สวิฟต์ขณะกำลังทักทายชาวสวิฟตี ที่ตั้งกลุ่มรอนอกสำนักงาน กูดมอนิงอเมริกา ในนครนิวยอร์ก (2012)
ชาวสวิฟตี (อังกฤษ : Swifties ) เป็นกลุ่มแฟนคลับ ของนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ สวิฟตีได้รับการยกย่องจากนักข่าวว่าเป็นหนึ่งในฐานแฟนคลับที่ใหญ่ที่สุดและอุทิศตนมากที่สุด โดยเป็นที่รู้จักในด้านการมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ และความคลั่งไคล้ในระดับสูง เป็นเรื่องที่มีการรายงานข่าวอย่างแพร่หลายในสื่อกระแสหลักอยู่ตลอดเวลา
นักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าสวิฟต์ได้นิยามความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับกลุ่มแฟนคลับใหม่ โดยสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวสวิฟตี สวิฟต์ได้มีส่วนร่วม ช่วยเหลือ ให้เครดิต และให้ความสำคัญกับแฟน ๆ ของเธออยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่ฝ่ายหลังนั้นได้ให้การสนับสนุนและความสนใจในผลงานของเธออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้ว่าเธอจะมีสื่อด้านเชิงลบก็ตาม
หลังจากมีอิทธิพลต่อวงการเพลง ในด้านต่าง ๆ ชาวสวิฟตีได้สร้างพื้นที่ของตัวเองในวัฒนธรรมประชานิยม พวกเขายังคงสนับสนุนสวิฟต์อย่างต่อเนื่องผ่านการเปลี่ยนแนวเพลงของเธอและจุดเปลี่ยนทางศิลปะที่ไม่คาดคิด ช่วยเหลือเธอในระหว่างที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เช่น กรณีข้อพิพาทสิทธิ์การถือครองเพลงในปี 2019 กระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบทางการเมืองของทิกเก็ตมาสเตอร์ ซึ่งนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยอิทธิพลทางวัฒนธรรมของดิเอราส์ทัวร์ อย่างไรก็ตาม สมาชิกของฐานแฟนคลับถูกวิจารณ์ว่าไม่คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของสวิฟต์ การที่ไปรุมในสถานที่ของเธอทั้งหมด และโจมตีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและคนดังที่ใส่ร้ายสวิฟต์ด้วยวาจาต่าง ๆ ซึ่งการเผยแพร่ ความพยายามในการส่งเสริมการจำหน่าย และแฟชั่นของสวิฟต์ ได้รับความสนใจจากการซ่อนไข่อีสเตอร์ และเงื่อนงำต่าง ๆ ที่ทำให้ชาวสวิฟตีได้ถอดรหัสและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลทางดนตรีของเธอ
การวิเคราะห์ทางวัฒนธรรมได้อธิบายสวิฟตีไว้ว่าเป็นชุมชนที่น่าสนใจ เป็นวัฒนธรรมย่อย และเกือบจะเป็นเมตาเวิร์ส นักวิชาการได้ศึกษาสวิฟตีเกี่ยวกับลัทธิการบริโภคนิยม การสร้างเนื้อหา ทุนทางสังคม ความฟุ้งซ่านโดยรวม การจัดการผลผลิต และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
