ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไอแคนแฮซพีดีเอฟ (อังกฤษ: ICanHazPDF) เป็นแฮชแท็กที่ถูกใช้ในทวิตเตอร์เพื่อขออนุญาตเข้าถึงวารสารวิชาการที่ต้องเข้าผ่านเพย์วอลล์[1] โดยเริ่มใช้ในปี 2554[2] โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Andrea Kuszewski[3][4] ชื่อนั้นดัดแปลงมาจากอินเทอร์เน็ตมีม I Can Has Cheezburger?.[4]
ผู้ใช้ร้องขอบทความโดยการทวีตชื่อตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOI) หรือลิงก์ของผู้จัดพิมพ์ของบทความนั้นๆ ตามด้วยแฮชแทค "#ICanHazPDF" จากนั้นคนที่สามารถเข้าถึงบทความเหล่านั้นจะอีเมลไฟล์บทความไปให้ จากนั้นผู้ใช้จึงลบทวีตทิ้ง[5]
บทความที่ถูกขอส่วนใหญ่นั้นเป็นบทความใหม่ที่ถูกตีพิมพ์ใน 5 ปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่ของผู้ใช้นั้นมาจากประเทศที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก[1] บทความทางชีววิทยานั้นถูกร้องขอเป็นจำนวนมากที่สุด ถึงแม้ราคาสมาชิกโดยเฉลี่ยของสาขาอื่นเช่น เคมี ฟิสิกส์ และ ดาราศาสตร์ จะสูงกว่าก็ตาม[1] เหตุผลที่เป็นไปได้ที่ทำให้คนใช้แฮชแท็กได้แก่การที่ผู้อ่านไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อบทความและความรวดเร็วในการเข้าถึงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับระบบกู้ยืมของมหาลัย[1]
บางครั้งวิธีปฏิบัติในการขอบทความถูกมองถูกมองว่าเป็น "การละเมิดลิขสิทธิ์"[6] การเหมารวมเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมายของไอแคนแฮซพีดีเอฟนั้นเป็นที่ถกเถียง เพราะว่ามีสำนักพิมพ์หลายที่ ที่อนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการในบางรูปแบบ แต่ทว่านโยบายของแต่ละสำนักพิมพ์นั้นมีความแตกต่างกัน[7]