โอลาฟ | |
---|---|
ตัวละครใน โฟรเซน | |
ปรากฏครั้งแรก | ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (2013) |
สร้างโดย | คริส บัก เจนนิเฟอร์ ลี |
ให้เสียงโดย | จอช แกด เจค กรีน (Disney Dreamlight Valley และ Disney Speedstorm) |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | ตุ๊กตาหิมะ |
เพศ | ชาย |
ครอบครัว | เอลซา (ผู้สร้าง) |
สัญชาติ | อาณาจักรเอเรนเดลล์ |
โอลาฟ (อังกฤษ: Olaf) เป็นตุ๊กตาหิมะจากภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 53 ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ เรื่อง ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (Frozen) ซึ่งฉายในปี 2013
ดิสนีย์สตูดิโอมีความพยายามที่จะนำเทพนิยาย ราชินีหิมะ ของ Hans Christian Andersen มาสร้างเป็นภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1943 เมื่อวอลต์ ดิสนีย์คิดจะสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติของ Andersen[1] อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องและตัวละครนั้นเป็นนามธรรมมากเกินไป[2][3] ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ ให้กับดิสนีย์และทีมผู้สร้างภาพเคลื่อนไหว ภายหลังจากนั้น ผู้บริหารของดิสนีย์ก็ยังมีความพยายามที่จะนำเรื่องราวจากบทประพันธ์มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์อีกครั้ง แต่ความพยายามเหล่านี้ก็ต้องถูกชงักไว้เพราะปัญหาแบบเดียวกัน[1]
ในปี 2008 Chris Buck ได้เสนอเรื่องราวของราชินีหิมะในรูปแบบของเขาเองกับดิสนีย์[4] ชื่อ Anna and the Snow Queen ซึ่งได้มีการวางแผนให้สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวทั่วไป[5] แต่เรื่องราวนี้แตกต่างจาก ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ อย่างสิ้นเชิง โดยที่บทประพันธ์นี้มีความใกล้เคียงกับเรื่องราชินีหิมะมากกว่า และมีตัวละครโอลาฟที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง[6]
อย่างไรก็ตามในต้นปี 2010 โครงการนี้ก็ได้หยุดชะงักไปอีกครั้ง[5][7] ในวันที่ 22 ธันวาคม 2011 ดิสนีย์ได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ ซึ่งในเวลาต่อมาจะได้ออกฉายในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2013 และยังได้เปลี่ยนทีมสร้างภาพยนตร์ใหม่อีกด้วย[8] บทอันใหม่นั้นมีแนวคิดเหมือนเดิม แต่มีการเขียนใหม่ทั้งหมด[5] ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของบทประพันธ์ของ Andersen โดยได้ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของตัวละคร แอนนาและ เอลซ่า ในฐานะพี่น้อง[9]
Josh Gad ซึ่งเป็นนักแสดงที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโทนีและมีชื่อเสียงในการแสดงบรอดเวย์เรื่อง The Book of Mormon[10] ได้เข้ารับเลือกในการพากย์เสียงของโอลาฟ[11][12][13] เขาได้กล่าวในภายหลังว่า การที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ดิสนีย์นั้นเหมือนความฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับเขา เนื่องจากเขาเองมีความคลั่งไคล้ในภาพยนตร์และการผลิตภาพเคลื่อนไหวของดิสนีย์อยู่แล้ว[14]
เขากล่าวว่า เขาเติบโตมาในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองของภาพเคลื่อนไหวของดิสนีย์ครั้งที่สอง ในช่วงที่มีภาพยนตร์ทั้งหมดออกมายอดเยี่ยมหมดเลย ได้แก่ เงือกน้อยผจญภัย (The Little Mermaid) โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (Beauty and the Beast) อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ (Aladdin) เดอะ ไลอ้อน คิง (The Lion King)[10] ความประทับใจในตัวละครที่มีลักษณะนิสัยตลกอย่างทีโมนและพุมบ้าในเรื่อง เดอะ ไลอ้อน คิง หรือ จีนี่ในเรื่องอะลาดินกับตะเกียงวิเศษทำให้เขาอยากเล่นบทบาทประเภทนี้ตั้งแต่ช่วงหนุ่ม ๆ เขาจำได้ว่า เขาเคยพูดไว้ว่าอยากจะเล่นบทแบบนี้จริง ๆ สักวัน[14][10][15]
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
