เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ (ซาวด์แทร็ก)

เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย
รวมศิลปิน
วางตลาด17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
สตูดิโอแอร์สตูดิโอ, ลอนดอน อังกฤษ
แนวเพลง
ความยาว76:00
ค่ายเพลงดรีมเวิกส์เรเคิดส์
โปรดิวเซอร์จิมมี แจมและเทร์รี ลูอิส, เบบีเฟส, ไมเคิล โอมาร์เตียน, ฮันส์ ซิมเมอร์
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ (แนชวิลล์)
(พ.ศ. 2541)
เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์
(พ.ศ. 2541)
ซิงเกิลจากเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์
  1. "เวนยูบีลีฟ"
    จำหน่าย: 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
  2. "ไอวิลเก็ตแดร์"
    จำหน่าย: 29 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ค่าประเมินโดยนักวิจารณ์
คะแนนคำวิจารณ์
ที่มาค่าประเมิน
ออลมิวสิก3/5 stars[1]
ฟิล์มแทร็กส์4/5 stars[2]

เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ (อังกฤษ: The Prince of Egypt) เป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์อย่างเป็นทางการ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยมีทั้งเพลงและดนตรีประกอบและเพลงที่ไม่ได้ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ อัลบั้มได้รับอันดับสูงสุดที่อันดับ 1 ในการจัดอันดับ ท็อปคอนเทมโพรารีคริสเตียน (Top Contemporary Christian) ของนิตยสารบิลบอร์ด และอันดับที่ 25 ในการจัดอันดับบิลบอร์ด 200

นอกจากอัลบั้มนี้แล้ว ยังมีการออกอัลบั้มที่มีส่วนควบ คือฉบับสำหรับนักสะสม ฉบับคันทรี และฉบับสร้างแรงบันดาลใจ รุ่นต่าง ๆ เหล่านี้มีเพลงที่ไม่ได้นำเสนอในภาพยนตร์ แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของการอพยพในพระคัมภีร์ไบเบิล

ยังมีการตัดซิงเกิลฮิตจำนวนหนึ่งจากอัลบั้มนี้ จากเพลงลำดับแรกของอัลบั้มคือ เวนยูบีลีฟ (When You Believe) ซึ่งร้องประสานเสียงคู่โดยมารายห์ แครีและวิตนีย์ ฮิวสตัน, จากเพลงลำดับที่สิบหก ทรูเฮฟเวนอายส์ (Through Heaven's Eyes) ขับร้องโดยคู่ดูโอแนวอาร์แอนด์บี เค-ซีแอนด์โจโจ (K-Ci & JoJo) และเพลงสุดท้ายของอัลบั้ม ไอวิลเก็ตแดร์ (I Will Get There) ขับร้องแบบอะแคปเปลลาโดยวงอาร์แอนด์บีกลุ่มสี่ บอยซ์ทูเมน

บทเพลง

[แก้]

ดีลิเวอร์อัส (Deliver Us) เป็นเพลงเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งแสดงความรุนแรงและความยากลำบากที่ทาสชาวฮีบรูต้องทน และความสิ้นหวังของมารดาของโมเสส[3] เพลงนี้สลับไปมาระหว่างเสียงทาสชายที่มีจังหวะกลองหนัก ๆ และเสียงผู้หญิงร้องเพลงกล่อมเด็กอย่างอ่อนโยนให้กับทารกโมเสส[4]

