บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ ส ช, ACS |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | LABOR OMNIA VINCIT ความวิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ |
สถาปนา | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 |
ผู้ก่อตั้ง | ภราดาเทโอฟาน (ชิน บุณยานันทน์) |
ผู้อำนวยการ | ภราดา ดร.พิสูตร วาปีโส |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่น |
สี | แดง ขาว |
เพลง | มาร์ชอัสสัมชัญศรีราชา, สดุดีอัสสัมชัญ |
เว็บไซต์ | www.acs.ac.th |
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (อังกฤษ: Assumption College Sriracha อักษรย่อ: อสช, ACS) ก่อตั้งโดย ภราดาเทโอฟาน (ชิน บุณยานันทน์) วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) และเป็นอันดับที่ 5 ใน 14 สถาบันของคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เปิดสอนในระบบสหศึกษา รับทั้งนักเรียนประจำและไป-กลับ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2484-2486 ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานที่ต่าง ๆ ในพระนคร รวมทั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดอย่างหนัก โรงเรียนจึงปิดทำการชั่วคราว คณะภราดาเห็นว่าถ้ายังอยู่ในพระนคร อาจได้รับอันตรายจึงได้พยายามหาสถานที่ที่ปลอดภัย เพื่อเปิดทำการสอนต่อไป
ในราวเดือนธันวาคม 2485 คณะภราดาจึงได้ตัดสินใจอพยพนักเรียนส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเด็กกำพร้า และนักเรียนประจำ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ มาเปิดทำการสอนที่ศรีราชาชั่วคราว คณะภราดา ครู และนักเรียนรุ่นแรก เรียกว่า “รุ่นบุกเบิก” ต่างช่วยกันแผ้วถางปรับพื้นป่าให้เป็นโรงเรียน เปลี่ยนไร่ตะไคร้เป็นไร่สับปะรดจนกลายเป็นไร่สับปะรด เอ ซี ที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากและนำผลผลิตจากไร่ไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้มาจุนเจือโรงเรียน และเลี้ยงดูนักเรียนในระหว่างสงคราม
กลางปี พ.ศ. 2486 สงครามโลกสิ้นสุดลง โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) เปิดทำการสอนตามเดิม แต่อาคารนอนของนักเรียนประจำถูกทำลายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถย้ายเด็กกำพร้า และนักเรียนประจำจากศรีราชากลับไปอยู่ที่พระนครได้ จึงจำเป็นต้องเปิดทำการสอนที่ศรีราชาต่อไป ประกอบกับเยาวชนในท้องถิ่นสมัครเข้าเป็นนักเรียน ไป – กลับ จำนวนมากขึ้น คณะภราดาจึงตัดสินใจเปิดทำการสอนอย่างจริงจังครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 โดยมีภราดาเทโอฟาน (ชิน บุณยานันทน์) เป็นอธิการผู้ก่อตั้ง และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งโรงเรียนตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2491 และได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เป็น 1 ใน 17 สถาบันของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระบบสหศึกษา รับนักเรียนทั้งประเภทประจำและไป – กลับ
