มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชาวไทโคราชที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
10,000 คน (ประมาณ พ.ศ. 2542)[1] 600,000 (ประมาณ พ.ศ. 2548)[2] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย | |
ภาษา | |
สำเนียงโคราช และอื่น ๆ | |
ศาสนา | |
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท |
ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง หรือไทโคราช เป็นกลุ่มชนพื้นถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน
ซึ่งชาวไทเบิ้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทภาคกลาง แต่มีภาษา ความเชื่อ เพลงพื้นบ้าน การละเล่น การทอผ้า ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนอยู่
หรือในบางครั้งจะเรียกว่า ไทเดิ้ง หรือ ไทโคราช จากเอกสารประวัติศาสตร์และโบราณสถานกำหนดได้ว่าเป็นชุมชนไทยที่อยู่อาศัยมานานอย่างน้อยตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ชาวไทยเบิ้ง มีเอกลักษณ์ ในเรื่องของประเพณีความเชื่อ ภูมิปัญญา สังคม สถาปัตยกรรมและผลงานทางวัฒนธรรม เช่น ภาษาและวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี และการละเล่นเพลงพื้นบ้าน การละเล่นทั่วไปและกีฬา มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนไทยเบิ้ง ซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวัฒนธรรมไทยโคราช คือ มีประเพณีชีวิตที่สอดแทรกวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น ความกตัญญู ความสามัคคี ความมีน้ำใจเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นอกเห็นใจมีประเพณีท้องถิ่นเนื่องในพุทธศาสนา ตรุษสารท และประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพและประเพณี เกี่ยวข้องกับความความเชื่อ สำหรับความเชื่อนั้นมีความเชื่อโชคลาง โหราศาสตร์ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์
ผู้หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน เป็นผ้าพื้นทอมือสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีกรมท่า คาดเข็มขัดเงิน เข็มขัดทอง หรือเข็มขัดนาก ไม่นิยมนุ่งซิ่น สวมเสื้อตัดเย็บจากผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อที่นิยมใช้ เรียกว่า เสื้อ "คอกระโจม" และเสื้อ "อีแปะ" หญิงชาวไทยเบิ้งจะใช้เสื้อประเภทนี้ไปวัด แต่งงานใช้สไบเฉียงห่มทับเสื้อ หรือ สวมเสื้อแขน กระบอกห่มสไบทับเสื้อ ถ้าอยู่บ้านมักใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ไม่นิยมดัดผม และแต่งหน้าเพียงใช้แป้งเม็ดบรรจุกระป๋องทาหน้า กินหมากทำให้ปากแดง ใช้สีผึ้งทาปากเพื่อไม่ให้ปากแห้ง การบำรุงผิวใช้ขมิ้นผสมกับดินสอพอง ทาตัวและทาหน้า สำหรับเครื่องประดับนิยมใช้ทองมากกว่าเพชรพลอย และนิยมใช้ตุ้มหูมากกว่าสร้อยและแหวน สะพายย่ามแทนกระเป๋า ของที่ใส่ในย่ามได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ข้าวห่อและอื่น ๆ ผู้ชาย ในอดีต ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมไม่ผ่าอก นุ่งกางเกงขาก๊วย กางเกงขาสั้น กาง เกงขายาว หากอยู่บ้านนุ่งผ้าถุงและไม่สวมเสื้อ เมื่อออกนอกบ้านสวมเสื้อคอกลม ปกฮาวาย หรือปกเชิ้ต มีผ้าขาวม้าพาดบ่า เหมือนสไบ ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม สะพายย่ามไม่สวมรองเท้า
