โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
Hatyai Wittayalai School
ตราประจำโรงเรียน หาดใหญ่วิทยาลัย
สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นญ.ว. / YW / YORWOR
ประเภทโรงเรียนในกำกับของรัฐ
สถาปนา6 กันยายน พ.ศ. 2488 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
นายกลับ ส่งศรี ครูใหญ่ท่านแรก
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส10039011018
ผู้อำนวยการนายพงศ์ศักดิ์ สังข์ถาวร
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี   สีฟ้า - สีแดง
เพลงมาร์ชหาดใหญ่วิทยาลัย
เว็บไซต์www.hatyaiwit.ac.th

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีชื่อเสียงลำดับต้น ๆ ของประเทศ มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูลจิระนคร เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน จำนวน 14 ไร่ และ เทศบาลนครหาดใหญ่ บริจาคเพิ่มเติมอีก 2 งาน รวมเป็น 14 ไร่ 2 งาน ประกอบด้วยอาคารเรียน 8 หลัง มีห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 42 ห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 57 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 100 ห้องเรียน มีนักเรียนประมาณ 4,500 คน

ประวัติ

[แก้]

ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 468 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูลจิระนคร เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน จำนวน 14 ไร่ และเทศบาลนครหาดใหญ่ บริจาคเพิ่มเติมอีก 2 งาน รวมเป็น 14 ไร่ 2 งาน กรมสามัญศึกษาได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหาดใหญ่ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2488 ชื่อว่า โรงเรียนหาดใหญ่ อักษรย่อ ส.ข.3 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงที่ 3 ของจังหวัดสงขลา ในระยะต้นเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย จึงเรียติดปากกันว่า โรงเรียนมัธยมชาย หรือ มอชาย มีชื่อย่อที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า มชญ. เปิดสอนรุ่นแรกในระดับชั้น ม.1 มีนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน มีครู 3 คน ได้แก่นายกลับ ส่งศรี (ครูใหญ่), นายอุทิศ นิยกาญจน์ และนายยงยุทธ มุณีแนม อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ด้านหน้าปลูกต้นจามจุรี จำนวน 3 ต้น ไว้เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน ด้านหน้าโรงเรียนเป็นสนามฟุตบอลใช้แข่งขันกีฬาอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อได้ครองถ้วยรางวัลชนะเลิศฟุตบอลกีฬาจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้ตั้งชื่อถ้วยใบนี้ว่า ถ้วยตรี-จักร เป็นสัญลักษณ์กีฬาเด่นของโรงเรียน

พ.ศ. 2494

มีนักเรียนชั้น ม.6 รุ่นแรกสอบได้ที่ 1 ของจังหวัดสงขลา เป็นการจุดประกายความเป็นเลิศทางวิชาการ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงการรับนักเรียนจากชายล้วนเป็นสหศึกษา โดยยุบรวมกับโรงเรียนสตรีหาดใหญ่ "สมบูรณ์กุลกันยา" ในปี พ.ศ. 2509 ในระยะนี้กรมสามัญศึกษาได้ให้งบประมาณสร้างอาคาร 1, 2, 3 และ 4 เป็นลำดับ และโรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการมัธยมแบบประสม (คมส.) เมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเทียบเท่าอารยะประเทศ ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงมากขึ้น จำนวนนักเรียนชายและหญิงเพิ่มขึ้นถึง 1,200 คน

พ.ศ. 2512

เปิดสอนหลักสูตรโครงการมัธยมแบบประสม (คมส) เป็นปีแรก

พ.ศ. 2513

เริ่มเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้เพิ่มคำว่า"วิทยาลัย"ต่อจากชื่อเดิมเป็น ชื่อ "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย" ใช้อักษรย่อว่า ญ.ว. ในปี 2514 นักเรียน ม.ศ.5 รุ่นแรกได้ทำชื่อเสียงทางด้านวิชาการให้กับโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสอบติดบอร์ดระดับประเทศได้ถึง 7 คน

พ.ศ. 2517

กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอนเป็น 2 ผลัด เนื่องจากมียอดนักเรียนสมัครเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 เป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดรวมของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2519 มีนักเรียน 2,800 คน มีครูอาจารย์ จำนวน 180 คน โดยมีอาคารเรียน 4 หลัง อาคารอุตสาหกรรม 1 หลัง อาคารคหกรรม 1 หลัง อาคารชั่วคราว 2 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2523

พ.ศ. 2524

เปิดศูนย์เกษตรกรรมที่พรุค้างคาว ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ เป็นสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย มีเนื้อที่ประมาณ 74 ไร่

