โฟร์แทรกซ์

โฟร์แทรกซ์
ใบปลิวของญี่ปุ่น
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่าย
เครื่องเล่นอาร์เคด, เมกาไดรฟ์/เจเนซิส
วางจำหน่าย
แนวแข่งความเร็ว
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

โฟร์แทรกซ์[a] (อังกฤษ: Four Trax) เป็นเกมอาร์เคดแข่งความเร็ว ค.ศ. 1989 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทนัมโค ซึ่งเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือโดยบริษัทอาตาริเกมส์ และย้ายไปยังระบบเมกาไดรฟ์/เจเนซิสเมื่อ ค.ศ. 1991 ในชื่อควอดชาลเลนจ์

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ผู้เล่นควบคุมรถควอดไบก์สี่คัน (สีแดงสำหรับผู้เล่นคนที่ 1, สีขาวสำหรับผู้เล่นคนที่ 2, สีเหลืองสำหรับผู้เล่นคนที่ 3 และสีเขียวสำหรับผู้เล่นคนที่ 4) ซึ่งแข่งขันแบบ "ออฟโรด" พวกเขาทั้งหมดมีระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในการดำเนินการจนครบรอบของลู่วิ่ง แต่สำหรับแต่ละรอบของลู่วิ่งที่ทำสำเร็จ เวลาของผู้เล่นจะถูกขยายออกไป อย่างไรก็ตาม หากผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่สามารถจัดการให้เสร็จสิ้นในรอบปัจจุบันของลู่วิ่งก่อนที่เวลาจะหมดลง เกมของผู้เล่นคนนั้นจะจบลงทันทีและการแข่งจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีพวกเขา ผู้เล่นต้องเล่นให้เสร็จสิ้นระหว่างสามถึงหกรอบเต็มของลู่วิ่งเพื่อที่จะชนะ (จำนวนจะขึ้นอยู่กับวิธีการตั้งค่าตู้ทั้งสอง เช่นเดียวกับรอบสุดท้ายของไฟนอลแลป ซึ่งเป็นเกมของบริษัทนัมโคเอง) นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถพบไบก์ที่ควบคุมด้วยซีพียูสีน้ำเงินระหว่างสี่ถึงเจ็ดคันบนสนามแข่ง เนื่องจากจำนวนจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่น (เจ็ดคันสำหรับผู้เล่นคนเดียว, หกคันสำหรับผู้เล่นสองคน, ห้าคันสำหรับสามคน และสี่คันสำหรับสี่คน)

การตอบรับและสิ่งสืบเนื่อง

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์89 เปอร์เซ็นต์ (อาร์เคด)[2]
บีป! เมกาไดรฟ์5.5/10 (เมกาไดรฟ์)[3]
เซกา-166/10 (เจเนซิส)[4]

ในทวีปอเมริกาเหนือ เวอร์ชันอาร์เคดเป็นวิดีโอเกมใหม่ที่ทำรายได้สูงสุดในชาร์ตอาร์เคดรีเพลย์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990[5] ส่วนเวอร์ชันเซกา เจเนซิส เปิดตัวด้วยการประโคมโฆษณาเพียงเล็กน้อย และไม่เคยสร้างตัวเลขยอดขายที่สำคัญ[6]

โฟร์แทรกซ์ถือเป็นหนึ่งในเกมการแข่งรถออฟโรดเกมแรกสำหรับระบบคอนโซล โดยเปิดตัวมานานกว่า 10 ปีก่อนที่เกมเอทีวี ออฟโรดฟิวรี สำหรับเพลย์สเตชัน 2 จะนำเกมประเภทนี้เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม เกมนี้ได้กลายเป็นประเภทเฉพาะอีกครั้งตั้งแต่บริษัททีเอชคิวติการผลิตซีรีส์เอ็มเอกซ์ เวอร์ซัส เอทีวี[6] โดยก่อนที่จะมีการยกเลิกซีรีส์เอ็มเอกซ์ เวอร์ซัส เอทีวี การขับรถเอทีวีไปตามเส้นทางวงจรปิดไม่เคยดึงดูดผู้ชมกลุ่มหลักที่เป็นคอเกมมากนัก[6]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. フォートラックス Fō Torakkusu

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "International News: London Preview". RePlay. Vol. 15 no. 4. January 1990. pp. 140, 142.
  2. 2.0 2.1 "Arcade Action: Four Trax". Computer + Video Games. No. 96. October 1989. p. 96. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  3. "メガトラックス" (PDF). BEEP!. Beep! Mega Drive. September 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  4. Horowitz, Ken (10 October 2011). "Quad Challenge". Sega-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2017. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  5. "RePlay: The Players' Choice". RePlay. Vol. 15 no. 7. April 1990. p. 4.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Advanced game summary". Sega-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-27.