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทเบิ้ง ได้แก่ อาชีพที่ได้อาศัยประโยชน์จากสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงเช่น การทำไต้ ทำลาน ส่วนอาชีพอื่นๆ คือการทำไร่ ทำนา หาปลา โดยมีเครื่องมือประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ เครื่องมือดำรงชีวิตบางชิ้น เช่น ตะกร้า มีรูปแบบคล้ายกระบุงขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน
ชาวไทยเบิ้งนิยมผ้าฝ้าย ทำลวดลายผ้า เป็นลายตารางรูปสี่เหลี่ยม ปกติ จะทอไว้ใช้เอง เช่น ผ้าเย็บที่นอน หมอน ผ้าถุง ผ้าขาวม้า ย่าม ปัจจุบันบางครอบครัวทอไว้ขาย เช่น ผ้าขาวม้า และย่าม แต่เดิมการทำผ้าของชาวไทยเบิ้งได้เตรียมการทอผ้าเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ย้อมสีด้ายฝ้าย ในปัจจุบัน ซื้อเส้นด้านย้อมสีสำเร็จรูปมาทอ การแต่งกายใช้ผ้าฝ้าย เอกลักษณ์ในการแต่งกายคือ สตรีสูงอายุนุ่งโจงกระเบน และสะพายย่าม รูปแบบลักษณะเฉพาะในเวลาไปทำงาน
กลุ่มชนชาวไทเบิ้งที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อย่างเข้าฤดูแล้ง ผู้ชายอาจจะเข้าป่า หาของป่า ล่าสัตว์ ผู้หญิงจะทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว และ ปลูกฝ้าย ในเนื้อที่ที่เหลือในบริเวณบ้านเพื่อใช้ทอผ้า
กรรมวิธีการทำเส้นด้าย การอิ้วฝ้าย หรือ หีบฝ้าย เป็นการแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องหีบ หรือเครื่องอิ้วฝ้าย การดีดฝ้าย เป็นการทำให้ฝ้ายแตกกระจายออกเป็นเนื้อเดียวกัน การดิ้วฝ้าย เป็นการนำด้ายที่ดีดเป็นปุยแล้วมาล้อหมุนให้ได้ฝ้ายที่มีลักษณะกลม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไม้ล้อ การเข็นฝ้าย หรือการปั่นฝ้าย เป็นการดึงฝ้ายที่ดิ้วแล้วให้เป็นเส้นด้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไน หรือ หลา แล้วใช้ไม้เปียด้ายพันด้าย จนมีขนาดโตพอประมาณ แล้วดึงด้ายออก เรียกว่า ปอย หรือ ไจ
การตกแต่งเส้นด้าย การฆ่าด้าย วิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว ทนทานไม่เป็นขนโดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้ใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อม มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ได้แก่ ผลมะเกลือ เปลือกกระโดน มะเกลือเลือด แก่นแกแล เปลือกอินทนิล ฝักระกำ ต้นคราม ขมิ้นกับ ยอดแค แก่นฝาง ผักงาด ฯลฯ ส่วนวิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซัก หรือแช่น้ำให้เปียกทั่วทั้งผืนก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก
กี่พื้นเมืองหรือกี่ทอมือ กี่ชนิดนี้ทอผ้าแต่ละครั้งได้จำนวนจำกัด คือ ได้เพียงครั้งละ 5-6 ผืน หน้ากว้างของผ้าที่ทอได้ จะแคบ กี่ทอมือจะต้องใช้เท้าเหยียบเพื่อบังคับตะกอให้แยกเส้นด้ายยืนออกจากกัน แล้วใช้มือสอดกระสวยใต้เส้นด้ายที่แยกดึงฟันฟืมกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ติดกันทีละเส้น ซึ่งทอได้ช้า
กี่กระตุก เป็นกี่ที่เพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาใช้ โดยได้รับการส่งเสริมจากกรมพัฒนาชุมชน การทอกี่กระตุก ผู้ทอไม่ต้องสอดกระสวย ใช้มือกระตุกเชือกที่ติดกับกระสวย แล้วกระสวยจะวิ่งผ่านเส้นด้ายยืนที่แยกออกจากกัน โดยการใช้เท้าเหยียบไม้ที่ดึงตะกอ ข้อดีของกี่กระตุก คือ ในการทอแต่ละครั้งไม่ต้องสืบเส้นด้ายยืนบ่อย ๆ มีแกนม้วนด้ายยืนได้ยาวหลายสิบเมตร เส้นด้ายยืนจะตึงเรียบเสมอกันไม่ต้องหวีหรือจัด