เทย์เลอร์ สวิฟต์ เปิดตัวในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงคันทรี ในวัย 16 ปี ค.ศ. 2006 ตามรายงานของสื่อ สวิฟต์มีฐานแฟนคลับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2005 ก่อนที่จะปล่อยซิงเกิลเปิดตัวของเธอ "ทิม แม็กกรอว์ " (2006) สวิฟต์เคยใช้บริการเครือข่ายสังคม เธอเป็นหนึ่งในศิลปินคันทรีกลุ่มแรก ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือทางการตลาด สำหรับเพลงของเธอ โดยประชาสัมพันธ์ตัวเองบนมายสเปซ เป็นส่วนใหญ่ และเชื่อมโยงกับผู้ฟังที่ชอบเพลงของเธอเมื่อเปิดทางวิทยุ[ 1] [ 2] [ 3] เธอสร้างบัญชีมายสเปซของเธอในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2005 หนึ่งวันก่อนที่ค่ายเพลงของเธอในขณะนั้น บิกมะชีนเร็กเคิดส์ จะเปิดตัว เพลงของสวิฟต์บนมายสเปซรวบรวมผู้ฟังมากกว่า 45 ล้านครั้ง ซึ่งสก็อตต์ บอร์เชตตา ซีอีโอของค่ายเพลงได้มอบให้กับโปรแกรมเมอร์วิทยุคันทรีที่ "ไม่เชื่อ" เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาเชื่อว่ามีแฟนเพลงของสวิฟต์อยู่[ 4] ฐานแฟนคลับในช่วงแรก ๆ ของสวิฟต์นั้นประกอบด้วยเด็กสาววัยรุ่นชาวอเมริกันผิวขาว
คำว่า "สวิฟตี" สำหรับแฟนพันธุ์แท้ของสวิฟต์ได้รับความนิยมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 สวิฟต์กล่าวถึงในการสัมภาษณ์วีโว เมื่อปี 2012 ว่าแฟน ๆ ของเธอเรียกตัวเองว่า "สวิฟตี" ซึ่งเธอกล่าวว่ามัน "น่ารัก"[ 5] ต่อมาสวิฟต์ได้ยื่นคำร้องขอเครื่องหมายการค้า ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017[ 6]
ความสัมพันธ์ระหว่างสวิฟต์[ แก้ ]
สวิฟต์ขณะถ่ายรูปกับแฟนคลับในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต ในปี 2022
สวิฟต์ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชาวสวิฟตี ซึ่งนักข่าวหลายคนยกย่องถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมของเธอ[ 7] [ 8] จากสื่อ เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้อธิบายถึงสวิฟต์และสวิฟตีว่า "ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนใหญ่ในกลุ่มเดียว"[ 9] เธอได้ "ปฏิวัติ" ความสัมพันธ์ที่คนดังสามารถมีให้กับแฟนคลับได้ ตามการรายงานของสื่อ เดอะนิวยอร์กไทมส์ [ 10] แฟน ๆ หลายคนรู้สึกผูกพันกับเธอเพราะพวกเขา "เติบโตมากับเธอและดนตรีของเธอ"[ 11] [ 12] ลอรา เคลลีย์ จากสื่อ ดิแอตแลนติก ให้ความเห็นว่า "สวิฟต์เข้าใจถึงพลังของประสบการณ์แบบกลุ่ม"[ 13] ความสัมพันธ์ของเธอกับแฟน ๆ ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับศิลปินที่ประสบผลสำเร็จอย่างเธอ เธอได้โต้ตอบกับพวกเขาบนสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ส่งของขวัญให้พวกเขา เลือกพวกเขาด้วยตัวเองเพื่อเข้าร่วมคอนเสิร์ตส่วนตัวหรือพบปะทักทาย ไปเยี่ยมเยียนโดยเซอร์ไพรส์ เข้าร่วมในงานสำคัญของพวกเขา (เช่น งานแต่งงาน หรืองานสังสรรค์เจ้าสาว) และมอบบัตรเข้าชมฟรีให้กับแฟน ๆ ที่ด้อยโอกาสหรือมีอาการป่วยทางการแพทย์[ 8] [ 14] โดยนิสัยของสวิฟต์ในการซุ่มอ่านข่าวแฟนคลับของเธอผ่านทางออนไลน์ถูกแฟน ๆ เรียกกันว่า "เทย์เลอร์กิง" (Taylurking)[ 15]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 สวิฟต์ได้จัดงานพบปะและทักทายเป็นเวลา 13 ชั่วโมงโดยเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซีเอ็มเอ ในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ในปี 2014, 2017 และ 2019 เธอเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน "ซีเคร็ตเชสชันส์" ซึ่งเป็นซีรีส์ปาร์ตีฟังเพลงในอัลบั้มก่อนวางจำหน่ายสำหรับแฟนคลับที่บ้านของเธอ[ 16] [ 17] และกิจกรรมคริสต์มาส ในปี 2014 ที่แฟนคลับขนานนามว่า "สวิฟต์มาส" โดยสวิฟต์จะส่งพัสดุของของขวัญช่วงต้นคริสต์มาสให้กับแฟน ๆ และส่งของขวัญบางส่วนด้วยมือ[ 18] สวิฟต์ยังประพันธ์เพลงเพื่อเป็นเกียรติแก่แฟนคลับของเธอด้วย เช่น "ลองลิฟ " (2010)[ 19] หรือ "โรแนน" (2012); โดยเพลงหลังเป็นการบันทึกเพื่อการกุศลเกี่ยวกับลูกชายวัยสี่ขวบของแฟนคลับคนหนึ่งที่เสียชีวิตด้วยโรคนิวโรบลาสโตมา [ 14] ในปี 2023 เธอเชิญแฟนคลับจำนวน 2,200 คนมาชมภาพยนตร์คอนเสิร์ตรอบปฐมทัศน์ เทย์เลอร์ สวิฟต์: ดิเอราส์ทัวร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ[ 20] โซยา ราซา-ชีก จากสื่อดิอินดีเพ็นเดนต์ ให้ความเห็นว่า สวิฟต์ "ยังคงเป็นแถวหน้าในการมอบประสบการณ์ที่อิงตามแฟน ๆ เพื่อสร้างผู้ติดตามที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชิญเป็นการส่วนตัวไปที่บ้านของนักร้องเพื่อเข้าร่วมปาร์ตีฟังอัลบั้ม หรือที่เรียกว่าซีเคร็ตเชสชันส์ หรือการแฮงเอาต์ก่อนการแสดง เธอยังคงให้ความสำคัญกับแฟนคลับก่อนเสมอ"[ 15]
"การใช้สัญลักษณ์และจินตภาพของเธอเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป จนถึงจุดที่หากคุณมองลึกเข้าไปในโลกของสวิฟต์ แฟนคลับของเธอจะดูเหมือนกับว่าพวกเขากำลังพูดภาษาอื่นที่มีตัวย่อ วลีลับ และการพาดพิงที่มีเพียงแค่พวกเขาเท่านั้นที่เข้าใจ"
เอมิลี ยาร์, เดอะวอชิงตันโพสต์ (2022)[ 9]
นักข่าวบรรยายถึงผลงานของสวิฟต์ บุคคลที่มีชื่อเสียง และการประโคมข่าวรอบโลกด้วยตัวมันเอง โดยเรียกมันว่า "จักรวาล" ทางดนตรีที่ชาวสวิฟตีวิเคราะห์ เผยแพร่โดยการใช้ไข่อีสเตอร์ มากมายและ "มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแฟน ๆ ของเธออย่างผิดปกติ"[ 9] [ 21] สวิฟต์เป็นที่มาของเรื่องปรัมปรา ในวัฒนธรรมประชานิยม เสื้อผ้า เครื่องประดับ พจน์ รหัสสี และศาสตร์ตัวเลขของเธอก็ถือเป็นไข่อีสเตอร์เช่นกัน[ 22] [ 23] ชาวสวิฟตีเป็นที่รู้จักในเรื่องของสมมติฐาน โดยแยกย่อยและเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นเบาะแสหรือไข่อีสเตอร์[ 24] ตามคำบรรยายของบรูซ อาเทอร์ จากสื่อ โทรอนโตสตาร์ "สวิฟต์ ตามมาด้วยแฟนคลับที่อุทิศให้กับเรื่องจินตนาการของเธอคือ ไบแซนไทน์ ที่มีความเป็นชั้นและซับซ้อน และเป็นเมสสิยานิก"[ 25]
แกมเมอร์ และ เดอะวอชิงตันโพสต์ เรียกบทเรียนนี้ว่าจักรวาลภาพยนตร์ของเทย์เลอร์ สวิฟต์[ 26] [ 27] เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี อธิบายถึงลักษณะนี้ว่าเป็นจักรวาลดนตรีของเทย์เลอร์ สวิฟต์ — "ป็อปสตาร์ที่โด่งดังจากคำใบ้อันมหาศาล ซึ่งแฟนคลับต่างแลกเปลี่ยนข้อมูลทุกชิ้นให้เป็นแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีออนไลน์"[ 28] จากสื่อ เดอะการ์เดียน เอเดรียน ฮอร์ตันได้กล่าวว่า "สวิฟต์เวิร์ส" เป็นวัฒนธรรมย่อย ของสื่อมวลชนซึ่งปลูกฝังโดย "ปีแห่งการสร้างโลกและตำนานสวิฟเชียน"[ 29] ในขณะที่ อาลิม เคราช เขียนถึงสวิฟต์ว่าเปลี่ยนเพลงป็อปให้กลายเป็น "ปริศนาที่มีผู้เล่นหลายคน" ที่เกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นของฐานแฟนคลับ ซึ่งศิลปินคนอื่น ๆ ก็พยายามที่จะทำซ้ำ[ 30]
