ไรบอสตามัยซิน

ไรบอสตามัยซิน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าVistamycin
ชื่ออื่น (2R,3S,4R,5R,6R) -5-amino-2- (aminomethyl) -6-{[(1R,2R,3S,4R,6S) -4,6-diamino-2-{[(2S,3R,4S,5R) -3,4-dihydroxy-5- (hydroxymethyl) oxolan-2-yl]oxy}-3-hydroxycyclohexyl]oxy}oxane-3,4-diol
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
  • (1R,2R,3S,4R,6S) -4,6-diamino-3-hydroxy-2- (β-D-ribofuranosyloxy) cyclohexyl 2,6-diamino-2,6-dideoxy-α-D-glucopyranoside
PubChem CID
ChemSpider
UNII
ChEMBL
ECHA InfoCard100.053.421
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC17H34N4O10
มวลต่อโมล454.47266 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • C1[C@H]([C@@H]([C@H]([C@@H]([C@H]1N) O[C@@H]2[C@@H]([C@H]([C@@H]([C@H](O2) CN) O) O) N) O[C@H]3[C@@H]([C@@H]([C@H](O3) CO) O) O) O) N
  • InChI=1S/C17H34N4O10/c18-2-6-10 (24) 12 (26) 8 (21) 16 (28-6) 30-14-5 (20) 1-4 (19) 9 (23) 15 (14) 31-17-13 (27) 11 (25) 7 (3-22) 29-17/h4-17,22-27H,1-3,18-21H2/t4-,5+,6-,7-,8-,9+,10-,11-,12-,13-,14-,15-,16-,17+/m1/s1 ☒N
  • Key:NSKGQURZWSPSBC-VVPCINPTSA-N ☒N
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ไรบอสตามัยซิน (อังกฤษ: Ribostamycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ – อะมิโนไซคลิตอล (aminoglycoside-aminocyclitol) ที่แยกได้จากเชื้อแบคทีเรียสกุลสเตรปโตมัยซิสที่มีชื่อว่า Streptomyces ribosidificus ซึ่งการค้นแรกจากตัวอย่างดินที่มาจากเมืองสึ, จังหวัดมิเอะ, ประเทศญี่ปุ่น[1] มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วย คือ 2-deoxystreptamine (DOS), neosamine C, และน้ำตาลไรโบส[2] ไรบอสตามัยซิน รวมไปถึงยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่มี DOS เป็นหน่วยย่อยในโมเลกุล เป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างที่สำคัญที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นหนึ่งในรายการยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสาธารณสุข[3][4] อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์การดื้อต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างไรบอสตามัยซิน ที่เพิ่มมากขึ้นของเชื้อแบคทีเรียนั้น กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจของวงการสาธารณสุข ซึ่งการดื้อต่อยากลุ่มนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายขั้นตอน ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียโดยอาศัยเอนไซม์ต่างๆ ผ่านปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน, อะดีนิเลชัน และอะซีทิเลชัน รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยาปฏิชีวนะเข้าจับกับสายอาร์เอ็นเอบนไรโบโซมของเชื้อแบคทีเรียได้[5]

ชีวสังเคราะห์

[แก้]
แผนผังแสดงเส้นทางการสังเคราะห์ไรบอสตามัยซิน

ชีวสังเคราะห์ของไรบอสตามัยซินเริ่มจากการที่ D-glucose เกิดปฏิกิริยาการเติมหมู่ฟอสเฟตที่ตำแหน่งที่ 6 (ฟอสโฟรีเลชัน) กลายเป็น Glucose-6-phosphate จากนั้นเอนไซม์ rbmA ซึ่งมีส่วนของยีนที่ตอบสนองต่อ NAD+ จะเข้าทำปฏิกิริยากับ Glucose-6-phosphate ได้เป็น 2-deoxy-scyllo-inosose ถัดมาเอนไซม์ rmbB จะเข้าจับกับสารดังกล่าวและกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทรานส์อะมีเนชัน (transamination) เพื่อเปลี่ยน 2-deoxy-scyllo-inosose ไปเป็น 2-deoxy-scyllo-inosamine จากนั้นเอนไซม์ rbmC จะเข้าทำการออกซิไดซ์เพื่อเปลี่ยนสารดังกล่าวเป็น 2-deoxy-3-amino-scyllo-inosose จากนั้นเอนไซม์ rmbB จะเข้ากระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทรานส์อะมีเนชันอีกครั้งเพื่อสร้าง DOS ถัดมา DOS จะถูกไกลโคซิเลทเพื่อเชื่อมต่อ DOS เข้ากับ uridine diphosphate N-acetylglucosamine (UDP-Glc-NAc) ด้วยเอนไซม์ glycosyltransferase rmbD จนได้เป็น 2’-N-acetylparomamine ซึ่งจะถูกดึงหมู่อะซีติลออกโดยเอนไซม์ racJ ได้ผลิตภัณฑ์ต่อมาเป็น Paromamine แล้ว Paromamine ถูกออกซิไดซ์ต่อด้วยเอนไซม์ rbmG และ rmbH transaminates ตามลำดับ จนได้เป็น neamine ซึ่งจะถูกไรโบซิเลทอีกหนึ่งครั้งเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สุดท้ายคือ ไรบอสตามัยซิน[2][3]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Shomura, T.; Ezaki, N.; Tsuruoka, T.; Niwa, T.; Akita, E.; Niida, T.; Studies on Antibiotic SF-733, a New Antibiotic. I Taxonomy, Isolation and Characterization. The Journal of Antibiotics. 1970, 23 (3), 155-161.
  2. 2.0 2.1 Subba, B.; Kharel, M.K.; Lee, H.C.; Liou, K.; Kim, B.G; Sohng, J.K.; The Ribostamycin Biosynthetic Gene Cluster in Streptomyces ribosidificus: Comparison With Butirosin Biosynthesis. Molecules and Cells. 2005, 20 (1), 90-96.
  3. 3.0 3.1 Kurumbang N.P.; Liou, K.; Sohng, J.K.; Biosynthesis of Ribostamycin Derivatives by Reconstitution and Heterologous Expression of Required Gene Sets. Applied Biochemistry and Biotechnology. 2011, 163, 373-382.
  4. World Health Organization. Critically Important Antimicrobials for Human Medicine 3rd revision. 2011
  5. Kudo, F.; Eguchi, T.; Biosynthetic Genes for Aminoglycoside Antibiotics. The Journal of Antibiotics. 2009, 62, 471-481.