บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes tobaica | |
---|---|
ต้นใบกระจุกของ Nepenthes tobaica | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. tobaica |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes tobaica Danser (1928) | |
ชื่อพ้อง | |
|
Nepenthes tobaica เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบทะเลสาบตูบา (Toba) จึงถูกตั้งชื่อตามทะเลสาบ
Nepenthes tobaica เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. angasanensis, N. gracilis, N. mikei, และ N. reinwardtiana.[1]
Nepenthes tobaica เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นอาจยาวถึง 7 ม.มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ปล้องยาว 25 ซม. เป็นวงกลมเมื่อตัดขวาง อย่างไรก็ตามในต้นที่โตเต็มที่ลำต้นอาจเป็นเหลี่ยมเพราะร่องที่เกิดจากข้ออาจขยายไปตามความยาวของปล้อง[1]
ใบคล้ายแผ่นหนัง ไร้ก้านถึงกึ่งมีก้านใบ แผ่นใบรูปขอบขนานถึงรูปช้อน ยาวถึง 20 ซม.กว้าง 4 ซม. ปลายใบรูปรีถึงกลมแต่แคบมล ต้นที่แข็งแรงบางครั้งมีสายดิ่งแบบกึ่งก้นปิด แผ่นใบค่อยๆสอบเรียวไปทางฐานหรือสอบเรียวทันที ฐานใบหุ้มลำต้นประมาณครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวง มีเส้นใบตามยาวหนึ่งถึงสามเส้นในแต่ละด้านของเส้นกลางใบ เส้นใบแบบขนนกไม่ชัดเจน สายดิ่งยาว 30 ซม.[1]
หม้อล่างและหม้อใบกระจุกทรงรูปไข่ในส่วนล่าง ส่วนบนเป็นทรงกระบอก สูง 20 ซม.กว้าง 4 ซม. มีปีกหนึ่งคู่บริเวณด้านบนของหม้อ โดยมีขอบตะเข็บตลอดความยาวหรือแค่เฉพาะส่วนบน มีต่อมที่ผิวภายในหม้อบริเวณที่เป็นทรงรูปไข่เท่านั้น บางครั้งมี"จุดตา"คู่หนึ่งปรากฏอยู่ที่ผิวภายในที่บริเวณต่ำกว่าปาก ปากรูปไข่เฉียง เพอริสโตมทรงกระบอกแคบ (กว้าง ≤5 มม.) หรือแผ่ออกเล็กน้อย มีฟันไม่แยกกัน ฝารูปไข่ถึงกึ่งรูปวงกลม มีรูปหัวใจที่ฐาน ไม่มีรยางค์ มีเดือยยาว 5 มม.ที่ฐานฝา อาจเป็นเดือยเดี่ยว สองแฉก หรือ สามแฉก[1]
หม้อบนเป็นรูปกรวยที่ด้านล่างสุด ที่ด้านล่างหนึ่งส่วนสามของหม้อเป็นทรงรูปไข่แคบ ส่วนบนสุดจะเป็นทรงกระบอกแคบ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สูง 25 ซม.กว้าง 5 ซม. มีสันแทนที่ปีก ส่วนที่เหลือคล้ายกับหม้อล่าง[1]
Nepenthes tobaica มีช่อดอกแบบกระจะ ก้านช่อดอกและแกนกลางยาว 20 ซม. ก้านดอกย่อยมีสองดอกและไม่มีใบประดับย่อย ในช่อดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงรูปรี-ป้าน ในเพศเมียจะแคบกว่า[1] พืชจะมีดอกในช่วงเดือนเมษายน และผลจะแก่หลังจากนั้น[2]
Nepenthes tobaica มีสิ่งปกคลุมบ้างบางส่วน ส่วนใหญ่จะไม่มีสิ่งปกคลุม ถึงแม้ว่าอาจจะมีขนที่เส้นกลางใบ มีขนรูปดาวสีขาวที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงมีขนสั้นหนานุ่มปกคลุมหนาแน่น ส่วนที่เหลือของช่อดอกปกคลุมด้วยขนสั้นบางๆ[1]
ในบางรูปแบบ ใต้ฝาจะมีสีแดงสด ทำให้โดดเด่นเมื่ออยู่ท่ามกลางต้นไม้อื่น[2]