐทีวี
  18. ช่อง 3 เอชดี
  19. อมรินทร์ทีวี
  20. ช่อง 7HD
  21. พีพีทีวี
  22. นิวส์วัน
  23. ดีแอลทีวี 1-15
  24. โปลิศทีวี
  25. สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
  26. เอ็มวีทีวี
  27. พีเพิลทีวี

ในอดีต

[แก้]

รายชื่อผู้บรรยาย

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
  1. ปิยณี เทียมอัมพร
  2. กมลวรรณ สุนทรธรรม
  3. อุรัสยาน์ เพชรสดศิลป์
  4. ณิศารัช อมะรักษ์
  5. ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ (ภาคภาษาอังกฤษ)
  6. จิตรจรรยา เพิ่มภัทร
  7. กฤษดา นวลมี
  8. ภาสพล โตหอมบุตร
  9. ศจี วงศ์อำไพ
  10. เปรมสุดา สันติวัฒนา
  11. เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์
  12. จีรนันท์ เขตพงศ์
  13. ธีรวัฒน์ พึ่งทอง
  14. เกียรติยา ธรรมวิภัชน์
  15. อารยา สุวิเศษศักดิ์
  16. นิศากานต์ กีร์ตะเมคินทร์
  17. กิตติศักดิ์ ชลศึกษ์ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  18. วรรณชนก สังขเวช
  19. เฌอศานต์ ศรีสัจจัง
  20. พิมพิมล ปัญญานะ
  21. วิริยะ ตันนุกูลกิจ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  22. ณัฐพล กิติธรรม
  23. ศรันภา จินดาพงษ์
  24. ไชยวุฒิ พงศร (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  25. ศุภชัย จิวะอุดมทรัพย์ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  26. อภินันท์ อภิบาลศรี (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  27. สุภนิดา จันทร์มูล (ภาคภาษาอังกฤษ)
  28. ส.กรกช ยอดไชย

