ไอบีลีฟ (อังกฤษ : I Believe ) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้า และสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกของนักร้องชาวไทย ทาทา ยัง ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สิงคโปร์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[ 1] และวางจำหน่ายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกันทั่วเอเชีย ผ่านค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์ และโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไอบีลีฟ ประกอบด้วยเพลงแนวแดนซ์ป็อป ที่มีจังหวะเร็วเป็นส่วนใหญ่ เพื่อแสดงถึงความมั่นใจในตัวเอง[ 2] โดยทาทาได้ทำอัลบั้มร่วมกับโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน มาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน จากมูร์ลินมิวสิกกรุ๊ป และบันทึกเสียงที่สตูดิโอของพวกเขาในสต็อกโฮล์ม[ 3]
ไอบีลีฟ ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์หลังจากวางจำหน่าย โดยได้รับการรับรองยอดขายระดับทองคำในอินเดีย[ 4] และขึ้นสิบอันดับแรกบนชาร์ตอัลบั้มรายสัปดาห์ของออริคอน "เซ็กซีนอตีบิตชี" ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลแรกของอัลบั้ม และประสบความสำเร็จทั้งบนคลื่นวิทยุและชาร์ตของเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย[ 5] [ 6] เช่นเดียวกันกับซิงเกิลถัดมาในชื่อเดียวกับอัลบั้ม ที่ได้ถูกรับเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ให้เป็นเพลงอย่างเป็นทางการประจำการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพครั้งที่ 14 ใน พ.ศ. 2550[ 7] "ดูมดูม" เพลงที่ทาทาได้ขับร้องเพื่อประกอบภาพยนตร์อินเดีย ดูม (พ.ศ. 2547) ถูกเลือกเป็นซิงเกิลส่งท้ายสำหรับอัลบั้มชุดแทนคำขอบคุณ โดยกลายเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเธอในอินเดีย ด้วยยอดขายซีดีซิงเกิลประมาณ 800,000 แผ่น[ 4] [ 8] ใน พ.ศ. 2548 ทาทาจัดทัวร์คอนเสิร์ต ไอบีลีฟเจแปนทัวร์ 2005 และ ดูมดูมทัวร์ไลฟ์อินแบงค็อก เพื่อโปรโมตอัลบั้ม
เพลงทั้งหมดผลิตโดยมาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน ภายใต้ชื่อฮิตวิชัน ยกเว้นเพลง "ดูมดูม" ในอัลบั้มชุดแทนคำขอบคุณที่ผลิตโดยอาทิตยะ โจปรา
1. "เอฟรีบอดีดัสเซินต์" 3:02 2. "เซ็กซีนอตีบิตชี" ดาวิด เคลียเว็ต อีวาร์ ลิซินสกี ซาวาน โคเทชา 3:28 3. "ไอบีลีฟ" มาร์ติน อังเก็ลลิอุส แฮ็นริก อันเดร์ช็อน อะลีนา กิบสัน คาโรลา เฮ็กควิสต์ 3:17 4. "คอลฮิมไมน์" ยูอาคิม บิเยิร์กลูนด์ โคเทชา 3:57 5. "ซินเดอเรลลา" ลินดี ร็อบบินส์ เควิน ซาวิการ์ 3:34 6. "โลนลีอินสเปซ" อังเก็ลลิอุส อันเดร์ช็อน วิกตอเรีย ฮอร์น 3:00 7. "ไอทิงก์ออฟยู" โรบิน สกอฟฟิลด์ รีด เวอร์เทลนีย์ 3:43 8. "แบดบอยส์แซดเกิลส์" กิบสัน อังเก็ลลิอุส อันเดร์ช็อน 3:03 9. "ซอร์รีเอนีเวย์" 3:32 10. "ครัชออนยู" 3:23 11. "มายเวิลส์สปินนิง" 4:04 12. "ไอวอนต์วอตไอวอนต์" ลอเรน คริสตี ชาร์ลี มิดไนต์ 3:58 ความยาวทั้งหมด: 42:01
13. "เซ็กซีนอตีบิตชี" (ดีเจราชีพบอลลีวูดรีมิกซ์) 3:10 14. "ไอบีลีฟ" (ดีดีพีรีมิกซ์) อังเก็ลลิอุส อันเดร์ช็อน กิบสัน เฮ็กควิสต์ 4:48 15. "เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฟุตงรีมิกซ์) 5:08 ความยาวทั้งหมด: 55:07
