โรงพยาบาลสระบุรี Saraburi Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 18 ถนนเทศบาล 4 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000, ประเทศไทย |
พิกัด | 14°32′04″N 100°54′57″E / 14.534514°N 100.915730°E |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ภูมิภาค |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 700 เตียง |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 14 มกราคม พ.ศ. 2497 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลสระบุรี เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสระบุรี ประเทศไทย และจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลระดับภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทซึ่งจัดอบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]
โรงพยาบาลสระบุรีได้รับการสร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2494 นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สี่นอกกรุงเทพมหานคร และเดิมมีอาคารหนึ่งหลัง โรงพยาบาลดังกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2497 ครั้นใน พ.ศ. 2515–2519 โรงพยาบาลนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคในภาคกลางของประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และได้ขยายเพิ่มเป็น 600 เตียง โดยโรงพยาบาลได้รับการจัดเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคใน พ.ศ. 2524
ครั้นใน พ.ศ. 2536 ทางโรงพยาบาลได้ทำสัญญากับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 และ 5 ในสาขาอายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, สูตินรีเวชวิทยา, กุมารเวชศาสตร์ และวิสัญญีวิทยา ส่วนการสอนนักเรียนภายใต้โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) เริ่มต้นใน พ.ศ. 2538 เมื่อสร้างศูนย์แพทยศาสตรศึกษาขึ้นที่โรงพยาบาลสระบุรี[2]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมือ พุทธศักราช 2538 ตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง ในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
จากปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม มีผลกระทบโดยตรงด้านคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขกับประชาชนในชนบท ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มในปี 2536 โรงพยาบาลสระบุรีได้รับมอบหมายให้เป็นสถาบันสมทบในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ชั้นปีที่ 4 - 6 ต่อมาปีพ.ศ. 2537 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กับ ทบวงมหาวิทยาลัย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย มีระยะเวลา 10 ปี (ใช้เวลาดำเนินการ 16 ปี) ภายใต้หลักการสำคัญ คือ ทบวงมหาวิทยาลัย รับผิดชอบในการจัดทำหลักสูตร รับผิดชอบผลิตบัณฑิตแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่แพทยสภากำหนดประสาทปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 1 - 3 ส่วนกระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4 - 6 ภายใต้การดูแลและสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย
ในปี 2538 กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์ โดยระยะแรกมีจำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลสระบุรีด้วย ที่ได้ดำเนินการร่วมในการผลิตแพทย์ตาม โครงการฯ และเริ่มรับนักศึกษาแพทย์ ในโครงการฯ นี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี เป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลสระบุรี มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ชั้นคลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 12 แห่ง โดยโรงพยาบาลสระบุรีมีสัญญาผูกพันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์