กรรมวิธีการทอผ้า การเสาะด้าย คือการนำด้ายที่ย้อมสีแล้วมาเสาะใส่ระวิง สาวลงกระบุง นำด้ายมากรอใส่หลอดทำด้วยไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ แล้วนำไปค้น การค้น คือการนำด้ายสีต่าง ๆ ที่เสาะแล้วมาเกาะหลักพิมพ์ เพื่อกำหนดความยาวของเส้นด้ายยืนว่าต้องการทอกี่ผืน เมื่อเสร็จแล้วนำด้ายออกจากพิมพ์ เรียกว่า เครือ การสืบด้าย นำเครือด้ายมาสืบในฟืมจนครบตามหน้ากว้างของฟืม การทอ นำเส้นด้ายพุ่งที่กรอใส่หลอดด้าย เลือกสีตามต้องการ ใส่กระสวยแล้วนำมาทอ การทอหูกใช้เท้าเหยียบ มือพุ่งกระสวย และใช้มือดึงฟันหวีกระทบด้ายทีละเส้นให้แน่น ทอไป เรื่อย ๆ จนหมดความยาวของเส้นด้ายยืน
ประเภทของผ้าทอของชาวไทเบิ้ง ผ้าทอที่พบแบ่งออกเป็นสองยุค ได้แก่
แนวโน้มการทอผ้าของชาวไทยเบิ้งในอนาคต การทอผ้าจะเป็นการทอเพื่อการค้ามากขึ้น การใช้กี่ทอมือจะน้อยลง เพราะกรรมวิธีในการทอค่อนข้างยุ่งยากและช้า นิยมใช้กี่กระตุก เพราะทอได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการจัดเส้นด้ายยืน ลวดลายแบบใหม่ คือ เป็นการทอลายมัดหมี่ ซึ่งนำด้ายขาวมามัด แล้วย้อมสีตามต้องการ ผ้าทอของชาวไทยเบิ้งไม่ค่อยได้รับความนิยม ราคาค่อนข้างแพง และปัจจุบันหญิงสาว นิยมเรียนหนังสือและทำงานโรงงาน จึงไม่มีใครสืบทอดการทอผ้าแบบเดิม
ชาวไทยเบิ้งมีเอกลักษณ์ของกลุ่มชน คือ สร้างเรือนยกเสาสูง แบบเรือนไทย มีหน้าต่างประตู บานเล็ก สลักอกเลาประตู เป็นลวดลายแบบง่าย ๆ ฝาเรือนคือฝาฟาก ฝาค้อ จากการสำรวจ พบว่า หมู่บ้านเกษตรกรรม นิยมสร้างบ้านเป็นกระจุก โดยมีการทำนา ทำไร่ อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน การกระจุกตัวของเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านนั้นมีเหตุผลว่า เพื่อความปลอดภัย การแยกสร้างเรือนให้กระจายออกไปอาจถูกโจรผู้ร้ายปล้น ได้ง่าย และเพื่อความอบอุ่นที่ได้อยู่อาศัยในระหว่าง ญาติพี่น้องและมิตรสหาย
รูปทรงเรือน เป็นเรือนใต้ถุนสูง โดยปกติเรือนจะยกพื้นสูงขนาดคนเดินลอดได้ คือสูงราว 2 เมตร หลังคาเรือนในอดีตนิยมหน้าจั่ว ทรงมนิลาและทรงปั้นหยา เรือนจะหันหน้าไปได้ทุกทิศ ยกเว้นทิศตะวันตก รูปทรงของเรือนก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันมีด้วยกันหลายแบบ ที่สำคัญคือ
การใช้เนื้อที่ภายในเรือน จะกั้นภายในเรือนมิดชิดเป็นสัดส่วน เพียงส่วนหนึ่งของเรือนในขณะพื้นที่ส่วนใหญ่ มีหลังคาคลุมใช้เป็นห้องโถงโล่ง ใช้ประโยชน์ของพื้นที่นี้อย่างอเนกประสงค์ เช่น พักผ่อน สังสรรค์ รับแขก รวมทั้งสามารถใช้นอนหลับได้เช่นกัน ครัวไฟจะอยู่บางมุมของชั้นบนเรือน หรือแยกเป็นเรือนต่างหาก เรือนบางหลังจะมีชานโล่งประกอบ
ชาวไทเบิ้งนั้นนิยมกินอาหารสุก กินเนื้อปลา กินผักพื้นเมือง กินข้าวเจ้า ไม่นิยมกินอาหารใส่กะทิหรือทอด อาหารของชาวไทยเบิ้งเป็นอาหารที่ ถูกสุขภาพ และหาได้ง่ายในท้องถิ่น สำหรับ
เป็นสังคมสงบสุข มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีต่อกัน สมาชิกในสังคมมีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน มีการดูแลรักษาสุขภาพ รักษาความสะอาดชุมชน และที่อยู่อาศัย มีหมอหลายประเภทรักษาโรค เช่น หมอยาสมุนไพร หมอตำแย หมอรักษาโรค ให้กำลังใจ เช่นหมอน้ำมนต์ สังคมไทเบิ้งเป็นสังคมมีประสบการณ์ และเรียนรู้ในการดูแลรักษา สุขภาพอนามัย
