โรนัลด์ เดลา โรซา | |
---|---|
อธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน ค.ศ. 2018 | |
ประธานาธิบดี | โรดรีโก ดูแตร์เต |
ก่อนหน้า | เรย์ รากัส (โอไอซี) |
อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 – 19 เมษายน ค.ศ. 2018 | |
ประธานาธิบดี | โรดรีโก ดูแตร์เต |
ก่อนหน้า | รีการ์โด มาร์เกซ |
ถัดไป | ออสการ์ อัลบายัลเด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โรนัลด์ มาราพอน เดลา โรซา มกราคม 21, 1962 บารังไกย์บาโต ซานตาครูซ จังหวัดตีโมกดาเบา ประเทศฟิลิปปินส์[1][2] |
เชื้อชาติ | ฟิลิปปินส์ |
คู่สมรส | แนนซี โกมันดันเต (สมรส 1989) |
บุตร | 3 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ (ชั้นปี ค.ศ. 1986) มหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์นฟิลิปปินส์ |
ชื่ออื่น | บาโต, ดูรอย (วิทยาลัยการทหารฟิลิปปินส์) |
อาชีพตำรวจ | |
รับใช้ | ฟิลิปปินส์ |
สังกัด | กองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์ (อดีต) กรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ |
ประจำการ | ค.ศ. 1986 – 2018 |
ตำแหน่ง |
|
โรนัลด์ มาราพอน เดลา โรซา (ฟิลิปปินส์: Ronald Marapon dela Rosa) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม บาโต เดลา โรซา หรือ บาโต[2] (แปลว่า หิน) เป็นนายตำรวจชาวฟิลิปปินส์ที่เกษียณอายุราชการซึ่งทำหน้าที่เป็นอธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2018 เขาทำหน้าที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ถึงวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2018[3]
เดลา โรซา เกิดวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1962 ที่บารังไกย์บาโต ซานตาครูซ จังหวัดตีโมกดาเบา โดยเป็นบุตรของเซอร์เตโอโดโร ดีอามาตอน เดลา โรซา และอานีเซีย ครุสเปโร มาลาพอน[1][2] ครอบครัวของเขา "ค่อนข้างจน" เพราะพ่อของเขามีรายได้น้อยในการทำงานเป็นคนขับรถสามล้อ[4][5] ครั้นเดลา โรซา เข้าสู่วัยหนุ่มก็ทำงานเป็นคนขนของในตลาดปลา และกระเป๋ารถโดยสารประจำทาง รวมถึงรับทำการบ้านให้เพื่อนร่วมชั้นเพื่อแลกกับอาหารมื้อเที่ยง นอกจากนี้ เขาใช้เวลาเดิน 8 กิโลเมตรทุกวันจากโรงเรียนถึงบ้าน[5]
เดลา โรซา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาบาโตและสตา, โรงเรียนมัธยมแห่งชาติครูซ ก่อนที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา (MSU) เพื่อศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาการบริหารรัฐกิจ[2][6][7][8] ในปี ค.ศ. 1982 เขาออกจากมหาวิทยาลัยรัฐมินดาเนา เพื่อเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์ (PMA) และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1986 ในฐานะส่วนหนึ่งของชั้นซีนักตารา[8][9] จากนั้นเขาก็ได้รับคุณวุฒิรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตในปี ค.ศ. 1998 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตในสาขาการบริหารการพัฒนาในปี ค.ศ. 2006 จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์นฟิลิปปินส์ในดาเบา[10][11]
เดลา โรซา สำเร็จหลักสูตรหน่วยลาดตระเวนเสือป่า, เจ้าหน้าที่ข่าวกรองตำรวจชั้นสูง, เจ้าพนักงานตรวจสอบการเงินการบัญชีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของตำรวจ เขายังได้เข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมของเอฟบีไอ อะคาเดมี และโรงเรียนเรนเจอร์กองทัพบกสหรัฐในสหรัฐ รวมถึงหลักสูตรอาจารย์ผู้สอนตำรวจอากาศโดยตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลีย[6][12]
เดลา โรซา มีชื่อเล่นคือ "บาโต" ระหว่างการมอบหมายครั้งแรกในดาเบา เมื่อนักศึกษาชั้นปีท้าย ๆ ของโรงเรียนเปรียบเทียบร่างกายของเขากับก้อนหิน[n 1][5]