จากการที่เป็นมนุษย์หิมะที่แอนนาและเอลซ่าได้ปั้นขึ้นมาด้วยกันในวัยเด็ก โอลาฟแสดงถึงความรักที่บริสุทธิ์และความสุขที่ทั้งสองพี่น้องเคยมีในวัยเยาว์ก่อนที่พวกเข้าจะแยกจากกัน โอลาฟไม่ได้เป็นตัวละครที่ตลกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนความรักบริสุทธิ์ในความกลัวที่แฝงด้วยความรัก [16] ตัวละครตัวนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก จนกระทั่งมันมีความหมายกับสองพี่น้องคู่นี้[16] โอลาฟถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะผสานความสัมพันธ์ของสองพี่น้องที่หายไป[17] ในวัยเด็กของแอนนาและเอลซ่า ก่อนที่พลังของเอลซ่าจะทำร้ายแอนนา สองพี่น้องคู่นี้เล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน และมีการปั้นมนุษย์หิมะขึ้นมาโดยตั้งชื่อว่า โอลาฟ และ โอลาฟก็ชอบอ้อมกอดที่อบอุ่น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเป็นลักษณะของโอลาฟขึ้นมา และในช่วงของภาพพยนต์ที่เอลซ่าได้ร้องเพลง “Let it Go” ก็เป็นช่วงที่ทำให้เอลซ่าได้นึกถึงช่วงเวลาครั้งสุดท้ายที่ตัวเองมีความสุข และมันก็คือช่วงเวลาที่เอลซ่าได้ปั้นมนุษย์หิมะกับน้องสาวนั้นเอง และโอลาฟก็เป็นตัวแทนของความรักที่แสดงออกระหว่างความสัมพันธ์ของพี่น้องคู่ นี้นั่นเอง โอลาฟจะมีลักษณะนิสัยของแอนนาในวัยเด็กเนื่องจากที่โอลาฟมีชีวิตขึ้นมาได้ นั้นเป็นเพราะในขณะที่เอลซ่าใช้พลังสร้างโอลาฟขึ้นมา เธอได้นึกถึงคนที่เธอรักที่สุด นั่นก็คือแอนนานั่นเอง
ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตภาพยนตร์ โอลาฟถูกเขียนบทขึ้นมาเพื่อให้เป็นหนึ่งในคนคุ้มกันปราสาทของเอลซ่า เพราะในเวลานั้นยังมีแนวคิดที่จะให้เอลซ่ามีกองกำลังทหารมนุษย์หิมะที่กราดเกรี้ยวอยู่ในเรื่องอยู่[17][18] Buck ได้กล่าวถึงเอลซ่าไว้ว่า เธอพยายามที่จะเรียนรู้พลังของตัวเองซึ่งเขาได้เปรียบเทียบกับแพนเค้ก เมื่อแพนเค้กมีการไหม้เกิดขึ้นข้างล่างจนไม่สามารถทานได้ เราจึงต้องทิ้งมัน โอลาฟก็เปรียบเสมือนแพนเค้กชิ้นแรกของเอลซ่า[18] และเพื่อไม่เป็นการสร้างความซับซ้อนให้กับตัวละครนี้ ผู้กำกับจึงอยากให้ตัวละครตัวนี้คงความเป็นเด็กบริสุทธิ์ไว้[17] Jennifer Lee ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวไว้ว่า เมื่อคุณเป็นเด็กรูปร่างแปลกๆต่างๆที่นำมาปั้นเป็นมนษย์หิมะจะไม่มีทางเพ อร์เฟค และนั่นจึงเป็นที่มาของความคิดที่ว่าเด็กๆจะนึกถึงมนุษย์หิมะในหน้าตาแบบไหน[17][18]
Gad เองก็ได้มีการปรับลักษณะของตัวละครโอลาฟเองในระหว่างทำการอัดเสียง และผู้กำกับเองก็พยายามที่จะระมัดระวังไม่ให้ตัวละครนี้ทำหน้าเป็นตัวละคร หลักในการดำเนินเรื่องมากเกินไป [18] โอลาฟถูกสร้างขึ้นมาในระดับนึงจนกระทั่งได้ Josh Gad มาพากษย์เสียงให้ และเสียงของ Gad แสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษบางอย่างรวมถึงการมองโลกของเขา การแสดงในห้องอัดเสียงของ Gad ถูกบันทึกเป็นวีดิโอและผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวได้นำเอาสีหน้า ท่าทางของเขาไปสร้างเป็นตัวละครเคลื่อนไหวขึ้นมา"[19] "It was a lot funnier than I expected, thanks largely to Josh Gad's surprisingly well-written deluded snowman character" (Del Vecho).[20] Gad's studio performance was videotaped, and animators used his facial expressions and physical moves as a reference for animating the character.[16]
ผู้สร้างภาพยนตร์ ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Spaces เพื่อที่จะสร้างโอลาฟขึ้นมาใหม่ในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว[21][22] Buck กล่าวว่า ความสนุกของตัวละครนี้คือการค้นพบว่าโอลาฟสามารถถูกแยกชิ้นส่วนของตัวเองออก มาได้และนั่นคือจุดเด่นของตัวละครนี้ โอลาฟเป็นตัวละครที่ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวมีความสนุกในขณะที่กำลังสร้าง[19] Del Vecho ให้ความเห็นว่า โอลาฟเป็นตัวละครที่สามารถโยนลงเขาในขณะที่ตัวแยกเป็นชิ้นๆในระหว่างที่ร่วงลงมาแต่ยังสามารถมีชีวิตรอดและมีความสุขได้ [20]
สิ่งที่ขัดแย้งกันในตัวโอลาฟคือการเป็นมนุษย์หิมะที่มีความคิดในการรักฤดูร้อน[20]
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bleedingcool