ไทขาว

ไทขาว
ธงไทขาวในเมืองลาย ช่วง พ.ศ. 2487−2496
เครื่องแต่งกายของชาวไทขาว
ประชากรทั้งหมด
490,000 คน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศเวียดนาม, ประเทศลาว
ภาษา
ไทขาว, ลาว, อื่น ๆ
ศาสนา
ศาสนาผี (60%), ศาสนาพุทธ (38%), ศาสนาคริสต์ (2%)[2]

ไทขาว, ไทด่อน (เวียดนาม: Tai Dón) หรือ ท้ายจั้ง (เวียดนาม: Thái Trắng; แปลว่า ไทขาว) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากตระกูลภาษาไทกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับชาวไทดำและไทแดง แต่แบ่งจากกันด้วยความแตกต่างด้านการแต่งกายของสตรีเป็นสำคัญ กล่าวคือ สตรีชาวไทขาวนิยมสวมเสื้อแขนยาวสีขาวเข้ากับซิ่นสีดำ ขณะที่ชาวไทดำจะสวมเสื้อและซิ่นสีดำหรือคราม และชาวไทแดงจะสวมเสื้อผ้าขลิบสีแดง เป็นอาทิ[3] กล่าวกันว่าบรรพชนของชาวไทขาวอพยพลงมาจากมณฑลยูนนานในประเทศจีน ก่อนกระจายตัวตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำแดงและดำ[2][4]

ในอดีตชาวไทในเวียดนามมีการปกครองเรียกว่า สิบสองจุไท เป็นหัวเมืองหลัก 12 เมืองเป็นรัฐอิสระต่อกัน[5] ปกครองโดยเจ้านายชาวไทจากคนนามสกุลลอ (สิงลอ) และสกุลดำ (สิงดำ)[6] แบ่งเป็นเมืองของชาวไทดำ 8 หัวเมือง และเมืองชาวไทขาว 4 เมือง ได้แก่ เมืองไล เมืองมน เมืองเจียน และเมืองบาง[5] โดยเมืองไลเคยมีอำนาจสูงสุดและเป็นเมืองหลวงของสิบสองจุไทในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[6]

จากการประมาณการใน พ.ศ. 2545 มีชาวไทขาวอาศัยอยู่ในประเทศเวียดนามประมาณ 280,000 คน และมีการประมาณการใน พ.ศ. 2538 พบชาวไทขาวอาศัยอยู่ในประเทศลาวราว 200,000 คน และในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนราว 10,000 คน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Tai Dón. Ethnologue.
  2. 2.0 2.1 "The White Tai of Laos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  3. สุมิตร ปิติพัฒน์, รองศาสตราจารย์ (2544). ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 2.
  4. Forbes, Andrew, and Henley, David: Vietnam Past and Present: The North (History and culture of Hanoi and Tonkin). Chiang Mai. Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006DCCM9Q.
  5. 5.0 5.1 สุมิตร ปิติพัฒน์, รองศาสตราจารย์ (2544). ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 3.
  6. 6.0 6.1 สุมิตร ปิติพัฒน์, รองศาสตราจารย์ (2544). ศาสนาและความเชื่อไทดำในสิบสองจุไท ประเทศเวียดนาม. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 4.