เพลงกล่อมเด็กของเพลง ดีลิเวอร์อัส ขับร้องโดยนักร้องชาวอิสราเอล โอฟรา ฮาซา และนักแสดงสาวจากดิสนีย์ เอเดน รีเกล (Eden Riegel) ในขณะที่ดนตรีประกอบประพันธ์โดยฮันส์ ซิมเมอร์[5] ซึ่งคริสโตเฟอร์ โคลแมนได้อธิบายว่า "เพลง "ดีลิเวอร์อัส" มีเสียงร้องอันทรงพลังที่คาดหวังไว้... แทร็กนี้จบลงด้วยความกะทันหันซึ่งคล้ายกับเพลงเปิดของเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เดอะไลออนคิง ที่ได้รับรางวัลออสการ์ซึ่งประพันธ์โดยซิมเมอร์[6] สตีเฟน ชวาร์ตซ์ อธิบายการใช้คำว่า เอโลฮิม (Elohim; אֱלֹהִים) ในเนื้อเพลง "ผมต้องการคำภาษาฮีบรูที่อ้างอิงถึงพระเจ้าซึ่งมีเสียงเหมือนจริงเพื่อช่วยกำหนดเวลาและสถานที่ ตัวเลือกแรกของผมคือ อาโดนาย (Adonai; אֲדֹנָי) แต่ที่ปรึกษาด้านศาสนาในภาพยนตร์บอกผมว่าการใช้คำนั้นในบริบทนั้น ลักษณะจะเป็นการดูหมิ่นศาสนา ดังนั้นผมจึงเลือก "เอโลฮิม" แทน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามันค่อนข้างเป็นคำโบราณและอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกำหนดคำให้เข้ากับจังหวะดนตรี !"[7]

ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด (All I Ever Wanted) ขับร้องโดย อามิก ไบแรม (Amick Byram) ผู้ให้เสียงในบทโมเสส หลังจากที่โมเสสพบว่าเขาถูกรับอุปการะ ซึ่งส่งผลให้เขาตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนความเป็นชาวอียิปต์และมรดกประเพณีฮีบรูของเขา จากนั้นร้องทวนซ้ำโดยลินดา ดี เชนน์ (Linda Dee Shayne) ซึ่งให้เสียงเป็นราชินีแห่งอียิปต์ ผู้ซึ่งสร้างความมั่นใจให้โมเสสถึงตำแหน่งในครอบครัวของพวกเขา เพลงนี้เขียนโดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ (Stephen Schwartz) ซึ่งเดินทางไปเยี่ยมชมวิหารอียิปต์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ มีบางสิ่งเมื่อเดินผ่านเสาสีขาวสวยงามเหล่านั้นที่สะท้อนกับแสงจันทรเผยให้เห็นอักษรอียิปต์โบราณที่จุดประกายความคิดถึงทำนองและทำให้เกิดเพลง "ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด"[8] เว็บไซต์ฟิล์มแทร็ก วิจารณ์ว่า ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด ให้ความหวังและเบิกบาน คือความเป็นชวาร์ตซ์ในการจำลองแบบที่ใกล้เคียงที่สุดของบทเพลงแห่งความหวังในเพลงของฮีโร่ ที่อลัน เมนเกน (Alan Menken) ได้สร้างชื่อเสียงมาตลอดทศวรรษ ความแน่วแน่ในเพลงสั้น ๆ นี้แน่ชัด และการขับร้องซ้ำของราชินีก็ผสานเข้ากับท่วงทำนองของสายน้ำจาก ดีลิเวอร์อัส (Deliver Us) ในตอนท้ายได้อย่างงดงาม[2] อย่างไรก็ตามนิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ได้วิจารณ์ว่า "แม้จะฟังเพลงไอ-วอนต์ซ้ำ ๆ (I-want, ชื่ออย่างไม่เป็นทางการของเพลงออลไอเอเวอร์วอนเต็ด) ท่อนแรกของโมเสสก็ไม่น่าจดจำ แม้ว่าในอีกฉากหนึ่งราชวงศ์ที่ชะตาตกต่ำจะช่วยผิวปากทำนองเพลงในช่วงสั้น ๆ ก็ตาม"[9] หนังสือพิมพ์ แอลเอวีคลี (LA Weekly) รายงานว่าเป็น "บทเพลงที่ต่ำกว่ามาตรฐานเพลงหนึ่งของสตีเฟน ชวาร์ตซ์"[10]