เดลา โรซา เข้าร่วมกองกำลังตำรวจในปี ค.ศ. 1986 ในฐานะผู้หมวดของกองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์ ที่ตอนนี้ยุบหน่วยแล้ว[n 2] ในดาเบา[11] ส่วนในปี ค.ศ. 1992 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นสารวัตรใหญ่และทำงานเป็นหนึ่งในพนักงานที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค (PRO)-ดาเบา และในปี ค.ศ. 1997 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการตำรวจภูธรของจังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา สำหรับในปี ค.ศ. 1999 เขาได้รับมอบหมายให้ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการตำรวจของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PNP) ที่แคมป์เคลมในเกซอนซิตี ครั้นในปี ค.ศ. 2001 เขากลับมาทำงานที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา ยังคงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าสำนักงานบุคลากรภูมิภาค กองทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาของเขตที่ 11 แล้วในปี ค.ศ. 2003 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจและได้รับมอบหมายสู่แคมป์คาติติปันในดาเบา จากนั้นเขาก็ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาในฐานะหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม กระทั่งในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นนายตำรวจเขตเมืองดาเบา (DCPO) หลังจากนั้นแปดเดือน เขาย้ายกลับไปที่สำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับและสืบสวนภูมิภาค (RIID) ส่วนในปี ค.ศ. 2007 เขาได้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดลัมบักนางโคมโปสเตลา (CVPPO) ในฐานะผู้กำกับการ ต่อมา ในปี ค.ศ. 2008 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับอาวุโส และในปี ค.ศ. 2009 เขาย้ายไปอยู่ที่จังหวัดตีโมกดาเบาซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดตีโมกดาเบา (DSPPO) ส่วนในปี ค.ศ. 2011 เขาเป็นหัวหน้าส่วนภูมิภาคของแผนกโลจิสติกส์และพัฒนางานวิจัย (RL-RDD) ในสำนักงานตำรวจภูมิภาค-ดาเบา กระทั่งปี ค.ศ. 2012 เขาได้รับมอบหมายสู่นครดาเบา ในฐานะผู้อำนวยการคนใหม่ของสำนักงานตำรวจนครดาเบา[2]
เดลา โรซา เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานตำรวจนครดาเบาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ภายใต้นายกเทศมนตรีซารา ดูแตร์เต (ในสำนักงาน: 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013) และโรดรีโก ดูแตร์เต (ในสำนักงาน: 30 มิถุนายน ค.ศ. 2013 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016)[15][11] ในปี ค.ศ. 2012 เขาเป็นผู้นำการปราบปรามองค์การการโจรกรรมรถยนต์ถูกกล่าวหาว่าริเริ่มโครงการโดยไรอัน "บักติน" ยู[16] ส่วนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 เขาเป็นหัวหน้าช่วยชีวิตที่ประสบความสำเร็จของนักธุรกิจหญิงชาวฟิลิปปินส์-จีน ที่ชื่อแซลลี ชัว[17][18] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้กำกับแผนยุทธการโอแปลนโตคัง (Oplan Tokhang เป็นคำผสมภาษาเซบัวโน จากคำว่า tuktok ที่หมายถึงเคาะ และ hangyo ที่หมายถึงเกลี้ยกล่อม) ซึ่งเป็นการรณรงค์ต่อต้านสารเสพติดผิดกฎหมาย ที่ตำรวจเคาะประตูของผู้ใช้สารเสพติดและผู้จัดจำหน่ายที่ต้องสงสัย และชักจูงให้ยุติกิจกรรมผิดกฎหมาย;[19] และโอแปลนปักกัง (Oplan Pakgang เป็นคำผสมภาษาเซบัวโน จากคำว่า “Pitulon ang Kabatan-onan sa Gang” ที่หมายถึง “การฝึกวินัยเยาวชนในแก๊ง”) ที่ตำรวจให้คำปราศรัยและการอภิปราย เพื่อให้เยาวชนของนครดาเบาหมดกำลังใจในการเข้าร่วมแก๊งอาชญากรและกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ[20][21]
