ศูนย์ภาพยนตร์มะนิลา (อังกฤษ : Manila Film Center ) เป็นอาคารตั้งอยู่ปลายตะวันตกเฉียงใต้ของโครงการศูนย์วัฒนธรรมฟิลิปปินส์ ในปาเซย์ ประเทศฟิลิปปินส์ ผลงานออกแบบโดยสถาปนิก Froilan Hong ด้วยสถาปัตยกรรมแบบบรูทัลลิสต์ สร้างอยู่บนโครงสร้างค่ำยันกว่า 900 เสา[ 1] ศูนย์ภาพยนตร์เป็นโรงภาพยนตร์หลักในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมะนิลาครั้งที่หนึ่ง (First Manila International Film Festival;[ 2] MIFF) ระหว่างวันที่ 18–29 มกราคม 1982
อาคารยังเป็นที่รู้จักจากกรณีคนงานก่อสร้างเสียชีวิตในอุบัติเหตุเมื่อ 17 พฤศจิกายน 1981 มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 169 ราย[ 3] [ 4] ทั้งหมดเป็นคนงานก่อสร้างที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต และถูกฝังร่างไว้ในฐานอาคารโดยใช้ปูนซีเมนต์ชนิดแห้งเร็ว[ 5] [ 6]
ก่อนหน้านี้ ประเทศฟิลิปปินส์ไม่เคยมีหอภาพยนตร์อย่างเป็นทางการ ในเดือนมกราคม 1981 สตรีหมายเลขหนึ่ง อีเมลดา มาร์กอส จึงเสนอโครงการก่อสร้างศูนย์ภาพยนตร์แรกขึ้นในมะนิลา ภายใต้การดูแลของเบตตี เบนิเตซ (Betty Benitez) คู่ครองของรองรัฐมนตรีกระทรวงที่อยู่อาศัย โฌเซ กอนราโด เบนิเตซ (Jose Conrado Benitez) และมีรามอน เอ็ม. อิกนาซีโอ (Ramon M. Ignacio) เจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีอาวุโสประจำศูนย์ทรัยากรเทคโนโลยีเป็นผู้วางแผนโครงการ[ 7]
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร Hong ระบุว่าฐานของอาคารสร้างอยู่บนที่ดินถมขึ้นมา[ 8] ใกล้กับอ่าวมะนิลา เนื่องจากระยะเวลาการก่อสร้างมีอย่างจำกัด มีคนงานก่อสร้างมากถึง 4,000 คน ทำงานสลับกันใน 3 กะ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยหนึ่งพันคนก่อสร้างโถงรับรอง[ 9] ซึ่งสร้างเสร็จภายในเวลา 72 ชั่วโมง จากมาตรฐานการก่อสร้างปกติที่ใช้เวลาประมาณหกสัปดาห์ ศูนย์เปิดให้บริการในปี 1982 ด้วยงบประมาณก่อสร้างรวม 25 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
อาคารนี้เป็นหนึ่งใน "เอดิไฟซ์คอมเพล็กซ์ " (edifice complex) ของตระกูลมาร์กอส[ 10] อันหมายถึง "ความเสพติดและความกระหายที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่โตเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ [ของมาร์กอส]"[ 11] [ 12]
อุบัติเหตุเสียชีวิตในปี 1981[ แก้ ]
เมื่อเวลาประมาณตีสามของวันที่ 17 พฤศจิกายน 1981 ขณะกำลังก่อสร้างอาคาร[ 10] เกิดอุบัติเหตุนั่งร้านถล่ม[ 13] [ 14] [ 15] ส่งผลให้มีคนงานก่อสร้าง 169 คนหล่นลงมา[ 3] [ 16] [ 17] และถูกฝังร่างภายใต้อาคารโดยใช้ปูนซีเมนต์เปียกชนิดแห้งเร็ว[ 18] เจ้าหน้าที่รัฐภายใต้เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ทีมกู้ภัยและรถพยาบาลเข้าในพื้นที่เกิดเหตุเด็ดขาด[ 9] จนกว่าทางการจะจัดเตรียมแถลงการณ์เสร็จสิ้น ท้ายที่สุดทีมกู้ภัยและรถพยาบาลสามารถเข้าไปยังที่เกิดเหตุได้เก้าชั่วโมงถัดมา
นายกรัฐมนตรีเซซาร์ วีราตา ไม่อนุมัติทุนจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 19] ที่จะอุดหนุนในการจัดเทศกาลภาพยนตร์ ส่งผลให้อิเมลดา มาร์กอส ต้องเตรียมแผนพิเศษสำหรับหาเงินทุนเร่งด่วนต่อไป
หลังเหตุแผ่นดินไหวปี 1990 [ 20] ที่กระทบมะนิลาและลูซอน ศูนย์ถูกทิ้งร้าง[ 21] หลังมีรายงานความเสียหายเชิงโครงสร้างในคานรับน้ำหนักทางตะวันตกของอาคาร[ 22]
เชื่อกันว่ามีผีสิงศูนย์ภาพยนตร์มะนิลา ซึ่งเป็นดวงวิญญาณของคนงานก่อสร้างที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุขณะก่อสร้างศูนย์[ 6] ประเด็นนี้เคยถูกยกมาพูดคุยในปี 2005 บนรายการของจีเอ็มเอ ชื่อ i-Witness [ 23]
↑ "Manila National Film Centre, Page 2, Annex 1, Building Specification" (PDF) . Unesco . สืบค้นเมื่อ 2009-01-16 .