"ทรูเฮเวนส์อายส์" ("Through Heaven's Eyes") ขับร้องประกอบภาพยนตร์โดย ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์ (Brian Stokes Mitchell) ในขณะที่ซิงเกิลเพลงป๊อปขับร้องโดยดูโอแนวอาร์แอนด์บี เค-ซีแอนด์โจโจ (K-Ci & JoJo) สโตกส์ มิตเชลล์ให้เสียงร้องเพลงของตัวละครยิโตร (Jethro; יִתְרוֹ) พ่อของซิปโปราห์ (Tzipporah; צִפּוֹרָה) และพ่อตาในอนาคตของโมเสส ซึ่งแสดงโดยแดนนี โกลเวอร์ (Danny Glover) ดนตรีและเนื้อเพลงประพันธ์โดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ ซึ่งกล่าวว่า เพลงนี้เป็น "เพลงโปรด" ของเขาสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้: "...สตีเวน ฮิกเนอร์ (Steven Hickner) หนึ่งในผู้กำกับ มาพร้อมกับบทกวีชื่อ "เดอะเมเชอร์ออฟอะแมน" (The Measure of a Man) และผมใช้ปรัชญาในบทกวีเป็นฐานในการแต่งเนื้อเพลง..." เว็บไซต์ฟิล์มแทร็ก กล่าวว่าเพลงนี้เป็นเพลงโปรดของผู้ฟัง แต่เสียงของสโตกส์ มิตเชลล์ กลบทับลักษณะของดนตรีโฟล์กพื้นหลัง ฟิล์มแทร็กยังวิจารณ์ว่า "เวอร์ชันของเค-ซีแอนด์โจโจ เป็นสิ่งที่นักวิจารณ์ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้คะแนนได้"[2] นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้คำจำกัดความว่าเพลงนี้มีรูปแบบลำนำข้างกองไฟของเพลงฮาวา นากีลา[9]

ฟิล์มแทร็กให้หมายเหตุว่า: " เพลงเดอะเพลกส์ (The Plagues)...ย้อนแย้งลักษณะโคลงสั้น ๆ ของบทเพลงในตอนต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการขับร้องที่เกี้ยวกราดอย่างจงใจ..."[2]

รางวัลที่สำคัญ

[แก้]

ในงานประกาศผลอะแคเดมีอะวอร์ดครั้งที่ 71 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเพลง “เวนยูบีลีฟ” และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์เพลงหรือตลกยอดเยี่ยม

รายชื่อเพลง

[แก้]

เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยสตีเฟน ชวาร์ตซ์ ยกเว้นที่ระบุไว้ ดนตรีทั้งหมดประพันธ์โดยฮันส์ ซิมเมอร์