จากการสำรวจโดยมอนิงคอนซัลต์ของปี 2023 ในสหรัฐ วัยผู้ใหญ่ร้อยละ 53 กล่าวว่าพวกเขาเป็นแฟนคลับของสวิฟต์ โดยระบุว่าเป็นสวิฟตีร้อยละ 44 และเป็นแฟนตัวยงของเธอร้อยละ 16 ในบรรดาแฟน ๆ นั้นเป็นผู้หญิงร้อยละ 52 และเป็นผู้ชายร้อยละ 48 แฟนคลับตามเชื้อชาติเป็นคนผิวขาวร้อยละ 74 เป็นคนผิวดำร้อยละ 13 เป็นคนเอเชีย ร้อยละ 9 และเป็นคนเชื้อชาติอื่นร้อยละ 4 ในทางการเมือง แฟนคลับเป็นกลุ่มของพรรคเดโมแครต ร้อยละ 55 พรรครีพับลิกัน ร้อยละ 23 และเป็นพรรคอิสระร้อยละ 23 ในแง่ของชั่วรุ่น เป็นรุ่นมิลเลนเนียลร้อยละ 45 เป็นรุ่นเบบีบูมเมอร์ร้อยละ 23 เป็นรุ่นเจนเอกซ์ ร้อยละ 21 และเป็นรุ่นเจนซีร้อยละ 11[ 31] นักข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่ามีการเพิ่มขึ้นของฐานแฟนคลับรุ่นบูมเมอร์ และรุ่นเจนเอกซ์ หรือที่รู้จักในชื่อ "ชาวสวิฟตีอาวุโส " (Senior Swifties)[ 32] [ 33]
กลุ่มชาวสวิฟตีได้รับการวิจารณ์ถึงพฤติกรรมบางอย่างเช่นกัน นักข่าวประณามถึงการมีปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม ที่ชาวสวิฟตีบางคนมีกับสวิฟต์ รวมถึงความสนใจในชีวิตส่วนตัวของสวิฟต์มากเกินไป[ 34] [ 35] แฟน ๆ ต่างรวมตัวกันในสถานที่ที่พบเห็นเธอ[ 36] พวกเขายังถูกรายงานว่าโจมตี คุกคาม หรือขู่ฆ่าทางออนไลน์ และดักจับคนดัง นักข่าว และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ มากมาย เช่น พูดในแง่ลบเกี่ยวกับสวิฟต์[ 37] [ 38] [ 39] หลังจากข้อพิพาทสิทธิ์ในการถือครองเพลง เบราน์อ้างว่าเขาได้รับคำขู่ฆ่าจากชาวสวิฟตี[ 40]
กลุ่มเล็ก ๆ ของสวิฟตีที่เรียกว่า "เกย์เลอร์" (Gaylors) เชื่อว่าสวิฟต์แอบเป็นเกย์และบอกความเป็นนัยถึงการเป็นเควียร์ ผ่านทางดนตรีของเธอ แม้ว่าเธอจะบรรยายตัวเองว่าเป็นพันธมิตรกับชุมชนแอลจีบีทีก็ตาม เกย์เลอร์บางคนยังชิพ สวิฟต์กับคาร์ลี คลอสส์ , ไดอันนา อากรอน หรือทั้งสองคน โดยอ้างว่าสวิฟต์เคยเดตกับพวกเขาในอดีต และกล่าวหาว่าสวิฟต์ใช้ผลประโยชน์กับกลุ่มตลาดความหลากหลายทางเพศ (Queerbaiting) หากเธอนั้นไม่ใช่เกย์จริง ๆ ชาวสวิฟตีส่วนใหญ่วิจารณ์ถึงทฤษฎีของเกย์เลอร์ว่าเป็นแนวคิดที่ไกลจากความจริง ประสงค์ร้าย และหยาบคายต่อสวิฟต์ นักข่าวยังมองว่ามันเป็นการล้วงล้ำ และเป็นทฤษฎีสมคบคิด ที่ไม่มีมูลความจริง[ 41] [ 42]