จากโรงเรียนกลางป่า พัฒนาเป็นอุทยาน สืบสานสู่การเป็น “เพชรบูรพา” ร่มรื่นตระการตาในเนื้อที่กว่า 550 ไร่ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ให้ทันต่อความก้าวหน้าของโลกยุคปัจจุบัน เป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญา ที่ผลิตเยาวชนและบุคลากรสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทย[1]
ตราสัญลักษณ์ชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชามีลักษณะ เป็นตราโล่สีแดงคาดสีขาว มีตัวอักษร ACS สีน้ำเงินอยู่กึ่งกลาง และมีปีคริสต์ศักราช 1944 สีนำเงินอยู่ใต้ตัวอักษร สีแดงและขาวนี้ให้ความหมายคือชาวอัสสัมชัญศรีราชา ทุกคนต้องรู้จักเสียสละ กล้าหาญ และ ทำในสิ่งที่ดีงาม
ความหมาย | |
---|---|
สีแดง ขาว น้ำเงิน | ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ |
สีแดง | เสียสละ กล้าหาญ อดทน |
สีขาว | บริสุทธิ์ จริงใจ |
ACS | Assumption College Sriracha |
1944 | ก่อตั้ง |
ตราของภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งสถาบันการศึกษาในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้งหมดใช้ตรานี้เป็นตราประจำสถาบันร่วมกัน ตรงกลางตราเป็นรูปโล่แบ่งสี่ซีก มีสัญลักษณ์ ดังนี้
A.M. มาจากคำละตินว่า "Ave Marie" หมายถึง "วันทา มารี" พระนางมารีย์พรหมจารีมารดาของพระเยซูคริสต์ หรืออีกนัยหนึ่ง A.M. หมายถึง "Alma Mater" หมายถึง "โรงเรียนแม่" — ส่วนดอกซ่อนกลิ่น แสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม — ในส่วนนี้จึงมีความหมายรวมว่า โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอาเป็นที่รักเคารพและบูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรักและความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจเสมอ ละรักใคร้สามัคคี ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใด
เปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมและแสงแดดไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา
ย่อจากภาษาฝรั่งเศส "Dieu Seul" หมายความว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ต ผู้สถาปนาคณะภราดาเซนต์คาเบรียล — โดยอีกนัยหนึ่ง D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, เครื่องหมายไม้กางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสต์ได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์, S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น
สำหรับพวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป
“นี่คือคฤหาสน์ของพระเป็นเจ้าและประตูแห่งสวรรค์” สถาปัตยกรรมรูปทรงพัดคลี่แห่งนี้ ภายในออกแบบเหมือนโรงละคร เพราะภายในโบสถ์ไม่มีเสากลาง อาศัยหลักการทางวิศวกรรมทำให้หลังคาและเพดานคงอยู่ได้โดยไม่พังทลายลงมา ด้านในสุดของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของแท่นบูชา เหนือขึ้นไปเป็นรูปแกะสลักพระเยซูถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขนขนาด 5.50 เมตร ทำจากไม้สัก สองฝั่งซ้ายขวามีรูปปูนปั้นแม่พระและนักบุญยอแซฟประดับอยู่อย่างสง่างาม ซึ่งรูปปั้นทั้ง 2 องค์นี้ปั้นด้วยปูนขึ้นมาเองตามจินตนาการของช่างปั้นโดยไม่ได้ใช้แม่พิมพ์อะไรเลย โบสถ์เดล โรซาริโอ นับเป็นสถานที่สำคัญของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา สร้างขึ้นในสมัยภราดามงฟอร์ต ดำรงตำแหน่งอธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ทำพิธีเสกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 โดยพระสังฆราช สงวน สุวรรณศรี