พ.ศ. 2525

เทศบาลเมืองหาดใหญ่ บริจาคที่ดินจำนวน 2 งาน เพื่อสร้างอาคารเรียน 5 เชื่อมต่อกับหอประชุมราชาวดี และได้จัดสร้างองค์พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ และทำพิธีปลุกเสกในวันที่ 16 มกราคม 2525 เพื่อเป็นองค์ตัวแทนสถาบันครู ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นคติของลูก ญ.ว. ทุกคนว่า "ผู้ใดบูชาครูเป็นมงคลแก่บุคคลนั้น"

พ.ศ. 2526

เปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ณ ที่ตั้งของโรงเรียนสตรีหาดใหญ่เดิม

พ.ศ. 2532

นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงคณิตศาสตร์โอลิมปิก จากการแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการ (ซึ่งเป็นเหรียญรางวัลทางโอลิมปิกวิชาการเหรียญแรกของประเทศไทย) โดยนายไพศาล นาคมหาชลาสินธุ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เหรียญรางวัลดังกล่าวต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์คำว่า "เรียนดี" ตามปรัชญาของโรงเรียน

พ.ศ. 2534

กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้จัดตั้งสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา โดยใช้ที่ดินศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ และพื้นที่บ้านพักครู-อาจารย์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

พ.ศ. 2540

กรมสามัญอนุญาตให้ศูนย์เกษตรกรรมตำบลบ้านพรุ สาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จัดตั้งเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2

พ.ศ. 2542

โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 จาก UKAS ประเทศอังกฤษ โดยผู้อำนวยการเกษียร ภู่กลาง

พ.ศ. 2544

โรงเรียนได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงามเป็นแหล่งเรียนรู้และเสริมสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้

พ.ศ. 2565

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้ก่อสร้าง "อาคารอนุสรณ์ 60 ปี หาดใหญ่วิทยาลัย" โดยได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเงิน 46,690,000 บาท

อาคารภายในโรงเรียน

[แก้]

อาคารภายในโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ประกอบด้วย

อาคารอำนวยการ

[แก้]
  • ชั้น 1 ลานอเนกประสงค์
  • ชั้น 2 สำนักงานผู้อำนวยการ
  • ชั้น 3 สำนักงานโครงการ SMT, สำนักงานโครงการห้องเรียนนวัตกรรม EIS
  • ชั้น 4 ห้องสมุดวิทยาศาสตร์
  • ชั้น 5 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • ชั้น 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

อาคารเรียน 1 ส่งศรีอนุสรณ์

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาเคมี, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (โครงการ สอวน. และ พสวท.), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จำนวน 2 ห้อง

อาคารเรียน 2 ขจรตรีจักร

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ, สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ
  • ชั้น 2 ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องสมุดคณิตศาสตร์
  • ชั้น 4 ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง

อาคารเรียน 3 จุฑาทักษิณ

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการกองพันนักศึกษาวิชาทหาร ROTC, ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา จำนวน 3 ห้อง
  • ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง
  • ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จำนวน 3 ห้อง

อาคารเรียน 4 สิรินธรา

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริการงานทั่วไป, สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์), ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ลานศิลป์
  • ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป 2 ห้อง และ ทางเชื่อมไปยังหอประชุมราชาวดี
  • ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ SMT จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ห้อง 430 - 433 (ปัจจุบันได้รับการตกแต่งด้วยวัสดุสีเขียวเป็นหลักและใช้เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนโครงการ SMT)
  • ชั้น 4 ห้องเรียนโครงการนวัตกรรม EIS จำนวน 4 ห้อง

หอประชุมราชาวดี

[แก้]
  • ชั้น 1 ห้องสมุดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 2 หอประชุมราชาวดี โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย, หอประวัติโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (พิพิธภัณฑ์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย)

อาคารเรียน 5 ศรีปัทมราช

[แก้]
  • ชั้น 1 ศูนย์อาหาร ญ.ว.
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องสมุดภาษาไทย, ห้องเรียนทั่วไป
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียน Video Conference, ห้องเรียนทั่วไป
  • ชั้น 4 ห้องค้นคว้า, ห้องสมุดภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนทั่วไป

อาคารเรียน 6 พัฒนพล

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริหารบุคคล (ฝ่ายปกครอง), สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา, ห้องเรียนสุขศึกษา
  • ชั้น 2 พัฒนพลยิมเนเซียม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย, สำนักงานศูนย์แนะแนวต้นแบบ, ห้องแนะแนว
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี), ห้องปฏิบัติการดนตรี จำนวน 3 ห้อง, ห้องวงโยธวาทิต