สวิฟตีเป็นหัวข้อที่สื่อมวลชนและนักวิชาการให้ความสนใจ โดยศึกษาจากทุนทางสังคม ลักษณะผู้บริโภคนิยม และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล[ 43] [ 44] "การสร้างเนื้อหาที่อุดมสมบูรณ์ ความเข้าใจด้านดิจิทัล ความสามารถในการจัดระเบียบ และพฤติกรรมออนไลน์ที่เลวร้ายในบางครั้ง" ของพวกเขายังเป็นหัวข้อที่ต้องศึกษาเช่นกัน ตามการบรรยายของนักวิจัยวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต คริสตินา โลเปซ และเอวานีช ชานดรา[ 42] โดโนแวนแยกแยะ "แฟนคลับเทย์เลอร์ สวิฟต์" ออกจากสวิฟตี โดยให้ความเห็นว่าอย่างหลังนั้นเป็นวัฒนธรรมย่อยที่มีลักษณะเฉพาะจากการรวมตัวกันอย่างกระตือรือร้น ไม่เหมือนฐานแฟนคลับอื่น ๆ นักภาษาศาสตร์ บางคนเรียกรหัสลับที่เขียนโดยสวิฟตีว่า "แฟนอิเล็กต์" (fanilect)[ 45] แผนที่เครือข่ายปี 2023 เผยแพร่โดยนักวิจัยอินเทอร์เน็ต คริสตินา โลเปซ และเอวานีช ชานดรา แบ่งกลุ่มชาวสวิฟตีออกเป็นหกกลุ่มที่แตกต่างกันตามการโต้ตอบออนไลน์และหัวข้อการสนทนา[ 42] นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งตั้งชมรมแฟนคลับที่อุทิศตนให้กับสวิฟต์[ 46] [ 47] [ 48]
↑ Willman, Chris (July 25, 2007). "Getting to know Taylor Swift" . Entertainment Weekly . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2022. สืบค้นเมื่อ January 25, 2022 .
↑ Willman, Chris (February 5, 2008). "Taylor Swift's Road to Fame" . Entertainment Weekly . p. 3. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2015. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012 .
↑ "Taylor Swift is peak millennial vibes" . NPR . October 21, 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2023. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022 .
↑ Roland, Tom (July 7, 2016). "Love Story: The Impact of Taylor Swift's First Decade in Music" . Billboard . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2016. สืบค้นเมื่อ July 7, 2016 .
↑ Swift, Taylor (October 29, 2012). "Taylor Swift - #VEVOCertified, Pt. 3: Taylor Talks About Her Fans" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023 – โดยทาง YouTube.
↑ Rys, Dan (March 15, 2017). "Taylor Swift Files Nine Trademarks For the Word 'Swifties,' But Why?" . Billboard . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023 .
↑ Khan, Fawzia (June 18, 2021). "The Might Of Taylor Swift" . Elle . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 28, 2021. สืบค้นเมื่อ October 20, 2021 .
↑ 8.0 8.1 Collins, Katie (June 8, 2018). "How Taylor Swift flipped online fandom on its head for the better" . CNET. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ March 19, 2023 .
↑ 9.0 9.1 9.2 Yahr, Emily (May 15, 2023). "The bonding experience of watching a Taylor Swift concert from a parking lot" . The Washington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2023. สืบค้นเมื่อ May 17, 2023 .
↑ Brodesser-Akner, Taffy (October 12, 2023). "My Delirious Trip to the Heart of Swiftiedom" . The New York Times . ISSN 0362-4331 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2023. สืบค้นเมื่อ October 15, 2023 .