หลังจากทำหน้าที่เป็นหัวหน้าตำรวจนครดาเบา เดลา โรซา ได้รับมอบหมายให้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ในแคมป์เคลม ที่ซึ่งเขาทำงานให้กับกลุ่มข่าวกรองของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ถึงธันวาคม ค.ศ. 2014[3][11][22]
ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เดลา โรซา ได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการสอบสวนการปะทะที่มามาซาปาโน เหตุการณ์ดังกล่าวอ้างถึงหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่เสียชีวิต 44 ราย, สมาชิกอิสลามโมโร 17 ราย และพลเรือนห้าคนในขณะที่ตำรวจกำลังปฏิบัติภารกิจในการจับกุมซูลกิฟลี อับด์เฮอร์ ซึ่งเป็นผู้ก่อการร้ายนานาชาติ ที่มีนามแฝงว่ามาร์วัน[23][24][25]
เดลา โรซา ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของคณะกรรมการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาหลักคำสอน (HRDD)[3][11][22]
โดยไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 เดลา โรซา ได้พ้นข้อหาตามที่ผู้บัญชาการกองพลของกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม (RSSF) ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์เปิดเผย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าโพสต์เฟซบุ๊กของเขาได้รับการสนับสนุนจากผู้สมัครประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต โดยสเตตัสเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ไวรอล ด้วยข้อความ :
ผมเป็นผู้บัญชาการกองพลของกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 8 กองพัน บุคลากรประมาณ 5,000 คนในแคมป์เคลม Kayong mga mangdadaya at mangliligalig ngayong ("คนที่จะโกงและก่อการร้ายใน") การเลือกตั้งวันที่ 9 พฤษภาคม humanda na kayo ("จะถูกเตือน") ! เราจะบดขยี้คุณ !!!
ส่วนโพสต์เฟซบุ๊กอีกรายการในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2016 เขียนว่า :
ถึงเวลาแล้วสำหรับแบทแมนปะทะเอมีลีโอ อากีนัลโด ใครจะชนะ ? ซูเปอร์ฮีโรในเรื่องแต่งหรือฮีโรฟิลิปปินส์ของจริง ?
ระหว่างการชิงชัยฟิลิปปินส์ ค.ศ. 2016 – สาขาลูซอน ซึ่งเป็นการดีเบตประธานาธิบดีครั้งที่สามและครั้งสุดท้าย ดูแตร์เตกล่าวว่าผู้ให้การรณรงค์หาเสียงหลักของเขาคือเอมีลีโอ อากีนัลโด ในขณะที่ผู้ถือมาตรฐานพรรคเสรีนิยมอย่างมาร์ รอกซัส อ้างคำพูดของแบทแมน อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาของเดลา โรซา ในเวลานั้น คือรองอธิบดีดานีโล คอนสตันตีโน ซึ่งเป็นรองหัวหน้ากรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์สำหรับการดำเนินงาน ไม่ยอมรับว่าโพสต์เฟซบุ๊กของเดลา โรซา เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาพ้นข้อหา ตามที่รองอธิบดีคอนสตันตีโนระบุไว้ หัวหน้าผู้กำกับเดลา โรซา ได้พ้นข้อหาจากกำลังสนับสนุนผู้เตรียมพร้อม (RSSF) ดังนั้น เขาสามารถมุ่งความสนใจไปที่ความรับผิดชอบของเขาในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารของคณะกรรมการทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาหลักคำสอน (HRDD) ของกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ กระนั้น คอนสตันตีโนกล่าวว่าฝ่ายกิจการภายใน กรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ จะตรวจสอบโพสต์เฟซบุ๊กของเดลา โรซา สำหรับความรับผิดชอบในการบริหารที่เป็นไปได้ ในฐานะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ต้องเป็นกลางและไม่สนใจการเมืองในระหว่างการเลือกตั้ง[26][27][28][29]