โบสถ์เดล โรซาริโอใช้ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณให้กับคณะภราดาและสัตบุรุษที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงเรียน ในสมัยก่อนเมื่อมีพิธีการสำคัญ เช่น พิธีแต่งงาน ต้องไปใช้โบสถ์ที่โรงเรียนดาราสมุทรซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามาก จึงเกิดเป็นคำเรียกโบสถ์ที่โรงเรียนดาราสมุทรอย่างติดปากว่า “วัดใหญ่” ส่วนโบสถ์ของอัสสัมชัญศรีราชาจึงเรียกกันว่า “วัดน้อย” และได้มีชื่อเรียกเป็นทางการเมื่อจัดฉลองโบสถ์ครบ 50 ปี ในสมัยภราดาเลอชัย ลวสุต ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ (พ.ศ. 2553) โดยใช้ชื่อศาสนนามของภราดามงฟอร์ต เดล โรซาริโอ มาเป็นชื่อโบสถ์ว่า “โบสถ์ เดล โรซาริโอ”
สร้างขึ้นในสมัย ภราดาหลุยส์ ชาแนล มี 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุมที่ชื่อว่าหลุยส์ ชาแนล เป็นหอประชุมขนาดใหญ่สุดในโรงเรียน ความจุที่รับได้ 1,000 คน มีเก้าอี้พร้อม ชั้นล่างเดิมเป็นห้องสมุดกลางของโรงเรียนปัจจุบันได้จัดทำให้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน มีชื่อว่า "ห้องเกียรติประวัติอัสสัมชัญศรีราชา" บริเวณด้านหน้าห้องเกียรติประวัติฯ มีห้องรับรอง และห้องประชุมออกัสติน ด้านทิสตะวันออกของตึกประกอบด้วยห้องวารสารและสิ่งพิมพ์ ห้องแต่งตัวสำหรับนักแสดงและทางขึ้นเวที ด้านหน้าประดิษฐานรูปหล่อของเจษฎาธิการมงฟอร์ด
เป็นตึกที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่สุดในโรงเรียน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แปลกตาอีกอย่างหนึ่งในโรงเรียน เรียกกันว่า ตึกผอม มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้น 1 จะเป็นห้องติดต่อสอบถามของแผนก MLP ชั้น 2-3 เป็นที่พักของคณะภราดา
Ose Memorial Building เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโรงเรียน หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยภราดาศักดา กิจเจริญ อาคารมีทั้งหมด 2 ชั้น ชั้น 1 เป็นสำนักงานของศูนย์พัฒนา ชั้น 2 เป็นห้องประชุม
มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “ยุวลัยเซนต์หลุยส์แมรี่ศรีราชา” แต่คนส่วนมากจะเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า บ้านเณร มีอธิการท่านแรกชื่อภราดาหลุยส์ ลูโดวิโก มารี เป็นชาวสเปนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ท่านเป็นอธิการที่ยาวนานที่สุดถึง 12 ปี
ส่วนนักเรียนที่มาสมัครเป็นยุวนิสซึ่งพวกเราเรียกว่า “เณร” จนติดปากมีตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เณรรุ่นแรกที่เป็นภราดา คือ ภราดาปัญญัติ โรจนารุณ และภราดาพิชิต พิทักษ์ (เสียชีวิตแล้วทั้งสองท่าน)
อาคารบ้านเณรหลังแรก เป็นอาคารไม้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณสะพานบาสเกตบอลในปัจจุบัน และถูกรื้อถอนไปเอาไม้ไปใช้ที่ขอนแก่น
ต่อมาคณะนักบวชคณะคามิลเลี่ยนได้มาสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น เป็นโรงพยาบาล เมื่อภายหลังได้ยุติการดำเนินงานด้านโรงพยาบาล ทางโรงเรียนจึงได้ใช้ตึกนี้เป็นที่พักของเณรแทน ให้ชื่อว่า “ตึกลูโดวิโก”