ชาวไทเบิ้งมีภาษาพูดคล้ายกับภาษาไทภาคกลาง แต่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างไป และนิยมลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เบิ้ง เดิ้ง เหว่ย ด๊อก มีผู้เรียกภาษานี้ในชื่ออื่นว่า ภาษาไทเดิ้ง หรือภาษาไทโคราช วรรณกรรมที่เก่าแก่ที่พบเขียนด้วยอักษรไทย เป็นส่วนใหญ่ เขียนบนสมุดไทยได้แก่ นิทาน นิยาย คำสอนและคติธรรม ตำรายา ตำราหมอดู และกฎหมายเป็นต้น มีรูปแบบอักษรอื่นที่พบบ้าง คืออักษรขอมเขียนบนสมุดไทยเป็นคาถา หรือจารบนใบลานเป็นบทเทศน์ของพระภิกษุ
ศิลปกรรมของชาวไทเบิ้งได้แก่ พระพุทธรูป ธรรมาสน์ จิตรกรรมพบว่ามีลักษณะคล้ายแบบศิลปกรรมของภาคกลาง แต่มีลักษณะพื้นถิ่นปะปนอยู่ด้วย ศิลปกรรมแบบนี้ เช่น พระพุทธรูปจะเป็นแบบในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23
เป็นแบบสังคมชนบทไม่มีความซับซ้อนในการเล่น และการประดิษฐ์ ได้แก่เพี้ย (บางครั้งเรียกว่าจิ้งหน่อง) ปี่ โทน และกลองยาว ส่วนเพลงพื้นบ้านที่สำคัญคือเพลงปฏิพากษ์ ใช้โต้ตอบกันด้วยกลอนเพลง มีหลายรูปแบบ เช่น เพลงหอมดอกมะไพ เพลงพวงมาลัย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงโนเน เพลงพิษฐาน เพลงช้าเจ้าหงส์ และ เพลงโคราช ในจำนวนเพลงพื้นบ้านเหล่านี้ เพลงโคราชได้รับความนิยมสูงสุด และยังมีผู้เล่นได้บ้างจนถึงปัจจุบัน
และกีฬาพื้นบ้าน มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่มีลักษณะคล้ายกับชาวไทยภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และชาวไทย โคราช เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง ลูกช่วง เบี้ยริบ สะบ้า ต่อไก่ สันนิษฐานการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง มีข้อสันนิษฐานต่าง ๆ ดังนี้
ไทโคราช เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เพลงโคราช” ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญคือ ใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำวัน ภาษาโคราชเป็นภาษาที่มีวงศัพท์ สำเนียง และสำนวน เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
ความก้าวหน้าทางการศึกษา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันส่งผลกระทบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ โคราชรุ่นใหม่ ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง ไม่รู้จักการละเล่นดนตรี และเพลงพื้นบ้าน ที่สำคัญคือ พูดภาษาโคราชไม่ได้ วงศัพท์ภาษาโคราชจึงนับวันจะหายไป
ประเพณีชาวไทเบิ้ง ก็ไม่ต่างจากชาวไทยกลุ่มอื่นมากนักในเรื่องของความเชื่อดังกล่าว คือ บางอย่างก็ไม่มีเหตุผล บางอย่างก็มีเหตุผล แต่จะแตกต่างจากประเพณีชาวไทยภาคกลางบ้าง รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีชีวิตของชาวไทยเบิ้ง มีดังนี้
