บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes peltata | |
---|---|
หม้อล่างของ Nepenthes peltata | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. peltata |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes peltata Sh.Kurata (2008) |
Nepenthes peltata (ภาษาละติน: peltatus = โล่ขนาดเล็ก หมายถึงสายดิ่งที่ต่อออกมาจากใต้ใบแบบก้นปิด[1]) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวจากเทือกเขาสูงของภูเขาฮามีกีวีตัน (Hamiguitan) เกาะมินดาเนาในประเทศฟิลิปปินส์[2][1] มีลักษณะพิเศษคือสายดิ่งต่อจากใบแบบก้นปิดและสิ่งปกคลุมเห็นได้ชัด มีหม้อทรงรูปไข่ สันและต่อมน้ำต้อยใต้ฝา[2]
Nepenthes peltata ถูกจัดจำแนกอย่างเป็นทางการโดยไซเกะโอะ คุระตะ (En:Shigeo Kurata) ในปี ค.ศ. 2008 รายละเอียดอยู่ใน Journal of the Insectivorous Plant Society (Japan)[2] ตัวอย่าง Koshikawa 44 ถูกกำหนดให้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรก และถูกเก็บรักษาอยู่ที่หอพรรณไม้ของภาควิชาพฤกษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต (KYO) ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น[3] ตัวอย่างถูกเก็บมาจากเทือกเขาฮามีกีวีตัน (Hamiguitan) และภายหลังถูกนำมาปลูกเลี้ยงไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์นันโซะ (Nanso)[3]
Nepenthes peltata เป็นไม้เลื้อยไต่ ทั่วไปสูงประมาณ 1 ม.ถึงแม้ว่าลำต้นจะยาวถึง 3 ม.ก็ตาม หม้อข้าวหม้อแกงลิงไม่สร้างลำต้นแบบเลื้อยไต่[1]
แผ่นใบรูปขอบขนาน ยาว 50 ซม.กว้าง 9 ซม. ปลายมล ขณะที่ฐานหดแหลมสู่ก้านใบ มีร่องเล็กตามยาว ยาว 7 ซม.ในพืชที่โตเต็มที่ ต้นไม้เมื่อยังเล็กอาจจะมีใบแบบไร้ก้าน ใต้ใบมีสีแดงเข้มซึ่งตัดกันกับผิวบนที่มีสีเขียวเข้ม ขอบใบอาจโค้งขึ้น สายดิ่งแบบก้นปิด แทรงห่างจากปลายใบประมาณ 27 มม.[1]
หม้อใบกระจุกและหม้อล่างมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ทรงรีถึงรูปโถหรือรูปไข่ มีขนาดใหญ่ สูง 28 ซม.กว้าง 16 ซม. มีปีกคู่ (กว้าง ≤10 มม.) กับตะเข็บยาว 9 มม.ตลอดผิวด้านบนของหม้อ เพอริสโตมเป็นทรงกระบอกกว้าง 2 ซม.มีสัน สูง 1.5 มม.ห่างกัน 2 มม.ต่อสัน หรือเป็นฟันหยักแหลมสูง 1 มม. ฝาเป็นรูปไข่ถึงรูปรี ยาว 8 ซม.กว้าง 6 ซม. บางครั้งมีสันสามเหลี่ยมใต้ฝา มีต่อมน้ำต้อยขนาดใหญ่ กว้าง 3 มม.กระจายอยู่ด้วย มีเดือยเดี่ยว (ยาว ≤12 มม.) ใกล้กับฐานฝา.[1]
หม้อบนของ N. peltata ไม่เคยมีใครสังเกตเห็น อาจเป็นเพราะหาดูได้ยากหรือไม่มีเลยก็ได้ คาดว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะผลิตหม้อบนเมื่ออยู่ในที่ร่มมากหรือใช้เพื่อเลื้อยไต่ เหมือนกับ N. deaniana และ N. mira[1]
Nepenthes peltata มีช่อดอกแบบกระจะ ยาว 75 ซม.ในช่อดอดเพศผู้หนา 3.5 ซม.ในเพศเมียหนา 6.5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 46 ซม.กว้าง 9 มม. ขณะที่แกนกลางยาว 20 ซม. ก้านดอกย่อยส่วนมากมีสองดอก มีใบประดับ (ยาว ≤7 มม.) ส่วนฐานไม่แตกกิ่งยาว 3 มม. ขณะที่ส่วนแตกกิ่งยาว 14 มม. กลีบรวมรูปไข่ยาว 4 มม.ปลายแหลม ผลยาวประมาณ 20 มม. เมล็ดยาวประมาณ 4 มม.[1]
สิ่งปกคลุมเป็นขนสีน้ำตาลยาว ปรากฏในลำต้น สายดิ่ง ก้านใบ ใต้แผ่นใบ ส่วนบนหม้อและผิวบนของใบอาจมีหร็อมแหร็มหรือไม่มี[1]