สระน้ำบริเวณบ้านเณร เรียกว่า “บ่อวิจารณ์” ถูกขุดในสมัยภราดา วิจารณ์ ทรงเสียงชัย อธิการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง และเป็นที่อาบน้ำของเด็กเณรโดยตักมาอาบตรงปากท่อ
ถ้ำแม่พระประจักษ์แห่งนี้สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นที่ระลึกฉลอง 50 ปี ที่คณะเซนต์คาเบรียลเข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นถ้ำจำลองที่แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูรด์ ชื่อถ้ำ “มัสชาเบียล” อยู่หน้าสุสานที่สร้างใหม่ ภายในถ้ำมีสิ่งสำคัญหลายสิ่ง ได้แก่ รูปภราดาที่เสียชีวิตในต่างประเทศ 5 ท่าน และมี 2 ท่าน ที่ได้เชิญศพมาผังที่สุสานแห่งนี้ด้วย
อัฐิธาตุนักบุญหลุยส์มารี เดอ มงฟอร์ต ถือเป็นสิ่งที่มีค่าและสำคัญต่อจิตใจของภราดาและเณรเป็นอย่างยิ่ง จากคำบอกเล่าจากผู้ที่รู้ว่าเป็นอัฐิธาตุชั้น 1 (กระดูกหรือชื้นส่วนของร่างกาย) ที่ได้นำมาไว้ที่บ้านเณรแห่งนี้นานมาแล้ว
บ้านพักรับรอง La Providence หรือที่เรียกกันติดปากว่า “บ้านใต้ต้นมะขาม” สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์การฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อตั้งบ้านเณรยุวลัยฯ เป็นบ้านพักสำหรับรับรองแขกผู้มาเยี่ยม ประชุมสัมมนา หรือปฏิบัติกิจศรัทธา
ที่พักนักเรียนประจำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 บริเวณข้างตึกประดิษฐานรูปนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ด ผู้ก่อตั้งภราดาคณะเซนต์คาเบรียล
เป็นตึกที่พักของนักกีฬาโครงการช้างเผือก
เป็นตึกที่พักของเณรยุวลัย
เป็นตึกเรียน ม.ต้น MLP ลักษณะคล้ายกับตึกเซนต์หลุยส์และตึกเซนต์คาเบรียล เป็นตึกก่ออิฐถือปูนสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนชั้นบนเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อประหยัดพื้นที่ แต่ละห้องของตึกนี้จะมีชื่อเป็นนามสกุลของผู้บริจาคสร้าง เช่น ห้องพิบูลสงคราม ที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม บริจาคสร้างไว้ เป็นต้น ด้านบนเป็นถังน้ำฝน
เดิมเป็นตึกมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะคล้ายกับตึกมงฟอร์ตและตึกเซนต์คาเบรียล เป็นตึกก่ออิฐถือปูนสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนชั้นบนเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อประหยัดพื้นที่ ด้านบนเป็นถังน้ำฝน ปัจจุบันปิดตึกปรับปรุง
เป็นตึกเรียนระดับประถมศึกษา MLP มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรีไทย ห้องนาฏศิลป์ ลักษณะคล้ายกับตึกเซนต์หลุยส์และตึกมงฟอร์ต เป็นตึกก่ออิฐถือปูนสองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนชั้นบนเป็นห้องเรียนสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อประหยัดพื้นที่ ด้านบนเป็นถังน้ำฝน