13. "ดูมดูม" ปรีตัม จักรโบรตี อาสิฟ อลี เบค[a] 4:21 14. "เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) เคลียเว็ต ลิซินสกี โคเทชา มิยาโกะ ฮาชิโมโตะ[b] 3:27 15. "ไอบีลีฟ" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) อังเก็ลลิอุส อันเดร์ช็อน กิบสัน เฮ็กควิสต์ ฮาชิโมโตะ[b] 3:18 16. "ไอทิงก์ออฟยู" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) สกอฟฟิลด์ เวอร์เทลนีย์ ฮาชิโมโตะ[b] 3:45 ความยาวทั้งหมด: 56:52
หมายเหตุ
^[a] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาอังกฤษ
^[b] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาญี่ปุ่น
"เซ็กซีนอตีบิตชี" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เซ็กซีนอตีชีกกี" ในอัลบั้มชุดที่วางจำหน่ายในมาเลเซีย[ 5]
"เอฟรีบอดีดัสเซินต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 ในชื่อเดียวกันของอาม็องดา ลาแมช (หรือชื่อในวงการคือ อะแมนดา)
"ไอบีลีฟ" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 "ไอบีลีฟอินเลิฟ" ของคาโรลา เฮ็กควิสต์
"ซินเดอเรลลา" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2543 ในชื่อเดียวกันของไอไฟฟ์
"ไอวอนต์วอตไอวอนต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2540 ในชื่อเดียวกันของลอเรน คริสตี
วีซีดีและดีวีดีโบนัส[ แก้ ]
ไอบีลีฟ แต่ละชุดต่างบรรจุด้วยวีซีดีหรือดีวีดีโบนัสที่แตกต่างกัน มิวสิกวิดีโอของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวไต้หวัน เคน ฟู และบทสัมภาษณ์พิเศษกับทาทา บรรจุในอัลบั้มชุดมาตรฐาน[ 2] [ 10] มิวสิกวิดีโอของเพลง "ไอบีลีฟ" และ "ซินเดอเรลลา" ซึ่งกำกับโดยอลงกต เอื้อไพบูลย์ บรรจุในอัลบั้มชุดจำกัดจำนวนที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่น[ 11] [ 12] มิวสิกวิดีโอของเพลง "ดูมดูม" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวอินเดีย อรชุน สัพโลก และมิวสิกวิดีโอชุดวางจำหน่ายในญี่ปุ่นของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" และ "ไอบีลีฟ" บรรจุในอัลบั้มชุดแทนคำขอบคุณ[ 9] [ 13] และวิดีโอคาราโอเกะ และบันทึกการแสดงสดของซิงเกิลสี่ซิงเกิลแรกกับเพลง "คอลฮิมไมน์" บรรจุในอัลบั้มชุดพิเศษจำกัดจำนวน
รายชื่อบุคลากรปรับมาจากกิตติประกาศในบันทึกย่อของ ไอบีลีฟ [ 9]
ทาทา ยัง – เสียงขับร้อง
ทิม ยัง – ผู้อำนวยการผลิต
ริชาร์ด เดเนกัมป์ – ผู้อำนวยการผลิต
ฮิตวิชัน – โปรดิวเซอร์, เรียบเรียงเสียงประสาน, บันทึกเสียง, โปรแกรมมิง, วิศวกรรมเสียง, คีย์บอร์ด
นิกลัส ฟลิกต์ – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 1–5, 7, 10)
ออลาร์ ซูร์นา – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 6, 8, 9, 11, 12)
บิเยิร์น เอ็งเกียล์มัน – มาสเตอร์ริง
ฌาเน็ต อูลส์ซ็อน – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 1, 3, 4, 7, 9, 10)
อันนา นูร์เด็ล – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 2, 5, 6, 11)
ซานดรา นูร์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 8)
ยูอาคิม เบรย์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 12)
เอียสบิเยิร์น เออร์วัล – กีตาร์
ทูมัส ลินด์เบรย์ – กีตาร์เบส (ในเพลงที่ 2, 3, 6, 7, 10–12)