อาคารเรียน 7 ดลวัฒน์

[แก้]
  • ชั้น 1 สำนักงานพยาบาล, สำนักงานประชาสัมพันธ์, สำนักงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, สำนักงานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์), ห้องปฏิบัติการคหกรรม จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สำนักงานศูนย์โครงการ AFS, ห้องเรียนรวม
  • ชั้น 5 สำนักงานโครงการ English Program (EP), ห้องเรียนโครงการ EP, ห้องสมุดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ชั้น 6 สำนักงานกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องเรียนทั่วไป และห้องเรียนโครงการพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง
  • ชั้น 7 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป

อาคาร 60 ปี โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

[แก้]
  • ชั้น 1 ลานอเนกประสงค์
  • ชั้น 2 ห้องสมุดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ พสวท. และ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE / วิทย์สพฐ.), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์, สำนักงานโครงการ พสวท.
  • ชั้น 4-7 สำนักงานโครงการ Science Math Ability (SMA), ห้องเรียนโครงการ SMA

ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้นละ 14 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน ดังนี้

  1. โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science Math Ability (SMA) จำนวน 3 ห้องเรียน
  2. โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี Science Math Technology (SMT) จำนวน 1 ห้องเรียน
  3. โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP) จำนวน 2 ห้องเรียน
  4. โครงการการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนสองภาษาพอเพียงรูปแบบ English for Integrated Studies (EIS) จำนวน 2 ห้องเรียน
  5. ห้องเรียนทั่วไป จำนวน 6 ห้องเรียน

แผนการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้นละ 20 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 60 ห้องเรียน ประกอบด้วย 5 โครงการพิเศษ และ 5 แผนการเรียน ได้แก่

แผนการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ห้องเรียน หลักสูตร
ห้อง 1 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโครงการห้องเรียนพสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)
ห้อง 2, 3, 4 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SMA)
ห้อง 5 โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMT)
ห้อง 12 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP)
ห้อง 6, 7, 8, 9, 10, 11 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
ห้อง 13, 14, 15 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
ห้อง 16 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส
ห้อง 17 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาเกาหลี, ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น
ห้อง 18 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
ห้อง 19 โครงการห้องเรียนพิเศษนิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (LP)
ห้อง 20 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE / วิทย์สพฐ.)

เพิ่มเติม ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียน พสวท. จะได้รับทุนการศึกษาตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงการ

รายนามผู้บริหารโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและประวัติผู้อำนวยการ

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. นายกลับ ส่งศรี (ครูใหญ่) 06 ก.ย. 2488 - 26 ม.ค. 2492
2. นายแช่ม ไวทยินทร์ (ครูใหญ่) 27 ม.ค. 2492 - 08 ก.ย. 2494
3. นายคม ภิรมยาภรณ์ (ครูใหญ่) 08 ก.ย. 2494 - 21 ต.ค. 2496
4. นายวรวิร์ ผ่องศรี (ครูใหญ่) 22 ต.ค. 2496 - 24 มิ.ย. 2502
5. นายไสว ทองสุก (ครูใหญ่) 25 มิ.ย. 2502 - 01 มิ.ย. 2504
6. นายยิน เจริญสุข (ครูใหญ่) 13 ก.ค. 2504 - 10 ส.ค. 2508
7. ว่าที่ รต.วิจิตร วิจิตรสงวน (ผู้อำนวยการ) 03 พ.ย. 2508 - 30 ก.ย. 2515
8. นายบัญญัติ บูรณหิรัญ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2515 - 16 มิ.ย. 2519
9. นายสมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ (ผู้อำนวยการ) 18 ม.ค. 2520 - 01 มิ.ย. 2522
10. นายธรรมนูญ วิสัยจร (ผู้อำนวยการ) 13 พ.ย. 2522 - 30 พ.ย. 2528
11. นายกระจ่าง สัญชาตวิรุฬห์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2529
12. นายวิรัช บุญนำ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2535
13. นายกระจ่าง สัญชาตวิรุฬห์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
14. นายเกษียร ภู่กลาง (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2543
15. นายสงบ มณีพรหม (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2543 - 30 มี.ค. 2554
16. ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2554 - 30 ก.ย. 2559
17. ว่าที่ร้อยตรี ดร.ทรงเกียรติ พืชมงคล (ผู้อำนวยการ) 22 พ.ย. 2559 - 30 ก.ย. 2561
18. ดร.ถนอมทรัพย์ นูนน้อย (ผู้อำนวยการ) 01 พ.ย. 2561 - 04 ก.ย. 2563
19. ดร.อุดม ชูลีวรรณ (ผู้อำนวยการ) 22 ต.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2566
20. นายพงศ์ศักดิ์ สังข์ถาวร (ผู้อำนวยการ) 2 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]