เรียกอีกชื่อว่า “ตึกกีฬา” โดยแตกต่างจากตึกในโรงเรียนที่ชื่อเป็นชื่อของนักบุญ ซึ่งเป็นชื่อที่มีความสำคัญทางศาสนาคริสต์ โดยตึกนี้ถูกสร้างเป็นพิเศษโดยไม่เสียเงิน เป็นการสร้างให้เปล่าของนายโกส่าย มอบให้เป็นของแถมแก่ภราดามงฟอร์ต เพราะ นายโกส่ายได้รับเหมาก่อสร้างตึกในโรงเรียนหลายหลัง คงได้กำไรมากพอสมควร จึงได้สร้างตึกเล็ก ๆ หลังหนึ่งเป็นของแถมให้กับภราดามงฟอร์ต เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ทางด้านกีฬา โดยขออนุญาตใช้นามสกุลของตนเป็นชื่อตึก ดังนั้นตึกนี้จึงได้ชื่อว่า “ตึกอุดมประเสริฐ” สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร ชั้นบนมีฝาผนังด้านข้างเพียง 2 ด้าน ไม่กันแบ่งเป็นห้องใช้เป็นพื้นที่นั่งดูกีฬาและกิจกรรมสำคัญ ๆ เช่น พิธีถวายราชสักการะในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันสถาปนาลูกเสือ วันแต่งตั้งกัปตันสีของโรงเรียน และพิธีอื่น ๆ ส่วนด้านหลังเป็นบอร์ดการจัดการเล่นออร์แกไนซ์เกมส์ประจำวัน ซึ่งเด็กประจำจะมาดูว่าวันนี้ทีมสีของตนจะไปเล่นกีฬาอะไร แข่งกับสีอะไร สนามอะไร และครูก็จะไปดูว่าจะต้องไปคุมสนามและกีฬาอะไร ป้ายนี้จะใช้จัดแข่งขันตลอดทั้งปี สำหรับชั้นล่างเคยใช้เป็นห้องทำงานของฝ่ายกิจกรรม ผนังด้านหน้าเป็นตู้โชว์ ถ้วย โล่รางวัล ที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ด้านทิศตะวันตกของตึกเป็นเสาธงชาติขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เป็นเสาธงชาติที่สูงที่สุดในภาคตะวันออก ปัจจุบันตึกชั้นล่างใช้เป็นที่อุปกรณ์กีฬาเล่นออร์แกไนซ์เกมส์และอุปกรณ์การสอนวิชาพลศึกษา
เดิมเป็นตึกเรียนของนักเรียนมัธยมปลายและชั้นบนสุดเป็นตึกนอนของนักเรียนประจำ ลักษณะเป็นสองปีกต่อกันคล้ายกับบูมเมอแรง มีบันไดตรงกลาง และบันไดเล็กบริเวณปีกต้านตะวันตก บริเวณหน้าตึกมีชาลายื่นออกไปเชื่อมกับ วงเวียนอนุสาวรีย์ภราดาเทโอฟาน ปัจจุบันเป็นตึกนอนของนักเรียนประจำ
เป็นศูนย์ดนตรีและกีฬามีทั้งหมด 2 ชั้นครึ่ง ชั้น 1 เป็นสนามแบดมินตัน สนามปิงปอง ห้องทูบีนัมเบอร์วัน ห้องเก็บพัสดุ ชั้น 1 ครึ่งเป็น ห้องซ้อมดนตรีไทย ห้องดนตรีสากล ห้องศิลปะ ชั้น 2 เป็นสนามบาสเกตบอลขนาดมาตรฐานโอลิมปิคพร้อมอัฒจันทร์ จุผู้ชมได้ถึง 1,200 คน
เป็นตึกสามชั้นลักษณะเป็นรูปตัวแอล ด้านหน้าตึกมีสนาม ด้านหน้าตึกประดิษฐานรูปพระนางมารีอาเสด็จสู่สวรรค์ ใช้เป็นตึกเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
เป็นตึกเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 มี 4 ชั้น มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องดนตรี ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์ ด้านหน้าตึกประดิษฐานรูปหล่อภราดาโดนาเซียง ตูลิเย อดีตภราดาที่มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินแก่นักเรียนประจำ
สร้างขึ้นในสมัยภราดาศักดา กิจเจริญ เป็นที่พักของนักเรียนประจำ ชั้น ม.3 - ม.4 มี 2 ชั้น ชั้น 1 เป็นห้องอาบน้ำ ห้องรับประทานอาหาร ห้อง คอมพิวเตอร์ ห้อง Study ชั้น 2 เป็นห้องนอนนักเรียนประจำ 900 คน ห้องพยาบาล ห้องพักมาสเตอร์คุมตึก
เป็นเรือนพยาบาลภายในโรงเรียน ภายในมีอุปกรณ์ทางการรักษาพยาบาล ห้องพักผู้ป่วย เตียงนอน 30 เตียง
เป็นหอพักนักเรียนหญิง ม.ปลาย สร้างในสมัยภราดาศักดา กิจเจริญ
เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาดใหญ่ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ก่อสร้างขึ้นเพื่อแทนอาคารโภชนาคารโฮโนราหลังเก่าสร้างมานานแล้วประมาณ 24 ปี ลักษณะของอาคารเป็นเหมือนโรงงานก่อสร้างชั่วคราว เพื่อกันการเวนคืนพื้นที่ มีการแก้ไขปรับปรุงดัดแปลงหลายครั้ง มีสภาพร้อนอบอ้าว และยากที่จะรักษาความสะอาด สถานที่คับแคบ เป็นอุปสรรคในการเตรียมปรุงอาหาร และการซื้ออาหารของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นมาจำนวนมาก ดังนั้นภราดาศักดา กิจเจริญ จึงสร้างอาคารโภชนาการหลังใหม่ขึ้นบริเวณแนวที่ว่างระหว่างตึกเรยีนา เชลี กับตึกเซนต์เมรี่ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับนักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนบุคคลภายนอกที่มาขอใช้สถานที่ของโรงเรียนจัดงานอยู่บ่อย ๆ โดย ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา อธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย ในสมัยนั้น ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 โดย พระสังฆราชซิลวีโอสิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานเสกอาคาร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโภชนาคารศักดา กิจเจริญ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ปัจจุบันชั้นบนเป็นโรงอาหาร และห้องสมุดกลาง ส่วนชั้นล่าง เป็นที่ทำการของฝ่ายธุรการ - การเงิน ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายนักเรียนประจำ ฝ่ายบริการทั่วไป ฝ่ายอาคารสถานที่ ห้องประชาสัมพันธ์ และสำนักผู้อำนวยการ
เป็นอาคาร 5 ชั้น ขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นล่างเป็นที่ทำการของฝ่ายกิจการนักเรียน ห้องควบคุมโสตทันูปกรณ์ ศูนย์ปริ้นเตอร์และคอมพิวเตอร์
เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่ภายในโรงเรียน ทำหน้าที่เก็กกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน กลางสระมีน้ำพุ ริมสระประดิษฐานรูปนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ดผู้ก่อตั้งภราดาคณะเซนต์คาเบรียลและเป็นจุดหนึ่งที่มีความโรแมนติคที่สุดแห่งหนึ่งในโรงเรียน
เป็นสนามบาสเก็ตบอล ขนาด 16 สนาม (จากเดิมที่มี 12 สนาม) ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าตึกสุวรรณสมโภช และโรงแบดมินตัน ซึ่งสนามบาสติดกับสนามสิรินธร สนามนี้เป็นสนามที่ใช้ในการแข่งขัน รวมถึงถ่ายทำภาพยนตร์ต่าง ๆ มากมาย เช่น เด็กหอ เป็นต้น
สร้างในสมัยอธิการมงฟอร์ตจนถึงอธิการโฮโนร่า บริเวณหลังตึกเทโอฟานเคยเป็นสนามกรีฑามาก่อน สนามแห่งนี้เรียกว่าสนามกรีฑาเก่า สร้างขึ้นจากแนวคิดของบราเดอร์อาร์เธอร์ บัฟติสลุยโนที่จะปรับพื้นที่บริเวณนั้นสร้างเป็นสนามสำหรับการแข่งขันกรีฑาสี แต่ด้วยเหตุที่ไม่มีผู้ชำนาญการเฉพาะทาง สนามที่ได้มาจึงผิดจากมาตรฐานของสนามกรีฑาทั่วไป ซึ่งจะต้องมีทางตรง 80 เมตร ทางโค้ง 120 เมตร แต่สนามนี้มีความยาวทางตรง 100 เมตร ทางโค้ง 100 เมตร ในยุคนั้นยังไม่มีอัฒจรรย์สำหรับนั่งชมหรือเชียร์ เมื่อมีการแข่งขันกรีฑาครั้งใด กองเชียร์ก็จะต้องหาใบมะพร้าวหรือใบไผ่มาทำเป็นซุ้มเชียร์อยู่โดยรอบสนาม