เดลา โรซา ได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ให้เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์คนใหม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[12] ส่วนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 เขาได้ทำการสาบานอย่างเป็นทางการในการรับตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปินส์คนที่ 21 ในขณะที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นอธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของกรม[3] ครั้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 เดลา โรซา กล่าวหาว่ารองประธานาธิบดีเลนี โรเบรโด มีความทะเยอทะยานทางการเมืองที่จะเป็นประธานาธิบดีแม้จะยังคงทำงานในงานปัจจุบันของเธออยู่ หลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาบอกใบ้ว่าเขาอาจจะเสนอตัวเองเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2022 และจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อได้รับการเลือกตั้ง[30][31] เขาได้เกษียณอายุในวันที่ 21 มกราคมเนื่องจากการเกษียณอายุที่บังคับเมื่ออายุ 56 ปี แต่ระยะเวลาของเขาได้รับการยืดออกไปเป็นเวลา 3 เดือนจนถึงวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2018[32]
เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2018 เดลา โรซา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีแห่งสำนักราชทัณฑ์ ซึ่งเอกสารการแต่งตั้งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม[33]
เดลา โรซา สมรสกับแนนซี จอห์นสัน โกมันดันเต (เธอเกิดวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1962)[34] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน[35][36][37][38] ระหว่างงานแต่งงานของเขา โรดรีโก ดูแตร์เต ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนครดาเบาในขณะนั้น ได้เข้าประจำที่ในฐานะเป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์หลัก[11] โดยที่ดูแตร์เต และเดลา โรซ รู้จักกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986[39] ซึ่งเขาได้อธิบายถึงดูแตร์เตในฐานะ "อิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ในอาชีพการงานของเขา[27]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 ร็อค ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของเดลา โรซา ได้เข้าโรงเรียนตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ในฐานะนักเรียนนายร้อย[40][41]
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2017 เดลา โรซา ได้เป็นแขกผู้มีเกียรติและเป็นโฆษกในการเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 156 ของโฮเซ รีซัล เขาอ้างว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษของชาติ ผ่านบรรพบุรุษที่ชื่ออิเนส เดลา โรซา[42]
เดลา โรซา เป็นชาวคาทอลิก[43] ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ที่ดีซีเอ็มเอ็ม เดลา โรซา กล่าวว่าเขามักจะไปสารภาพบาปเพื่อขอให้อภัยหลังจากที่เขาได้สังหารอาชญากร โดยประกาศว่าเขา "ไม่ใช่ฆาตกรเลือดเย็น"[44]
ตั้งแต่เขาได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ เขาได้ปรากฏตัวหรือรับเชิญในรายการทีวีหลายรายการ ซึ่งโดดเด่นที่สุดในอิตส์โชว์ไทม์ ตอนตราบาฮูลา ที่เป็นรายการวาไรตีโชว์ตอนเที่ยงของเอบีเอส-ซีบีเอ็น[45] และซันเดย์ปินาซายา ซึ่งเป็นรายการวาไรตีอาทิตย์ของจีเอ็มเอ ที่เขาได้พบกับรอดนีย์ "ดูกอง" จูแตร์เต ซึ่งเป็นนักแสดงตลกล้อเลียนประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ที่สวมบทโดยโฮเซ มานาโล[46]
เดลา โรซา เป็นแฟนเก่าแก่ของบารังไกย์ยีเนบราซานมิเกล ซึ่งเป็นทีมบาสเกตบอลพีบีเอ[47]
หมายเหตุ
อ้างอิง
{{cite news}}
: |access-date=
ต้องการ |url=
(help)