การแต่งงานจะมีพิธีหลายขั้นตอน คือ การทาบทามสู่ขอ วิธีชีวิตของชาวไทยเบิ้ง โอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบกันมีน้อย เพราะต้องทำงานตลอดช่วงกลางวัน และเวลาค่ำคืนเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะเกี่ยวพากัน และเมื่อชายหนุ่มถูกใจก็จะจัดหาเถ้าแก่ไปสู่ขอ บิดามารดาฝ่ายหญิงอาจเรียกสินสอดทองหมั้นเป็นเงินทอง หรือเป็นเรือนหอเรียกว่า มาดเป็นเงิน มาดเป็นทอง การหมั้น เมื่อได้ทาบทามสู่ขอแล้วก็จะให้พระสงฆ์ หรือหมอดูกำหนดฤกษ์เพื่อเป็นวันหมั้นซึ่งจะต้องเป็นวันฟู เพราะตามประเพณีจะไม่จัดในวันจม วันฟูหมายถึงวันอธิบดี วันธงชัย และวันจมหมายถึงวันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ สำหรับเดือนที่นิยมจัดงานจะเป็นเดือนคู่ และไม่จัดงานระหว่างเข้าพรรษา เมื่อใกล้วันแต่งงาน จะต้องมีการเตรียมตำข้าว หาฟืน ลงปลา หาผักป่า เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ทำอาหารของชาวไทยเบิ้ง นิยมใช้ปลาจะไม่มีการฆ่าหมู วัวหรือควาย อาหารจะเป็นอาหารพื้นบ้านง่าย ๆ ไม่มีอาหารประเภทใดต้องห้ามสำหรับงานแต่งงานไม่เหมือนประเพณีของทางภาคกลาง
ในการจัดงานจะแบ่งเป็น 3 วันคือ วันแรกเป็นวันเตรียม วันต่อมาคือวันแต่งงานและวันที่สามคือวันทำบุญบ้าน ส่วนพิธีอื่น ๆ จะคล้ายกับภาคกลาง ต่างกันตอนขบวนขันหมาก คือเมื่อบ้านฝ่ายหญิงยิงปืนขึ้น 1 นัด ฝ่ายชายจึงเริ่มขบวนขันหมาก เมื่อขบวนมาถึงได้มีการขันหมากแล้ว ฝ่ายหญิงจะมอบแป้งกระสอบหนึ่งถุงเป็นของชำร่วย จากนนั้นจึงมีการผูกข้อไม้ข้อมือ วันที่สามมีพิธีทำบุญบ้านบ่าวสาว จะตักบาตร ขนมขันหมากที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดมาจะถวายพระ เพราะมีข้อห้ามไม่ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกินขนมขันหมาก หลังจากเลี้ยง พระแล้วจะมีพิธีประพรมน้ำพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธีแต่งงาน หลังจากแต่งฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงอย่างน้อย 3 คืน แล้วจึงจะแยกเรือนไปดำเนินชีวิตเป็นครอบครัวใหม่ต่อไป
ผู้หญิงชาวไทยเบิ้ง เมื่อตั้งครรภ์จะมีการปฏิบัติตนเช่นเดิมปกติ คือ ยังทำงานบ้านทำไร่ทำนา ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น มีความเชื่อมีข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามหลายประการ เช่น ห้ามทำบาปไม่ตกปลาไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ไปดูคนอื่นคลอดลูกเพราะมีความเชื่อว่าจะยันกันทำให้คลอดยาก ไม่ไห้อาบน้ำกลางคืน เพราะกลัวแฝดน้ำ เมื่อเกิดจันทรคราสบางคนก็เอาน้ำลูบท้องเพื่อให้คลอดง่าย ไม่ให้นั่ง ยืนคาบันไดหรือประตู ห้ามกินกล้วยแฝด กลัวจะมีลูกแฝดทำให้คลอดยาก ห้ามเตรียมของใช้ไว้ก่อนถ้าจะเย็บที่นอนและหมอนไว้ ต้องไม่เย็บปิดปากที่นอนหรือหมอน เมื่อคลอดแล้วจึงจะเย็บปิดปากหมอนเวลากินข้าวต้องรีบอิ่มก่อนคนอื่นถึงแม้จะยัง แล้วจึงกลับไปกินต่อที่หลังได้ เพราะเชื่อว่าอิ่มก่อนจะทำให้คลอดง่าย
หญิงมีท้องโดยเฉพาะลูกคนแรก จะกลับไปคลอดที่บ้านแม่ตนเอง โดยจัดเตรียมห้อง"ในเรือน" เป็นห้องคลอดบางบ้านทำสายสิญจน์วนรอบห้องคลอด บางคนเอาคล้องคอคนท้องไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ผีมารบกวน ในห้องที่จะใช้เป็นห้องคลอดต้องทำเตาไฟ โดยเอาไม้ขอนวางขวางกันเป็นคอกหมู เอากาบกล้วยปูรองพื้นและนำดินใส่จนเต็ม เตรียมแคร่นอนไว้ข้างเตาไฟ ใต้ถุนของห้องคลอดจะขุดหลุมตรงกับร่องขับถ่ายของเสียไว้ และรอบ ๆ หลุมนั้นจะตัดหนามพุทรา หรือหนามอื่นมาสะไว้โดยรอบเพื่อป้องกันผีปอบ ผีกระสือ ไม่ให้มากินเลือดกินของคาว ของเสียที่ถ่ายมาตามร่องนั้น การคลอด เมื่อท้องแก่เริ่มปวดท้อง จะไปตามหมอตำแยมาทำคลอด เริ่มด้วยหมอตำแยจะทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือนก่อน