ไรน้ำนางฟ้า (อังกฤษ: Fairy shrimp) เป็นครัสเตเชียนจำพวกแบรงคิโอโพดาจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Streptocephalus และวงศ์ Streptocephalidae [2] มีลักษณะคล้ายไรทะเลหรืออาร์ทีเมีย แต่มีขนาดตัวโตกว่า คือ ไม่มีเปลือก ตัวใส มีขาว่ายน้ำ 11 คู่ ลำตัวยาว 1 - 3 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบก พัดอาหารเข้าปาก บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ที่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ และใช้ในการจำแนกชนิด ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา
ไรน้ำนางฟ้า จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก เช่น คูน้ำข้างถนน หรือนาข้าว แม้กระทั่งแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น ปลักควาย หรือรอยเท้าควายในเลน ยามฤดูฝน อาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์, โปรโตซัว, อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช ฤดูที่พบ คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม คือ ในฤดูฝน วงจรชีวิต คือ ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส ฝังอยู่ในพื้นดินหรือโคลน โดยจะพบในบ่อเล็กบ่อน้อย เมื่อน้ำท่วมขังก็จะฟักเป็นตัวออกมา ส่วนแหล่งน้ำขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ไรน้ำนางฟ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น[3]
ไรน้ำนางฟ้า แบ่งออกได้ราว ๆ 50-60 ชนิด (ดูเนื้อหาข้างล่าง[2]) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ แอฟริกา, ออสเตรเลีย, ยูเรเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาเหนือ ซึ่งเดิมเคยเป็นมหาทวีปกอนด์วานา[4] เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย มีทั้งหมด 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนั้น ล้วนแต่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นทั้งหมด ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae) พบครั้งแรกที่จังหวัดหนองบัวลำภู และพบได้ทั่วประเทศ, ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) มิได้จัดอยู่ในสกุล Streptocephalus ไข่มีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธรสองเท่า และไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis) พบครั้งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เป็นชนิดที่หาได้ยากมาก นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ประเทศลาว[5]
ไรน้ำนางฟ้า มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ปัจจุบันได้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั้งเป็นอาหารให้แก่ตัวอ่อน, เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ และสัตว์น้ำสวยงาม โดยปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วตลอดทั้งปี[3]
นอกจากนี้แล้ว ไรน้ำนางฟ้ายังมีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "แมงอ่อนช้อย", "แมงแงว", "แมงหางแดง" และ"แมงน้ำฝน" เป็นต้น[5]
การจำแนกสายพันธุ์ที่พบ
[แก้]
- Streptocephalus annanarivensis Thiele, 1907
- Streptocephalus antillensis Mattox, 1950
- Streptocephalus areva Brehm, 1954
- Streptocephalus bidentatus Hamer & Appleton, 1993
- Streptocephalus bimaris Gurney, 1909
- Streptocephalus bourquinii Hamer & Appleton, 1993
- Streptocephalus bouvieri Daday, 1908
- Streptocephalus cafer Lovén, 1847
- Streptocephalus caljoni Beladjal, Mertens & Dumont, 1996
- Streptocephalus cirratus Daday, 1908
- Streptocephalus cladophorus Barnard, 1924
- Streptocephalus coomansi Brendonck & Belk, 1993
- Streptocephalus dendrophorus Hamer & Appleton, 1993
- Streptocephalus dendyi Barnard, 1929
- Streptocephalus dichotomus Baird, 1860
- Streptocephalus distinctus Thiele, 1907
- Streptocephalus dorothae Mackin, 1942
- Streptocephalus dregi G. O. Sars, 1899
- Streptocephalus echinus Bond, 1934
- Streptocephalus gauthieri Brtek, 1974
- Streptocephalus gracilis G. O. Sars, 1898
- Streptocephalus guzmani Maeda-Martínez et al., 1995
- Streptocephalus henridumontis Maeda-Martínez & Obregón-Barboza, 2005
- Streptocephalus indistinctus Barnard, 1924
- Streptocephalus jakubskii Grochmalicki, 1921
- Streptocephalus javanensis Brehm, 1955
- Streptocephalus kaokoensis Barnard, 1929
- Streptocephalus kargesi Spicer, 1985
- Streptocephalus lamellifer Thiele, 1900
- Streptocephalus linderi W. G. Moore, 1966
- Streptocephalus longimanus Bond, 1934
- Streptocephalus mackini W. G. Moore, 1966
- Streptocephalus macrourus Daday, 1908
- Streptocephalus mattoxi Maeda-Martínez et al., 1995
- Streptocephalus moorei Belk, 1973
- Streptocephalus namibiensis Hamer & Brendonck, 1993
- Streptocephalus neumanni Thiele, 1904
- Streptocephalus ovamboensis Barnard, 1924
- Streptocephalus papillatus G. O. Sars, 1906
- Streptocephalus potosinensis Maeda-Martínez et al., 1995
- Streptocephalus proboscideus Frauenfeld, 1873
- Streptocephalus propinquus Brady, 1916
- Streptocephalus purcelli G. O. Sars, 1898
- Streptocephalus queenslandicus Herbert & Timms, 2000
- Streptocephalus reunionensis Thiéry & Champeau, 1994
- Streptocephalus rothschildi Daday, 1908
- Streptocephalus rubricaudatus Klunzinger, 1867
- Streptocephalus rugosus Brehm, 1960
- Streptocephalus sealii Ryder, 1879
- Streptocephalus similis Baird, 1852
- Streptocephalus simplex Gurney, 1906
- Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang et al., 2000
- Streptocephalus spinicaudatus Hamer & Appleton, 1993
- Streptocephalus spinifer Gurney, 1906
- Streptocephalus spinosus Daday, 1908
- Streptocephalus sudanicus Daday de Dées, 1910
- Streptocephalus texanus Packard, 1871
- Streptocephalus thomasbowmani Maeda-Martínez & Obregón-Barboza, 2005
- Streptocephalus torvicornis Waga, 1842
- Streptocephalus trifidus Hartland-Rowe, 1969
- Streptocephalus vitreus Brauer, 1877
- Streptocephalus wirminghausi Hamer, 1994
- Streptocephalus woottoni Eng et al., 1990
- Streptocephalus zeltneri Daday, 1910
- Streptocephalus zuluensis Brendonck & Hamer, 1992[2]