บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไคร้น้ำ | |
---|---|
Homonoia riparia | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Euphorbiaceae |
วงศ์ย่อย: | Acalyphoideae |
เผ่า: | Acalypheae |
เผ่าย่อย: | Lasiococcinae |
สกุล: | Homonoia |
สปีชีส์: | Homonoia riparia Lour. |
ไคร้น้ำ หรือ ไคร้, ไค้, ไค้น้ำ (ไทย-พายัพ), หึยที้ (กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน), แร่(ตราด), ไคล้น้ำ(ยะลา), ไคล้หิน(หลังสวน), กะแลแร, แกลแร(มะลายู-ยะลา) เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือลำต้นแตกออกมาเป็นกอก็มีลักษณะของต้นจะกลม ๆ ขนาดเท่าต้นอ้อยก็มี ลำต้นจะไม่ใหญ่มากนัก และอาจจะเท่านิ้วก้อยหรือนิ้วมือก็มี รากของต้นเป็นฝอยรวมกันเป็นกระจุกใหญ่ มีเนื้อในสีขาวเปลือกสีน้ำตาลคล้ำใบเดี่ยว ลักษณะของใบจะแคบและยาวคล้ายใบของต้นชองระอา แต่จะหนา และสากระคายมือ ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-1 นิ้วยาว 4-6 นิ้ว มีสีเขียว
เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือริมห้วย ซึ่งรากของต้นนั้นจะแช่อยู่ในน้ำเป็นฝอยเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น ส่วนมากจะพบทางภาคเหนือ จังหวัดที่มีมากคือ ตาก หรือมีขึ้นไปเรื่อยตามเกาะแก่งลำน้ำปิง
ราก นำมาใช้ปรุงเป็นยา แก้กษัย ขับปัสสาวะ แก้ไข้เซื่องซึม เบาพิการ นอกจากนี้ยอดอ่อนของต้นยังใช้รับประทาน จิ้มกับน้ำพริกได้อร่อยอีกด้วย และเนื้อไม้ภายในเปลือกนั้น นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วผสมยาสูบซึ่งทางเหนือจะเรียกว่า ขี้โย