↑ MIFF Press Release . Open Library, Published in 1982, Office of Media Affairs (Manila) . Office of Media Affairs. 1982. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16 .
↑ 3.0 3.1 Benedicto, Bobby (2009). "Shared Spaces of Transnational Transit: Filipino Gay Tourists, Labour Migrants, and the Borders of Class Difference". Asian Studies Review . 33 (3): 289–301. doi :10.1080/10357820903153715 . S2CID 143627535 .
↑ "Max Soliven: By the Way" . Philippine Star . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ "Sculpting Society" . Philippine Daily Inquirer . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-11-17. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ 6.0 6.1 de Guzman, Nicai (November 7, 2019). "The Mysterious Curse of the Manila Film Center" . Esquire . สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ "Manila National Film Centre, Page 1, Annex 1, History" (PDF) . Unesco . สืบค้นเมื่อ 2009-01-16 .
↑ "Manila Film Center Shines again" . Philippine Headline News Online (Newsflash) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18 .
↑ 9.0 9.1 Lico, Gerard (2003). Edifice complex: power, myth, and Marcos state architecture . HI: University of Hawaii Press; illustrated edition. pp. 124 of 178. ISBN 978-971-550-435-5 . สืบค้นเมื่อ 2009-12-14 .
↑ 10.0 10.1 "Martial Law Museum" . Martial Law Museum (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ Santos, Roselle. "Book Review: Edifice Complex: Power, Myth, and the Marcos State Architecture by Gerard Lico : Philippine Art, Culture and Antiquities" . Artes de las Filipinas . สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ Villa, Kathleen de (2017-09-16). "Imelda Marcos and her 'edifice complex' " . Inquirer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26 .
↑ "Senate eyes Film Center as new home" . Manila Bulletin . สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ Lico, Gerard (2003). Edifice complex: power, myth, and Marcos state architecture . HI: University of Hawaii Press; illustrated edition. pp. 123 of 178. ISBN 978-971-550-435-5 . สืบค้นเมื่อ 2010-01-18 .
↑ "Where Spirits Roam". Rogue Magazine . October 2009.
↑ Benedicto, Bobby (2009). "Shared Spaces of Transnational Transit: Filipino Gay Tourists, Labour Migrants, and the Borders of Class Difference". Asian Studies Review . 33 (3): 289–301. doi :10.1080/10357820903153715 . S2CID 143627535 .
↑ "Max Soliven: By the Way" . Philippine Star . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ "Sculpting Society" . Philippine Daily Inquirer . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-11-17. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ Ellison, Katherine (2003). Imelda, Steel Butterfly of the Philippines . HI: Mcgraw-Hill. pp. 33 of 301 . ISBN 978-0-07-019335-2 . สืบค้นเมื่อ 2010-01-18 .
↑ "The July 16 Luzon Earthquake: A Technical Monograph" . Inter-Agency Committee for Documenting and Establishing Database on the July 1990 Earthquake . Philippine Institute of Volcanology and Seismology . 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2009-01-07 .
↑ "Manila Film Center Shines again" . News Flash . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18 .
↑ "Manila Film Center Shines again" . News Flash . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 10, 2010. สืบค้นเมื่อ January 18, 2010 .
↑ "Multo ng Nakaraan (Ghosts of the Past)" . GMA News . December 31, 2006. สืบค้นเมื่อ September 6, 2021 .