โดยจัดทำขนมต้ม ข้าวเหนียวนึ่ง กล้วย ดอกไม้ ธูป เทียน และเงิน จัดใส่พานไหว้ "ปู่ ย่า ตา ยาย ทางพ่อก็ดี ทางแม่ก็ดี ให้มาช่วยให้การคลอดง่ายให้มาปกปักรักษาให้คลอดง่าย" โดยการคลอดจะนิยมให้คนท้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก และให้นั่งพิงครกหรือพิงหลังสามีเอาเท้ายันฝาไว้ เมื่อเด็กคลอดออกมาผู้เป็นสามีหรือคนในบ้านจะรีบติดไฟต้มน้ำร้อนเพื่ออาบน้ำเด็กต่อไป ถ้าการคลอดมีการผิดปกติจะใช้วิธีหาหมอพื้นบ้านมาเสกเป่า หรือทำน้ำมนต์ให้ดื่ม เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์
การอยู่ไฟ "อยู่กรรม" จะเป็นการอยู่ไฟฟืนโดยท่อนล่างจะนุ่งเตี่ยว ท่อนบนจะเอาผ้าชุบน้ำโปะหน้าอกไว้ นอนเหยียดแขนขาบนแคร่ซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้กระดานแผ่นเดียว การนอนอยู่ไฟจะไม่ให้งอแขนงอขา และห้ามไม่ให้ออกไปนอกบริเวณที่อยู่ไฟ เมื่อแข็งแรงดีแล้วจะลุกเดินได้
การเลี้ยงดูเด็กอ่อนขณะที่แม่ยังไม่มีน้ำนมคือให้เด็กกินน้ำ หรือน้ำผึ้งโดยใช้สำลีชุบน้ำผึ้งให้ดูด และเริ่มให้เด็กกินกล้วยสุกบด จนกระทั่งอายุประมาณ 1 เดือน จึงจะเลี้ยงด้วยข้าวบดใส่กล้วยสุก และเริ่มให้เด็กกินข้าวกับปลาก็ต่อเมื่อเด็กเริ่มหัดพูดและพูดคำว่า "ปลา" ได้ ถ้าเด็กลิ้นเป็นฝ้าจะใช้ปัสสวะของเด็กเองป้ายกวาดถ้าปวดท้องจะใช้ด้ายผูกก้อนมหาหิงค์ผูกติดข้อมือเด็กไว้เพื่อให้เด็กดมกลิ่น
ผู้ที่จะบวชตามประเพณีของชาวพุทธต้องมีอายุครบ 20 ปี มีร่างกายครบ 32 ประการ ส่วนมากนิยมบวชก่อนแต่งงาน การบวชของชาวไทยเบิ้งมีพิธีกรรมคล้ายกับประเพณีบวชในพื้นที่อื่น ๆ เช่น การเตรียมการบวช นิยมหาฤกษ์เพื่อกำหนดวันที่ดีทำพิธี ผู้บวชจะต้องหัดขานนาค หัดสวดมนต์ให้คล่อง โดยบิดามารดาจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานพาผู้ที่จะบวชไปให้อยู่ที่วัดอย่างน้อย 1 เดือน
ประเพณีการบวชของชาวไทยเบิ้ง นิยมจัดกัน 2 วัน คือวันสุกดิบ และวันบวช ตอนกลางวันก่อนเพลในวันสุกดิบ จะทำพิธีปลงผมที่วัด บิดามารดานาคจะเป็นผู้เริ่มขลิบผมก่อน ต่อด้วยญาติและพระสงฆ์เป็นผู้โกนจนหมด ผมที่โกนจะนำไปลอยน้ำ หลังจากนั้นบิดามารดานาคจะอาบน้ำให้นาคและแต่งตัวใหม่ ตอนค่ำจะทำพิธีสู่ขวัญ หรือ ทำขวัญนาค โดยมีหมอซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้คนในหมู่บ้าน หมอทำขวัญจะเริ่มทำพิธีนำไหว้พระ สวดบทชุมนุมประชุมเทวดา แหล่บทไหว้ครูบทว่าด้วยคุณบิดามารดา บทว่าด้วยตัวนาคตั้งแต่เล็กจนโต และบทสอนนาคให้ประพฤติให้ถูกต้องตามกฎของวัด และบทบัญญัติพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักศีล สวดมนต์ภาวนา และบทสุดท้ายจะเป็นบทเชิญขวัญนาค ซึ่งในการแหล่จบแต่ละครั้งแต่ละบทจะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง โห่ร้องเอาชัย และเวียนเทียน วันรุ่งขึ้นเป็นวันบวช นิยมบวชตอนเช้าหลังจากถวายภัตตาหารเช้าแล้ว จะแห่นาคเดินจากบ้านไปวัด อาจมีกลองยาวหรือแตรวงนำขบวน
ชาวไทยเบิ้ง นิยมบวช 1 พรรษา คนที่บวชไม่ครบจะถูกเรียกว่า เป็นคนไม่เต็มคน ก่อนจะลาสิกขาบทจะหาฤกษ์ดี แล้วนำกรวยใบตองดอกไม้ ธูป เทียน ไปกราบลาพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาส ซึ่งจะสวดคาถาและรดน้ำมนต์ให้ ขณะที่ก้มลงกราบจะชักผ้าสังฆาฏิออก แล้วให้นำน้ำมนต์ไปอาบ จากนั้นแต่งกายเป็นฆราวาส ถึงแม้จะลาสิกขาบทแล้ว ทิดสึกใหม่จะคงอยู่ที่วัดอีก 3 วัน เพื่อช่วยงานในวัด