↑ Fanick, Christopher (May 1, 2019). " "Call It What You Want": The Impact of Fan Characteristics on Political Views" . Communication Honors Theses . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2023. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023 .
↑ Pazzanese, Christina (August 2, 2023). "So what exactly makes Taylor Swift so great?" . Harvard Gazette . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 7, 2023. สืบค้นเมื่อ August 7, 2023 .
↑ Kelley, Lora (October 20, 2023). "What Taylor Swift Knows" . The Atlantic . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2023. สืบค้นเมื่อ October 22, 2023 .
↑ 14.0 14.1 Tilchen, Jordyn (August 21, 2019). "Taylor Swift's Fans Have Known Her For 13 Years — This Is How She's Kept Growing With Them" . MTV News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2023. สืบค้นเมื่อ May 14, 2023 .
↑ 15.0 15.1 Raza-Sheikh, Zoya (November 17, 2021). "How Taylor Swift redefined online fandom, from SwiftTok to #Taylurking" . The Independent . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023 .
↑ Kawa, Katie; Cartlidge, Cherese (December 15, 2016). Taylor Swift: Superstar Singer . Greenhaven Publishing LLC. ISBN 978-1-5345-6026-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2023. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023 .
↑ Yahr, Emily (November 15, 2017). "Taylor Swift Avoided and Mocked the Media with 'Reputation.' And It Worked" . The Washington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2020. สืบค้นเมื่อ December 25, 2020 .
↑ Wang, Jenna (December 24, 2014). "Fans on Taylor Swift's 'Swiftmas': 'No One in the Music Industry Has as Big a Heart as She Does' " . Billboard . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2021. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023 .
↑ Sodomsky, Sam (August 19, 2019). "Taylor Swift: Speak Now " . Pitchfork . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2020. สืบค้นเมื่อ August 19, 2019 .
↑ "Of Course Beyoncé Made A Cameo At Taylor Swift's 'Eras' Film Premiere" . Elle . October 12, 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2023. สืบค้นเมื่อ October 13, 2023 .
↑ Gambles, Sarah (July 23, 2023). "The ubiquitous power of Taylor Swift" . Deseret News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2023. สืบค้นเมื่อ July 23, 2023 .
↑ Lutz, Ashley (October 8, 2022). "Taylor Swift's new album proves she is a business genius" . Fortune . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2022. สืบค้นเมื่อ October 8, 2022 .
↑ Horton, Adrian (May 29, 2023). "How Taylor Swift's Eras tour took over America" . The Guardian . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
↑ "All the Taylor Swift fan theories that predicted the 1989 (Taylor's Version) announcement" . Hello! . August 10, 2023. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2023. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023 .
↑ Arthur, Bruce (September 26, 2023). "Bruce Arthur: Higher, Stronger, Swifter? Taylor Swift goes to a football game and shows she's bigger than the NFL" . Toronto Star . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2023. สืบค้นเมื่อ September 27, 2023 .
↑ Yahr, Emily (December 26, 2022). "2022: The year in review (Taylor's version)" . The Washington Post . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022 .
↑ Tannenbaum, Emily. "Taylor Swift Hid a Bunch of Easter Eggs in the All Too Well Short Film" . Glamour . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2022. สืบค้นเมื่อ May 13, 2022 .
↑ Suskind, Alex (May 9, 2019). "New Reputation: Taylor Swift shares intel on TS7, fan theories, and her next era" . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 12, 2019. สืบค้นเมื่อ May 13, 2022 .
↑ Horton, Adrian (May 29, 2023). "How Taylor Swift's Eras tour took over America" . The Guardian . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
↑ Kheraj, Alim (November 9, 2022). "The curate's Easter egg: how Taylor Swift turned pop into a multiplayer puzzle" . The Guardian . ISSN 0261-3077 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2023. สืบค้นเมื่อ May 5, 2023 .
↑ Blancaflor, Saleah; Briggs, Ellyn (March 14, 2023). "The Taylor Swift Fandom Is White, Suburban and Leans Democratic" . Morning Consult. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2023. สืบค้นเมื่อ May 15, 2023 .