ต่อมาในสมัยภราดาหลุยส์ ชาแนล ได้มีการย้ายสนามกรีฑามาสู่สนามแห่งใหม่ที่ด้านหน้าตึกเทโอฟาน เรียกว่าสนามหลุยส์ ชาแนล หลังจากนั้นในสมัยภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ (ดำรงตำแหน่งอธิการ พ.ศ. 2532-2534) ได้ริเริ่มปรับปรุงสนามให้ดีขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยทำพื้นใหม่ และสร้างลู่วิ่งแบบถาวร สร้างอัฒจรรย์โดยรอบ โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยภราดาหลุยส์ ชาแนล (ดำรงตำแหน่งอธิการเป็นวาระที่ 2 พ.ศ. 2535 - 2540) และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสนามอย่างเป็นทางการ และไดรับพระราชทานชื่อสนามว่า “สนามสิรินธร” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในการนี้ทรงปลูกต้นสาธรไว้ที่ริมสนาม แต่เป็นที่น่าเสียดายต้นสาธรต้นนี้ถูกตัดลงในสมัยภราดา ดร.ชำนาญ เหล่ารักผล
สนามกรีฑาเก่าและสนามสิรินธร เป็นอีกหนึ่งสถานที่หนึ่งที่มีความทรงจำของนักเรียนอัสสัมชัญศรีราชาประทับอยู่ทุกตารางเมตร เพราะเป็นทั้งสถานที่แข่งขันกีฬาภายใน รวมถึงฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันกับภายนอก เป็นพื้นที่ที่บ่มเพาะนักกีฬา สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน และเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวอัสสัมชัญศรีราชาเสมอมา
หลังจากที่ นายโกส่ายได้ขอสร้างตึกเล็ก ๆ หลังหนึ่งเป็นของแถมให้อธิการมงฟอร์ตเป็นตึกที่ใช้ประโยชน์สำหรับการกีฬา แต่ขออนุญาตใช้นามสกุลของตนเป็นชื่อตึก ตึกนี้จึงได้ชื่อว่า “ตึกอุดมประเสริฐ” ซึ่งได้สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500
ต่อมาได้มีการปรับพื้นที่บริเวณหน้าตึกอุดมประเสริฐและสร้างเป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานขึ้นสำหรับให้นักฟุตบอลทีมโรงเรียนได้ใช้ฝึกซ้อมและใช้แข่งขัน โดยมีมาสเตอร์ยงยุทธ วิทยนคร เป็นโค้ช สนามฟุตบอลนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ แต่ก็เรียกกันว่า “สนามตึกอุดมประเสริฐ” เรียกชื่อนี้กันอยู่หลายปี ต่อมาก็เรียกชื่อนี้ให้สั้นลงโดยตัดคำว่า “ตึก” ออกไป กลายเป็น “สนามอุดมประเสริฐ” ลูกหลานของตระกูลอุดมประเสริฐจึงได้กำไรอีกต่อหนึ่งคือนอกจากตึกจะได้ชื่ออุดมประเสริฐแล้ว สนามฟุตบอลยังได้ชื่อเป็นสนามอุดมประเสริฐอีกด้วย
ในสมัยภราดายอนห์ แมรี่ ดำรงตำแหน่งอธิการ ภราดาวีระ วัชรศิริ หัวหน้างานกีฬาในสมัยนั้น ได้มีการปรับปรุงสนามอุดมประเสริฐ เพื่อเป็นสนามฟุตบอลให้ได้มาตรฐาน พื้นที่หน้าดินเป็นลูกรัง ทำให้ปลูกต้อนหญ้าไม่ขึ้น จึงไปขุดดินหลังตึกอัสสัมชัญเป็นบ่อทำปุ๋ย เพื่อนำไปใส่หน้าดินที่บริเวณสนามฟุตบอลตึกอุดมประเสริฐ แล้วปลูกหญ้าแพรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต้นหญ้าแพรกตายหมด
ต่อมาในสมัย ภราดาหลุยส์ ชาแนล มาดำรงตำแหน่งอธิการในวาระที่ 2 ท่านได้ปรับปรุงสนามอุดมประเสริฐครั้งใหญ่ ด้วยการปรับระดับพื้นสนามให้ได้ระดับเดียวกัน ปลูกหญ้าญี่ปุ่น ทั้งสนาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์จาก คุณปัญญา - คุณอดิศักดิ์ เบญจศิริวรรณ ศิษย์เก่า ACS รุ่น 2811 และ 3316 ตามลำดับ เพื่อให้สนามอุดมประเสริฐเป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาช้างเผือกในสมัยนั้น และเป็นสนามสำหรับแข่งขันฟุตบอลอีกด้วย
ในสมัยภราดาศักดา กิจเจริญ มาดำรงตำแหน่งอธิการ วาระที่ 1 ท่านได้ปรับปรุงสนามอุดมประเสริฐ ด้วยการลอกหญ้าหน้าดินออกจนหมด นำหญ้าแพรกที่สนามไซบีเรียมาปลูก ด้วยการปักลงดินเป็นกอ ๆ แต่ไม่ค่อยได้ผเท่าที่ควร