การทำงานศพของชาวไทยเบิ้ง ในอดีตโดยทั่วไปนิยมการเผา นอกจากศพที่เกิดจากการถูกฆ่าตาย ตกต้นไม้ ฟ้าผ่า ตกน้ำตาย คลอดบุตรตาย หรือตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ จะนำศพฝังไว้ 3 - 5 ปี แล้วจึงทำพิธีเผาที่หลัง การทำความสะอาดศพ ด้วยน้ำร้อนต้มใส่ใบมะขาม ใบฝรั่ง ซึ่งการอาบน้ำ ศพนี้จะทำเฉพาะลูกหลาน และญาติใกล้ชิด ต่อจากนั้นแต่งตัวศพ ทาขมิ้น ผัดแป้ง หวีผม โดยจะหวีไปในทางตรงข้าม กับตอนมีชีวิตอยู่ ใส่เสื้อผ้ากลับด้านหน้าไว้ข้างหลัง จัดทำกรวยใบตองใส่ดอกไม้ ธูป เทียน ใส่มือพนมไว้เพื่อให้ผู้ตายนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และบอกกับศพว่าใครขอก็ไม่ให้ นำเงินเหรียญ ใส่ในปากศพ แล้วใช้ผ้าขาวมัดตราสังศพ แล้วทำพิธีเบิกโลงก่อนนำศพลงโลง ซึ่งเป็นหน้าที่ของสัปเหร่อ โดยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกเป็นปากกา มีลักษณะเป็นไม้คีบเหมือนไม้ปิ้งปลา 8 อันนำไปคีบตามขอบโลงด้านละ 2 อัน แล้วนำด้ายสายสิญจน์มัดโยงตามไม้คีบปากกาทั้ง 8 อัน ทำกระทงใบฝรั่ง 4 กระทง ใส่ข้าวดำ ข้าวแดง เพื่อวางในโลงเป็นเครื่องสังเวย ทำน้ำมนต์ธรณีสารพรมที่โลงและศพ แล้วใช้เทียนจุดด้ายสายสิญจน์ที่โยงไว้ระหว่างไม้คีบปากโลง ให้สายสิญจน์ขาดเป็นช่อง ๆ เป็นการแสดงว่าได้ตัดขาดจากญาติพี่น้อง ลูกหลานให้หมด ต่อจากนั้นจึงม้วนด้ายสายสิญจน์และนำไม้คีบปากทั้งหมดใส่ในโลงด้วย หลังจากนั้นจะยกโลงไปตั้งบนเรือนหันด้านศีรษะไปทางทิศตะวันตกเพื่อทำพิธีสวดศพต่อไป
ในอดีตจะตั้งศพที่บ้าน ไม่นิยมไปตั้งศพที่วัดเหมือนปัจจุบัน และตั้งศพบำเพ็ญกุศลเพียง 1-3 วัน เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการฉีดยาป้องกันศพเน่าเปื่อย จึงต้องรีบเผา ตลอดเวลาตั้งศพสวดนั้นจะจุดธูปหรือจุดตะเกียงตลอดไม่ให้ดับเมื่อถึงเวลาอาหารญาติของผู้ตายจะจัดสำรับอาหารไปวางข้างโลง และเคาะโลงเรียกให้กินอาหาร หรือเมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมก็จะเคาะโลงเรียกให้ฟังพระสวดด้วย
เมื่อสวดศพวันสุดท้ายแล้วจะหามศพไปทำพิธีที่วัดถ้าเป็นพ่อ แม่ หรือญาติผู้ใหญ่หลังจากการหามศพลงจากบ้านแล้วจะคว่ำโอ่งน้ำ 1 ใบ ขบวนศพที่หามไปนั้นจะนำหน้าศพด้วยหม้อไฟ (หม้อตาลใส่ฝ้ายจุดไฟ) และมีถาดใส่มะพร้าวปอกเปลือกแล้ว 1 ลูก กระทงใบฝรั่ง หรือ กระทงใบตองใส่ข้าวดำข้าวแดง และสตางค์กระทงละ 1 บาท แต่ละกระทงจะปักธงสามเหลี่ยม ขณะที่หามศพไปก็จะโรยข้าวตอกไปตลอดทาง เป็นการนำไปสู่สวรรค์ และตลอดทางที่หามศพไปจะไม่มีการหยุดพักระหว่างกลางทาง การกำหนดวันเผาศพของชาวไทยเบิ้ง จะห้ามเผาศพวันพระ และวันคู่ จะเผาศพเฉพาะวันคี่ ห้ามเผาวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอังคาร การแต่งกายของผู้ไปร่วมงานศพจะแต่งกายสีใดก็ได้จะไม่ถือว่าผิดธรรมเนียมประเพณีแต่อย่างใด ประเพณีการแต่งกายสีดำ หรือสีขาว - ดำ ไปงานศพในเวลาต่อมานั้นได้รับแบบอย่างจากคนภาคกลาง การทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หลังจากเผาศพ 3 วันจะทำพิธีกลบธาตุ หรือกลับธาตุ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์ ไปที่เชิงตะกอน สวดบังสุกุลตายพรมน้ำมนต์ที่กระดูก แล้วเขี่ยกระดูกเป็นรูปคนหันศีรษะไปทางตะวันออก แล้วพระสงฆ์สวดบังสุกุลเป็นเพื่อเป็นการแสดงการเกิด แล้วจึงเก็บกระดูกใส่โกศไว้บนหิ้งบูชา หรือเก็บไว้ที่วัด เมื่อถึงวันตรุษสงกรานต์ แต่ละปีจะนำโกศไปวัดให้พระสงฆ์สวดบังสุกุล หรือนิมนต์พระสงฆ์ไปทำบุญที่บ้าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ นับเป็นการทำบุญใหญ่ประจำปี