↑ della Cava, Marco; Ryan, Patrick (August 31, 2023). "Taylor Swift is 'in a class of her own right now,' as Eras tour gives way to Eras movie" . USA Today . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2023. สืบค้นเมื่อ September 1, 2023 .
↑ Slanksy, Paul (June 10, 2023). "The Rise of the Senior Swiftie" . Air Mail . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2023. สืบค้นเมื่อ June 12, 2023 .
↑ Grisafi, Patricia (June 6, 2023). "Matty Healy exposed the dark side of the Taylor Swift parasocial fantasy" . MSNBC. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2023. สืบค้นเมื่อ June 7, 2023 .
↑ Rascoe, Ayesha (April 17, 2023). "Taylor Swift fans are upset over reports of her breakup. A psychologist explains why" . NPR . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2023. สืบค้นเมื่อ June 7, 2023 .
↑ Carras, Christi (August 21, 2023). "Wedding Crashers (Taylor's Version): Swifties swarm Jack Antonoff and Margaret Qualley's nuptials" . Los Angeles Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2023. สืบค้นเมื่อ September 1, 2023 .
↑ Panella, Chris. "Taylor Swift fans sent me death threats, doxxed my family, and accused me of being a pedophile after I criticized her Eras Tour" . Insider Inc. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2023. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023 .
↑ published, Zoe Guy (March 4, 2021). "Taylor Swift Fans are Attacking 'Ginny and Georgia' Star Antonia Gentry for the Show's Lame Joke" . Marie Claire . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023 .
↑ Schwedel, Heather (November 16, 2021). "A Comprehensive Explanation of Why Taylor Swift Fans Seem Ready to Commit Homicide on Jake Gyllenhaal" . Slate . ISSN 1091-2339 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 23, 2023 .
↑ Arnold, Amanda; Fakuade, Melinda (November 22, 2019). "Untangling the Incredibly Complicated Taylor Swift–Scooter Braun Feud" . The Cut . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2021. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021 .
↑ Sources on Gaylor:
Smith, Rebecca (October 28, 2022). "The 'Gaylors' are showing us the toxic sides of celebrity culture" . The Michigan Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
Picker, Liora. "Taylor Swift 'Gaylor' theories might entice or entertain, but they also invade" . The Daily Targum . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
Jones, C. T. (April 4, 2023). "Why Some Taylor Swift Stans Are Ganging Up On 'Gaylors': Report" . Rolling Stone . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
Grady, Constance (October 19, 2022). "Let's go down the rabbit hole of Taylor Swift conspiracy theories" . Vox . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
↑ 42.0 42.1 42.2 Lopez, Cristina; Chandra, Avneesh (April 12, 2023). "Now We Got Bad Blood" . Graphika. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2023. สืบค้นเมื่อ May 29, 2023 .
↑ Guiterrez, Lisa (May 24, 2023). "Taylor Swift and her fans are such a phenomenon, this KU professor is studying them" . The Kansas City Star . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 5, 2023 .
↑ Canavan, Brendan; McCamley, Claire (February 1, 2020). "The passing of the postmodern in pop? Epochal consumption and marketing from Madonna, through Gaga, to Taylor" . Journal of Business Research . 107 : 222–230. doi :10.1016/j.jbusres.2018.12.005 . ISSN 0148-2963 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023 .
↑ Guiterrez, Lisa (May 24, 2023). "Taylor Swift and her fans are such a phenomenon, this KU professor is studying them" . The Kansas City Star . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2023. สืบค้นเมื่อ June 5, 2023 .
↑ Woehrle, Hannah (November 4, 2022). "MSU students form 'Taylor Swift Club,' bonding over shared love for her music" . The State News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2023. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023 .
↑ "How one student's pandemic listening kickstarted a Taylor Swift fan club" . The Peak . May 16, 2022. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2023. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023 .
↑ Marshall, Cooper (October 20, 2022). "OU Taylor Swift Fan Club hosts trivia, song discussions, watch, listening parties, helps 'Swifties' build connections" . OU Daily . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2023. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023 .
สตูดิโออัลบั้ม บันทึกเสียงใหม่ อีพี อัลบั้มบันทึกการแสดงสด คอนเสิร์ตทัวร์ ภาพยนตร์ ครอบครัว มรดก บทความที่เกี่ยวข้อง