จนมาในสมัยที่ 2 ที่ ภราดาศักดา กิจเจริญ ท่านมาดำรงอีกวาระหนึ่ง ท่านได้ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการลอกหญ้าเก่าออกแล้วปูหญ้านวลน้อยเต็มสนาม พร้อม ๆ กับได้ทำการฝังระบบท่อรอบ ๆ สนาม เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำหลุยส์ มารีย์ มารดหญ้าสนามอุดประเสริฐ
ในสมัย ภราดา ดร.ชำนาญ เหล่ารักผล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ท่านได้เล็งเห็นว่า สนามฟุตบอลตึกอุดมประเสริฐ ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาใช้ในการเล่นฝึกซ้อม และแข่งขัน อยู่คู่กับโรงเรียนมาตลอดกว่า 60 ปี มีการปลูกหญ้าทดแทนมาหลายครั้งแต่ก็จะตายหมดเมื่อถึงหน้าหนาว ดังนั้นท่านจึงปรับปรุงสนามอุดมประเสริฐใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ทำเป็นสนามหญ้าเทียม เพื่อจะใช้ประโยชน์ได้ตลอดปีโดยไม่ต้องกังวลว่าหญ้าจะตายอีกเมื่อใด ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากศิษย์เก่าและผู้ปกครองนักเรียนปัจจุบัน และบุคคลทั่วไป ให้การดำเนินการก่อสร้างสนามหญ้าเทียมอุดมประเสริฐ และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สร้างขึ้นในสมัย ภราดา ดร.ชำนาญ เหล่ารักผล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นสนามหญ้าเทียมสนามที่ 2 ของโรงเรียน มี 4 สนาม
เป็นสนามหญ้าหลังโรงเรียน บริเวณหลังตึกโดนาเซียง ติดกับทางรถไฟ เป็นสนามโล่งอเนกประสงค์
เป็นค่ายลูกเสือที่มีพร้อมด้วย อุปกรณ์การละเล่น รวมถึงที่พัก และที่ใช้สำหรับการฝึกค่ายลูกเสือ อย่างสมบูรณ์แบบ
เรียกสั้น ๆ ว่าศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาที่ใช้ สำหรับจัดงานกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกิจกรรม ร้องเพลง เล่นเกมส์ต่าง ๆ และยังเป็นสถานที่ถ่ายทำ เรื่องรถโรงเรียน ของคุณบี พีระพัฒน์ เถรว่อง เดิมศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของสระว่ายน้ำเลโอ และอยู่ด้านหลังสนามสิรินธร แต่ขณะนี้ศาลาแห่งนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่ค่ายลูกเสือลูโดวีโดแทน และตรงที่ตั้งศาลาแปดเหลี่ยมเก่าได้ทำการสร้างสนามบาสเก็ตบอลหญิงทั้งหมด 3 สนามขึ้นแทน
เป็นสระว่ายน้ำโอลิมปิคขนาดมาตรฐาน สร้างในสมัยภราดาเลโอ พร้อมอัฒจันทร์จุได้ 1,200 คน อีกทั้งยังมีสระว่ายน้ำในร่มและกลางแจ้ง รวมถึงสระว่ายน้ำสำหรับเด็กอีกด้วย
สุสานภราดา เดิมเป็นสุสานที่ถูกย้ายมาจากสีลม เป็นที่ฝังศพของคณะภราดา สุสานเดิมอยู่หน้าถ้ำแม่พระ แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้าย เป็นศพของภราดายุคแรก ฝั่งขวาเป็นที่ฝังศพของภราดายุคหลัง แต่ภายหลังได้มีการย้ายสุสานมาสร้างใหม่ตรงบริเวณโรงแบดมินตันซึ่งถูกรื้อไป มีศาลาใหญ่เป็นโถง ติดรูปภราดา ด้านหน้ามีรูปพระเยซูคริสต์ฟื้นคืนชีพ
เมื่อก่อนเป็นโบสถ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่มาในสมัยของภรามงฟอร์ต ท่านได้ทำการสร้างโบสถ์แห่งใหม่ขึ้น เลยย้ายโบสถ์เก่านี้ไปไว้โบสถ์ใหม่ และทำโบสถ์เก่านี้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงแบดมินตัน ซึ่งขณะนี้ก็ยังดำรงไว้อยู่ ซึ่งเป็นอาคารเก่าที่โรงเรียนอนุรักษ์ไว้
Assumption College Sriracha ได้มีแผนการเรียนให้เลือกได้หลายอย่างตามความถนัด ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้