เมื่อมีผู้ป่วยหนักมักจะทำพิธีต่ออายุโดยนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีที่บ้านมีการทำ บุญเลี้ยงพระ สวดต่อชะตาชักบังสุกุลเป็น เป็นการสร้างเสริมกำลังใจผู้ป่วย ยืดอายุผู้ป่วยไปอีกระยะหนึ่ง
เมื่อผู้ป่วยอาการหนัก เห็นว่าไม่มีทางรอดมีอาการใกล้สิ้นใจ ญาติพี่น้องจะบอกทางแก่ผู้ป่วย ให้นึกถึงพระอรหันต์ หรือบอกให้ท่องพุทโธ ๆ หรือจะกล่าวนำดัง ๆ ให้ผู้ป่วยได้ยินจะได้ยึดคำพุทโธ ๆ เป็นพุทธานุสติ ให้จิตใจสบายและเชื่อมั่นว่าเมื่อจากโรคนี้ไปแล้วจะไปสู่ภพภูมิที่ดี
ประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยเบิ้ง ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อ และทำประเพณีต่าง ๆ คล้าย ๆ กับชาวไทยภาคกลาง ประเพณีที่ทำในท้องถิ่นตลอดทั้งปีทีดังนี้
มีความเชื่อทั้ง 2 ประเภท แต่ในสมัยก่อนมีความเชื่อต่างจากในปัจจุบัน ทุกหมู่บ้านจะมีความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ คล้าย ๆ กัน ความเชื่อสำคัญมีดังนี้ ความเชื่อเรื่องผี ชาวไทยเบิ้งที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ยังมีความเชื่อเรื่องผีอยู่ ดังนี้
ผีบ้านผีเรือนหรือผีปู่ย่าตายาย ชาวไทยเบิ้งไม่นิยมตั้งศาลบูชาผีบ้านผีเรือนผีปู่ย่าตายาย หรือศาลเจ้าที่ แต่เชื่อว่ามีผีประจำอยู่ในบ้านเรือน
ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อเหมือนกับคนทั่ว ๆ ไปจะอธิบายดังนี้
เพลงโคราช เป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
ประวัติของเพลงโคราชนั้นมีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ เพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาค ขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ ๆ แกประทับใจในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สอง
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรก ๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
ตำนานทั้งสองถึงเม้จะต่างกันในด้านกำเนิดแต่ตรงกันอย่างหนึ่งที่กล่าวว่าเพลงโคราชระยะแรกเล่นแบบเพลงก้อม
ก้อม เป็นภาษาโคราชและภาษาอีสาน แปลว่า สั้น เพลงก้อมหมายถึง เพลงสั้น ๆ ว่าโต้ตอบกล่าวลอย ๆ ทั้งที่มีความหมายลึกซึ้ง หรือไม่มีความหมายเลยก็ได้
เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี (คุณย่าโม) ยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ. 2313 ถึง 2395) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า
“ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหงฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง .....ตำแหน่ง”
ความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า
“ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น....ธานินทร์”
— (สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย)
เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า "ซุมบ้านสก" ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง
การแบ่งประเภทของเพลงโคราชนั้น แบ่งได้หลายวิธี พอจะแยกกล่าวได้ดังนี้