สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม | |
---|---|
โลโก้ สตาร์ วอร์ส ไตรภาค | |
กำกับ |
|
บทภาพยนตร์ |
|
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ |
|
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | 1977–2019: ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ตั้งแต่ 2019: วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์[a] |
วันฉาย |
|
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 76.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 4, 5, 6) |
ทำเงิน | 1.798 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 4, 5, 6) |
สตาร์ วอร์ส ไตรภาค (อังกฤษ: Star Wars Trilogy) หรือมักเรียกว่า ไตรภาคเดิม หรือ ไตรภาคคลาสสิก เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดแรกที่สร้างในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส มหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศซึ่งสร้างโดย จอร์จ ลูคัส ภาพยนตร์สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ประกอบด้วย ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม (1977), สตาร์ วอร์ส 2 (1980) และ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได (1983) ภาพยนตร์ในไตรภาคเล่าเรื่องสงครามกลางเมืองระหว่างพันธมิตรกบฏและจักรวรรดิกาแลกติก ผู้ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ เช่นเดียวกับ การเดินทางของวีรบุรุษของลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์เจได โอบีวัน เคโนบี และ โยดา จนได้กลายเป็นเจได ลุค, เจ้าหญิงเลอา, ฮาน โซโล, ชิวแบคคา, ซีทรีพีโอและอาร์ทูดีทู ได้เข้าร่วมพันธมิตรกบฏเพื่อต่อสู้กับเอมไพร์และลอร์ดมืดผู้ชั่วร้าย ดาร์ธ เวเดอร์
ภาพยนตร์ในชุดไตรภาคเดิมนี้ มีเนื้อเรื่องเป็นองก์ที่สองของ มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างไตรภาคต้น ฉายระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005 และไตรภาคต่อ ฉายระหว่างปี ค.ศ. 2015 ถึง 2019[1]
เมื่อปี ค.ศ. 1971 จอร์จ ลูคัส ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจาก ภาพยนตร์ฉายเป็นตอนของ แฟลชกอร์ดอน แต่ว่าเขาไม่ได้รับสิทธิ์นั้น เขาจึงเริ่มต้นพัฒนาภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขา โดยได้รับแรงบันดาลใจจากงานของ เอ็ดการ์ ไรซ์ เบอร์โรห์[b][2] หลังลูคัสกำกับภาพยนตร์เรื่อง อเมริกันกราฟฟิติ (1973) เขาได้เขียนเรื่องย่อของภาพยนตร์บันเทิงคดีแนวอวกาศของเขาจำนวนสองหน้า ตั้งชื่อว่า เจอร์นัลออฟเดอะวิลล์ส (อังกฤษ: Journal of the Whills) ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ตัดสินใจลงทุนกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังภาพยนตร์ได้รับการปฏิเสธจาก ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์, ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์และดิสนีย์[3][4][5] ลูคัสรู้สึกว่าเนื้อเรื่องต้นฉบับของเขานั้นยากเกินกว่าจะเข้าใจ ดังนั้นในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1973 เขาเริ่มเขียนบทร่างจำนวน 13 หน้า ตั้งชื่อว่า เดอะ สตาร์ วอร์ส มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ เดอะฮิดเดนฟอร์เทรสส์ (1958) ของ อากิระ คูโรซาวะ[6] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1974 เขาได้ขยายเรื่องราวไปสู่ร่างบทแรกของบทภาพยนตร์[7] แต่พบว่าบทภาพยนตร์นั้นยาวเกินไปสำหรับภาพยนตร์เรื่องเดียว[8] และในที่สุดบทร่างก็กลายเป็นบทภาพยนตร์ของภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ฉบับดั้งเดิม[9]
ลูคัสเจรจาต่อรองเพื่อรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ ทอม พอลล็อก ซึ่งต่อมาได้เป็นทนายของลูคัสเขียนว่า "เรามาถึงข้อตกลงที่จอร์จจะรักษาสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ แต่ไม่ได้ [สิทธิ์ในการขายสินค้า] ทั้งหมดซึ่งตามมาในภายหลัง คุณต้องไตร่ตรองให้ดี แค่สิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ และฟอกซ์จะได้รับโอกาสครั้งแรกและสิทธิ์ในการปฏิเสธครั้งสุดท้ายในการสร้างภาพยนตร์"[10] ลูคัสได้รับเงินข้อเสนอ $50,000 สำหรับการเขียนบท อีก $50,000 สำหรับการสร้างและอีก $50,000 สำหรับการกำกับภาพยนตร์[10] ค่าตอบแทนการกำกับของเขาต่อมาเพิ่มเป็น $100,000 เขายังได้เจรจาขอสิทธิ์ในการสร้างภาคต่อและเป็นเจ้าของ 40% ของผลกำไรจากการขายสินค้า[11][12][13] แฮร์ริสัน ฟอร์ด หนึ่งในนักแสดงใน อเมริกันกราฟฟิติ เลิกเป็นนักแสดงเพื่อพยายามไปเป็นช่างไม้ จนกระทั่งลูคัสจ้างเขามาเล่นเป็น ฮาน โซโล[14]
มีนักแสดงหลายพันคนได้การพิจารณาในค้นหานักแสดงหลักของไตรภาค[15] นักแสดงที่ได้รับการคัดเลือก ได้รับการพิจารณาจากผู้ชมหลายคนว่ามีเคมีเข้ากันบนหน้าจอ แม้ว่าบางคนจะไม่มีประสบการณ์ ยกเว้นอเล็ก กินเนสส์และปีเตอร์ คุชิง[16][17] บางคน เช่น ฟอร์ดบอกว่าบทพูดนั้นดูอืดอาด และบทพูดหลายบทมาจากการด้นสด บางบทพูดถือว่าเป็นช่วงที่น่าจดจำที่สุดในภาพยนตร์[c]