ในอดีต

[แก้]
  1. เจก รัตนตั้งตระกูล
  2. เอกชัย นพจินดา (เสียชีวิตแล้ว)
  3. ธราวุธ นพจินดา (เสียชีวิตแล้ว)
  4. นายแพทย์อภิชาติ นิราพาธพงศ์พร (เสียชีวิตแล้ว)
  5. ประชา เทพาหุดี (เสียชีวิตแล้ว)
  6. ทรงอภิรัชต์ สิงห์โต (เสียชีวิตแล้ว)
  7. พฤกษ์ อุปถัมภานนท์ (เสียชีวิตแล้ว)
  8. อาคม มกรานนท์
  9. อภิญญา มาลีนนท์
  10. สิทธิชาติ บุญมานนท์
  11. พรพรหม จุลกทัพพะ (เสียชีวิตแล้ว)
  12. จรณชัย ศัลยพงษ์
  13. เอ็นดู ศิลศร
  14. ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์
  15. ธัญญะ วงศ์นาค (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  16. สาธิต กรีกุล (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  17. สมยศ แดงยวน (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  18. อภิสรา เกิดชูชื่น (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  19. ญาดา ยมกานนท์
  20. สายสวรรค์ ขยันยิ่ง
  21. ประภัทร์ ศรลัมพ์
  22. ปาริชาติ ไวกวี กมลอาสน์
  23. ชลรัศมี งาทวีสุข (ภาคภาษาอังกฤษ)
  24. วรวุฒิ พงษ์ธีระพล (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  25. พ.อ.ทพ.ฤทธิกร การะเวก (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  26. กษิติ กมลนาวิน (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  27. ประไพพัสร์ โขมพัตร
  28. ศุภรัตน์ นาคบุญนำ
  29. จักรพันธุ์ ยมจินดา (เสียชีวิตแล้ว)
  30. ศศินา วิมุตตานนท์
  31. ทวินันท์ คงคราญ
  32. ศตกมล วรกุล
  33. นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง
  34. ช่อฟ้า เหล่าอารยะ
  35. กันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา
  36. ยอดมนู ภมรมนตรี
  37. นัจนันท์ พฤกษ์ไพบูลย์
  38. ศรีอาภา เรือนนาค
  39. วิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์
  40. มยุรา เศวตศิลา
  41. ผุสชา โทณะวณิก
  42. สรจักร เกษมสุวรรณ
  43. ชาติชาย ศรีสำอางค์
  44. ดวงกมล เทวพิทักษ์
  45. พิษณุ นิลกลัด
  46. วาทิต ตรีครุธพันธ์ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  47. พลากร สมสุวรรณ
  48. วีรศักดิ์ นิลกลัด (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  49. อดิสรณ์ พึ่งยา (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  50. สุนทรี อรรถสุข
  51. อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง
  52. วิศาล ดิลกวณิช
  53. อภิสมัย ศรีรังสรรค์
  54. อดิศักดิ์ ศรีสม
  55. คารินา โชติรวี
  56. ขนิษฐา สาระจูฑะ
  57. ธนาวุฒิ นุชตเวชวงศ์ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  58. ธนสร อมาตยกุล
  59. เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  60. จักรภพ เพ็ญแข
  61. ชาญชัย กายสิทธิ์
  62. วราภรณ์ สมพงษ์
  63. กิตติศักดิ์ ตู้ทอง (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  64. อนุวัต เฟื่องทองแดง
  65. โศภณ นวรัตนาพงษ์
  66. อภิญญา ขาวสบาย
  67. สัญญลักษณ์ เจริญเปี่ยม
  68. ทพ.พิชัย ปิตุวงศ์ (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  69. กฤษฎิน สุวรรณบุปผา (ถ่ายทอสดกีฬา)
  70. กรรณิกา ธรรมเกษร
  71. ไพโรจน์ กิ่งแก้ว (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  72. พ.ต.หญิง.ศิริลักษณ์ มิ่งโมฬี (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  73. ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  74. อำนวยวิทย์ เสมอวงศ์ (ถ่ายทอสดกีฬา)
  75. นาวาเอกพาสุกรี วิลัยรักษ์
  76. สืบสกุล พันธุ์ดี
  77. ภาษิต อภิญญาวาท
  78. ภาณุพงศ์ กรรณาธิกรณ์
  79. รวิฌา ทังสุบุตร
  80. นวนันท์ บำรุงพฤกษ์
  81. พัชระ สารพิมพา
  82. เขมสรณ์ หนูขาว
  83. เมษนี สถาวรินทุ
  84. สมเกียรติ อ่อนวิมล
  85. พิสิทธิ์ กีรติการกุล
  86. กิตติ สิงหาปัด
  87. ธีรัตถ์ รัตนเสวี
  88. ชลพรรษา นารูลา (ภาคภาษาอังกฤษ)
  89. ศศิวรรณ์ เลิศวิริยะประภา
  90. นนทวัชร์ อนันท์พรจินดา
  91. มนัส ตั้งสุข (เสียชีวิตแล้ว)
  92. ชัยรัตน์ ถมยา (ภาคภาษาอังกฤษ)
  93. พรอัปสร นิลจินดา
  94. สุพัชรินทร์ ชาญช่างเหล็ก
  95. ชุติมา พึ่งความสุข
  96. อรชุน รินทรวิฑูรย์
  97. นีรชา หลิมสมบูรณ์
  98. ดร.รุ่งทิพย์ โชติณภาลัย (ภาคภาษาอังกฤษ)
  99. นาวาเอกสุรสันต์ คงสิริ
  100. พันเอกวินธัย สุวารี
  101. รณฤทธิ์ บุญพรหม (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  102. รัตน์มณี กังวาลไกล
  103. เหมือนฝัน ประสานพานิช
  104. ดารากาญจน์ ทองลิ่ม
  105. สิริเสาวภา เอกเอี่ยมสิน
  106. ปาจรีย์ สวนศิลป์พงศ์
  107. วีระศักดิ์ ขอบเขต
  108. สุธาศินี สุทธิบงกช (ถ่ายทอดสดกีฬา)
  109. ปัฐมาภรณ์ หาญชาญชัย
  110. ชินดนัย มีชัย
  111. อรนิศวร์ เพชรวงศ์ศิริ
  112. ประพาศ ศกุนตนาค (เสียชีวิตแล้ว)
  113. ณิชารีย์ พัดทอง
  114. อุบลรัตน์ เถาว์น้อย
  115. สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา
  116. แอนดรูว์ บิ๊กส์ (ภาคภาษาอังกฤษ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.thairath.co.th/content/447750
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-16. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
  3. https://www.researchgate.net/publication/27809196_phathnakarlaeasakyphaphkhxngthorthasnrwmkarchephaakichaengprathesthiynikarthaythxdkila
  4. "ระเบียบวาระการประชุม ครั้งที่ 1-68 (Official).pdf". Google Docs. สืบค้นเมื่อ 2025-03-31.