Chulachomklao Royal Military Academy | |
เครื่องหมายราชการ | |
ชื่อย่อ | รร.จปร. / CRMA |
---|---|
คติพจน์ | สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา (ความเป็นผู้พร้อมเพรียงแห่งชน ผู้เป็นหมู่แล้วทั้งหลายทั้งปวงให้ความเจริญสำเร็จ) |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 |
สังกัดการศึกษา | กรมยุทธศึกษาทหารบก |
ผู้บัญชาการ | พลโท อุดม แก้วมหา [1] |
ที่ตั้ง | |
สี | สีแดง-เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ชื่อย่อ: รร.จปร.) เป็นสถาบันการศึกษาทางทหาร ในระดับอุดมศึกษาในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบก ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เรียกว่า นักเรียนนายร้อย (นนร.) ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ จำปีสิรินธร ปัจจุบัน (1 ตุลาคม 2567) พลโท อุดม แก้วมหา เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พลตรี เทพพิทักษ์ นิมิตร และ พลตรี เอกอนันต์ เหมะบุตร เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็กที่เรียกวว่า "ทหารมหาดเล็กไล่กา" จำนวน 12 คน ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิมให้เป็นทหารมหาดเล็กสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงเรียกทหารในชุดนี้ว่า "ทหาร 2 โหล" และต่อมาได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กเป็น 72 คน แต่งตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด
ในห้วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรไมตรีกับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในปี พ.ศ. 2486 ฝ่ายพันธมิตรได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายในกรุงเทพมหานครอย่างหนัก ทางราชการจึงคิดแผนการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใหม่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2487 นักเรียนนายร้อยทุกหลักสูตรและทุกคน จึงได้ออกเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสามเสน ไปลงที่สถานีรถไฟตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก 112 กิโลเมตร เข้าสู่หมู่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดทำการสอนนักเรียนนายร้อยอยู่ไม่นาน พอต้นปี พ.ศ. 2488 ได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งสงครามสงบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 โรงเรียนนายร้อยจึงได้กลับมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งเดิม
พ.ศ. 2489 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อย เป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปีตามแบบอย่างโรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา
รายนามผู้บัญชาการ | ||
---|---|---|
พระนามและนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | พ.ศ. 2449–2452 | |
2. พันเอก พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ทองดี ภีมะโยธิน) | พ.ศ. 2456–2458 | |
3. พันเอก พระยาอุปเทศทวยหาญ (เชื่อม ประพันธโยธิน) | พ.ศ. 2458–2468 | |
4. พลตรี พระยารามรณรงค์ (หม่อมหลวงชวย ฉัตรกุล) | พ.ศ. 2467–2471 | |
5. พลตรี พระยาเสนีย์ณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์) | พ.ศ. 2471–2473 | |
6. พลตรี หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี | พ.ศ. 2473–2475 | |
7. พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) | พ.ศ. 2475–2476 | |
8. พันโท หลวงวิภาครัฐกิจ (ศุข เมนะรุจิ) | พ.ศ. 2476–2479 | |
9. พันเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์) | พ.ศ. 2479–2483 | |
10. พันโท ขุนเรืองวีระยุทธ | พ.ศ. 2483–2489 | |
11. พลตรี หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร ราชเสนากฤดากร | พ.ศ. 2489–2490 | |
12. พลตรี เดช เดชประดิยุทธ | พ.ศ. 2490 | |
13. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ | พ.ศ. 2490–2491 | |
14. พลตรี กำปั่น กัมปนาทแสนยากร | พ.ศ. 2492–2495 | |
15. พลตรี ขุนเสนาทิพ | พ.ศ. 2495–2503 | |
16. พลตรี อ่อง โพธิกนิษฐ | พ.ศ. 2503–2506 | |
17. พลตรี บุญชัย บำรุงพงศ์ | พ.ศ. 2506–2507 | |
18. พลตรี สำราญ แพทยกุล | พ.ศ. 2507–2510 | |
19. พลตรี บุญ รังคะรัตน์ | พ.ศ. 2510–2515 | |
20. พลตรี ชัย สุรสิทธิ์ | พ.ศ. 2515–2519 | |
21. พลตรี ปิ่น ธรรมศรี | พ.ศ. 2519 | |
22. พลตรี จวน วรรณรัตน์ | พ.ศ. 2519–2522 | |
23. พลตรี ยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค | พ.ศ. 2522–2524 | |
24. พลตรี วิจิตร สุขมาก | พ.ศ. 2524–2528 | |
25. พลตรี นิยม ศันสนาคม | พ.ศ. 2528–2531 | |
26. พลตรี เผด็จ วัฒนะภูติ | พ.ศ. 2531–2532 | |
27. พลตรี ขจร รามัญวงศ์ | พ.ศ. 2532 | |
28. พลโท สมพร เติมทองไชย | พ.ศ. 2532–2534 | |
29. พลโท วัฒนา สรรพานิช | พ.ศ. 2534–2536 | |
30. พลโท บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ | พ.ศ. 2536–2537 | |
31. พลโท อาวุธ วิภาตะพันธุ์ | พ.ศ. 2537–2539 | |
32. พลโท อำนวย สวนสมจิตร | พ.ศ. 2539–2541 | |
33. พลโท สมทัต อัตตะนันทน์ | พ.ศ. 2541–2543 | |
34. พลโท สมชาย อุบลเดชประชารักษ์ | พ.ศ. 2543–2544 | |
35. พลโท ชาตรี ศิรศรัณย์ | พ.ศ. 2544–2546 | |
36. พลโท พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ | พ.ศ. 2546 | |
37. พลโท ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | พ.ศ. 2546–2547 | |
38. พลโท สุเทพ โพธิ์สุวรรณ | พ.ศ. 2547–2548 | |
39. พลโท กมล แสนอิสระ | พ.ศ. 2548–2550 | |
40. พลโท วรวิทย์ พรรณสมัย | พ.ศ. 2550–2552 | |
41. พลโท ปริญญา สมสุวรรณ | พ.ศ. 2552–2554 | |
42. พลโท ดนัย มีชูเวท | พ.ศ. 2554–2555 | |
43. พลโท พอพล มณีรินทร์ | พ.ศ. 2555–2557 | |
44. พลโท ชาญชัย ยศสุนทร | พ.ศ. 2557–2558 | |
45. พลโท ถกลเกียรติ นวลยง | พ.ศ. 2558–2559 | |
46. พลโท สิทธิพล ชินสำราญ | พ.ศ. 2559–2562 | |
47. พลโท ณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ | พ.ศ. 2562-2563 | |
48. พลโท จิรเดช กมลเพ็ชร | พ.ศ. 2563-2564 | |
49. พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ | พ.ศ. 2564-2566 | |
50. พลโท ไกรภพ ไชยพันธ์ | พ.ศ. 2566-พ.ศ.2567 | |
51. พลโท อุดม แก้วมหา[5] | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นคำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามในขณะดำรงตำแหน่งในขณะนั้น