ลำดับชื่อเพลงผู้ขับร้องยาว
1."เวนยูบีลีฟ (จากเดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์)" (อำนวยการผลิต โดยเบบีเฟส)มารายห์ แครี และวิตนีย์ ฮิวสตัน5:04
2."ดีลิเวอร์อัส" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์)โอฟรา ฮาซา และเอเดน รีเกล7:15
3."เดอะเรไพรแมนด์" 4:05
4."ฟอลโลวิงซิปโปราห์" 1:00
5."ออลไอเอเวอร์วอนเต็ด (วิทควีนส์รีไพรซ์)" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์ และแฮรี เกรกสัน-วิลเลียมส์)อมิก บายราม และลินดา ดี เชน2:51
6."กูดบายบราเทอร์"โอฟรา ฮาซา5:33
7."ทรูเฮเวนส์อายส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยกาวิน กรีนาเวย์)ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์3:41
8."เดอะเบิร์นนิงบุช" 7:17
9."เพลย์อิงวิทเดอะบิ๊กบอยส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยจอห์น โพเวลล์)สตีฟ มาร์ติน และมาร์ติน ชอร์ต2:52
10."คราย" 3:50
11."แรลลี" 0:42
12."เดอะเพลกส์" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยกาวิน กรีนาเวย์)เรล์ฟ ไฟนส์ และอมิก บายราม2:40
13."เดธออฟเดอะเฟิสต์บอร์น" 1:07
14."เวนยูบีลีฟ" (อำนวยการผลิต/เรียบเรียงดนตรี โดยซิมเมอร์)มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์ และแซลลี ดวอร์สกี4:55
15."เรดซี" 5:14
16."ทรูเฮเวนส์อายส์"เค-ซีแอนด์โจโจ5:05
17."ริเวอร์ลัลละบี"เอมี แกรนต์3:57
18."ฮิวแมนิตี"เจสซิกา แอนดรูว์ส, คลินต์ แบล็ก, เชอร์ลีย์ ซีซาร์, เจสซี แคมเบลล์, เบท นีลเซน แชปแมน, บอยซ์ทูเมน, เควิน แมกซ์4:32
19."ไอวิลล์เก็ตแดร์" (ประพันธ์เพลง: ไดแอน วอร์เรน)บอยซ์ทูเมน4:20
ความยาวทั้งหมด:76:00
เพลงโบนัสในเวอร์ชันสำหรับนักสะสม
ลำดับชื่อเพลงผู้ขับร้องยาว
1."อิตทีสโอนลีบีกินนิง..." 3:44
2."ฟรีดอม"ไวนอนนา4:41
3."เดอะริเวอร์"ซีซ์ วินานส์3:53
4."ฮิวแมนิตี"เจสซิกา แอนดรูว์ส, คลินต์ แบล็ก, เชอร์ลีย์ ซีซาร์, เจสซี แคมเบลล์, เบท นีลเซน แชปแมน, บอยซ์ทูเมน, เควิน แมกซ์4:33
5."ทรูเฮเวนส์อายส์"ไบรอัน สโตกส์ มิตเชลล์3:37
6."แชเรียตเรซ" 6:27
ความยาวทั้งหมด:26:55

การจัดอันดับ

[แก้]

การรับรองและยอดขาย

[แก้]
ประเทศ การรับรอง จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย
Canada (Music Canada)[17] Gold 50,000^
United States (RIAA)[18] Platinum 1,000,000^

^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. เดอะพริ้นซ์ออฟอียิปต์ ที่ออลมิวสิก
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Filmtracks: The Prince of Egypt (Hans Zimmer)". filmtracks.com. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
  3. "The Critical Eye | Prince of Egypt". Purpleplanetmedia.com. 25 พฤศจิกายน 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
  4. "Advance Review of the PRINCE OF EGYPT score and song cd!!! – Ain't It Cool News: The best in movie, TV, DVD, and comic book news". Aintitcool.com. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
  5. Stephen Thomas Erlewine (17 พฤศจิกายน 1998). "The Prince of Egypt – Hans Zimmer | Songs, Reviews, Credits, Awards". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
  6. "The Prince of Egypt". Tracksounds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2014.
  7. Stephen Schwartz (พฤษภาคม 2017). "Stephen Schwartz Comments on the Movie The Prince of Egypt - The Songs" (PDF). www.stephenschwartz.com. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2020.
  8. "Breathing Life Into The Prince of Egypt". animationartist.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
  9. 9.0 9.1 "The Prince of Egypt Review - Movie Reviews and News". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
  10. "Holy Moses! - Film - Los Angeles - Los Angeles News and Events". LA Weekly. 4 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2014.
  11. "Austriancharts.at – Soundtrack – The Prince of Egypt" (ภาษาเยอรมัน). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
  12. "Dutchcharts.nl – Soundtrack – The Prince of Egypt" (ภาษาดัตช์). Hung Medien. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
  13. "Soundtrack Chart History (Billboard 200)". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
  14. "Soundtrack Chart History (Christian Albums)". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
  15. "자료제공:(사)한국음반산업협회/이 자료는당협회와 상의없이 가공,편집을금합니다.: 1999.01월 - POP 음반 판매량" (ภาษาเกาหลี). Recording Industry Association of Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ December 25, 2021.
  16. "Top Billboard 200 Albums – Year-End 1999". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021.
  17. "Canadian album certifications – Var – Prince of Egypt OST". Music Canada.
  18. "American album certifications – Soundtrack – The Prince of Egypt". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.