สตาร์ วอร์ส ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 เล่าเรื่องราวของ ลุค สกายวอล์คเกอร์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองระหว่าง จักรวรรดิกาแลกติก และ พันธมิตรกบฏ โดยมีดรอยด์สองตัวและหนึ่งอัศวินเจได คอยช่วยเหลือเขา โดยลุคช่วยสร้างหนึ่งในชัยชนะที่สำคัญที่สุดให้กับพันธมิตรกบฏ ความสำเร็จที่ไม่คาดคิดของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ลูคัสสร้างรากฐานของการสร้างภาพยนตร์ฉายเป็นตอนที่มีความละเอียดซับซ้อน[19] ลูคัสตัดสินใจว่าภาพยนตร์ชุดนี้จะเป็นไตรภาคของไตรภาค ด้วยเนื้อเรื่องที่เขาเขียนไว้สำหรับสร้างภาคต่อ[20] โดยภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิมได้เพิ่มชื่อเรื่องรอง เพื่อเป็นบอกว่าเป็นภาคแรกของไตรภาคที่สอง[21] ภาคต่อเรื่องแรก สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ฉายเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 เล่าเรื่องราวของ ลุค เริ่มฝึกฝนเพื่อเป็นเจไดโดย โยดา อาจารย์เจไดคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ลุคเผชิญหน้ากับซิธลอร์ด ดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งเขาเปิดเผยว่าเป็นพ่อของลุค เวเดอร์พยายามชักชวนลุคให้เข้าสู่ด้านมือของพลัง สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 เล่าเรื่องราวของ ลุค ที่กลายเป็นเจไดแล้ว เขาพยายามเกลี้ยกล่อมเวเดอร์ เพื่อให้พ่อของเขากลับสู่ด้านสว่างและกอบกู้จักรวาลจากเอมไพร์ ภาคต่อทั้งสองภาค ลูคัสฟิล์ม เป็นผู้ออกเงินทุนสร้างเองและประชาสัมพันธ์โดยไม่มีเลขตอน ซึ่งเลขตอนนั้นปรากฏในฉากข้อความเปิดเรื่อง
ภาพยนตร์ | วันฉาย | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบทภาพยนตร์ | เนื้อเรื่องโดย | ผู้อำนวยการสร้าง | ผู้จัดจำหน่าย |
---|---|---|---|---|---|---|
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 | จอร์จ ลูคัส | แกรี เคิร์ทซ์ | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (ช่วงแรก) วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ | |||
21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 | เออร์วิน เคิร์ชเนอร์ | ลีห์ แบรคเกตต์และลอว์เรนซ์ แคสแดน | จอร์จ ลูคัส | |||
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 | ริชาร์ด มาร์ควานด์ | ลอว์เรนซ์ แคสแดนและจอร์จ ลูคัส | ฮาเวิร์ด คาแซนเจียน |
ภาพยนตร์ | รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก |
---|---|---|
สตาร์ วอร์ส | 93% (8.81/10 เรตติงเฉลี่ย) (124 บทวิจารณ์)[22] | 90 (24 บทวิจารณ์)[23] |
สตาร์ วอร์ส 2 | 94% (8.97/10 เรตติงเฉลี่ย) (102 บทวิจารณ์)[24] | 82 (25 บทวิจารณ์)[25] |
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได | 82% (7.25/10 เรตติงเฉลี่ย) (94 บทวิจารณ์)[26] | 58 (24 บทวิจารณ์)[27] |
รางวัลออสการ์ | รางวัลที่ชนะ | ||
---|---|---|---|
สตาร์ วอร์ส | สตาร์ วอร์ส 2 | สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได | |
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 50 | งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 53 | งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 56 | |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง[g] | — | — |
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | ชนะ | — | — |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ชนะ | — | — |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง |
บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง |
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม | — | — | เสนอชื่อเข้าชิง |
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | ชนะ | ชนะ | เสนอชื่อเข้าชิง |
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม | ชนะ | — | — |
รางวัลความสำเร็จเกียรติยศ | ชนะ[h] | ชนะ[i] | ชนะ[j] |
ภาพยนตร์ | วันฉาย | ทุนสร้าง | ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ | อันดับสูงสุด | อ้างอิง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อเมริกาเหนือ | ปรับเงินตามอัตราเงินเฟ้อ (อเมริกาเหนือ)[k] |
ภูมิภาคอื่น | ทั่วโลก | อเมริกาเหนือ | ทั่วโลก | ||||
สตาร์ วอร์ส | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1977 | $11 ล้าน | $460,998,007 | $1,608,419,900 | $314,600,000 | $775,598,007 | #16 | #90 | [29][30] |
สตาร์ วอร์ส 2 | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 | $33 ล้าน | $290,075,067 | $886,571,200 | $257,900,000 | $547,975,067 | #91 | #183 | [31][32][33] |
สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 | $32.5 ล้าน | $309,306,177 | $849,356,500 | $166,000,000 | $475,306,177 | #75 | #220 | [34][35] |
ทั้งหมด | $76.5 ล้าน | $1,060,779,251 | $3,344,347,600 | $728,500,000 | $1,798,879,251 | #2 | #2 |
เชิงอรรถ
อ้างอิง