ภาพอธิบายโพรงกระต่ายวิกิในเรื่องเกี่ยวกับทีเชิร์ต
โพรงกระต่ายวิกิ (อังกฤษ: wiki rabbit hole) หรือ หลุมดำวิกิ (อังกฤษ: wiki black hole)[1] เป็นเส้นทางการเรียนรู้ที่ผู้อ่านเดินทางด้วยการนำทางจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งขณะค้นหาในวิกิพีเดียและวิกิอื่น อุปมาของโพรงกระต่ายมาจากวรรณกรรม อลิซในแดนมหัศจรรย์ ใน ค.ศ. 1865 โดยลูอิส แคร์รอล ที่อลิซเริ่มต้นการผจญภัยด้วยการตามกระต่ายขาวเข้าไปในโพรง ส่วนอุปมาหลุมดำมาจากแนวคิดที่ว่า ผู้อ่านถูกดึงดูดเข้าไปในหลุมอย่างรุนแรงโดยที่พวกเขาหนีออกไปไม่ได้
หลังเรียนรู้หรือศึกษานอกวิกิพีเดีย ผู้คนจำนวนมากเข้าไปที่สารานุกรมออนไลน์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ดู จากนั้นจึงไปยังหัวข้อที่ห่างออกจากจุดเริ่มต้นเรื่อย ๆ[2] ภาพยนตร์ที่อิงจากบุคคลหรือเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์มักกระตุ้นผู้ชมให้สำรวจไปในโพรงกระต่ายวิกิ[3]
การแสดงภาพข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบทความวิกิพีเดียที่แสดงให้เห็นเส้นทางที่ผู้อ่านสามารถใช้นำทางจากหัวข้อหนึ่งไปอีกหัวข้อหนึ่ง[4] มูลนิธิวิกิมีเดียเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีที่ผู้อ่านเข้าสู่โพรงกระต่าย[5] พฤติกรรมการสืบค้นโพรงกระต่ายเกิดในวิกิพีเดียหลายภาษา[6]
ผู้ใช้วิกิพีเดียแบ่งปันประสบการณ์โพรงกระต่ายว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวิกิพีเดีย และในสื่อสังคม[7][8] ผู้คนบางส่วนเข้าไปในวิกิพีเดียเพื่อความสนุกในการหาโพรงกระต่าย[9][10] การสำรวจโพรงกระต่ายสามารถเป็นส่วนหนึ่งของวิกิเรสซิง[11]
- ↑ Stockton, Chrissy (January 4, 2014). "The 10 Best Wikipedia Black Holes For Curious People (Who Have No Impulse Control)". Thought Catalog.
- ↑ Yahr, Emily (January 4, 2018). "Do you fall down a Wikipedia rabbit hole after each episode of 'The Crown'? You're not alone". Washington Post.
- ↑ Beck, Lia (August 23, 2018). "13 Movies Based On True Stories With Wikipedia Rabbit Holes You'll Spend Hours On". Bustle.
- ↑ Li, Shirley (December 12, 2014). "WikiGalaxy: A Visualization of Wikipedia Rabbit Holes". The Atlantic.
- ↑ Allemandou, Joseph; Popov, Mikhail; Taraborelli, Dario (January 16, 2018). "New monthly dataset shows where people fall into Wikipedia rabbit holes – Wikimedia Blog". Diff, a Wikimedia community blog.
- ↑ Wang, Shan (March 16, 2018). "Why do people go to Wikipedia? A survey suggests it's their desire to go down that random rabbithole". Nieman Lab. Nieman Foundation for Journalism.
- ↑ "On Wikipedia's 15th birthday, Ars shares the entries that most fascinate us". Ars Technica. January 16, 2016.
- ↑ Howard, Dorothy (July 22, 2015). "Feed my Feed: Radical publishing in Facebook Groups". Rhizome. สืบค้นเมื่อ January 31, 2019.
- ↑ Bosch, Torie (January 25, 2018). "Rabbit Holes: Exploring the Wikipedia Page of "People Who Disappeared Mysteriously."". Slate Magazine.
- ↑ "10 Outrageous Wikipedia Articles That Will Send You Down a Rabbit Hole". Thrillist. April 30, 2020.
- ↑ "Down the Wikipedia Rabbit Hole: The Game! - On The Media - WNYC Studios". WNYC Studios. February 5, 2015.
|
---|
2,000,000+ | |
---|
1,000,000+ | |
---|
500,000+ | |
---|
200,000+ | |
---|
100,000+ | |
---|
50,000+ | |
---|
30,000+ | |
---|
20,000+ | |
---|
10,000+ | |
---|
5,000+ | |
---|
3,000+ | |
---|
1,000+ | |
---|